เรียนรู้

หินกัดกร่อนที่ฝั่ง ตะกอนสะสมตัวที่หาด

ด้วยกระแสคลื่นทะเลที่ซัดเข้า หาด (shore) และ ฝั่ง (coast) อย่างไม่มีทีท่าว่าจะหมดเรี่ยวแรง ทำให้ริมชายฝั่งทะเลมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในทุกๆ วัน แทบจะทุกด้าน โดยในทางธรณีวิทยา กระบวนการหลักๆ ที่เกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งประกอบไปด้วย 2 กระบวนการ คือ 1) การกัดกร่อน (erosion) ของหิน และ 2) การสะสมตัว (deposition) ของตะกอน ซึ่งผลจากทั้ง 2 กระบวนการทางธรณีวิทยาเหล่านี้ ทำให้ฝั่งหรือหาด มีรูปร่างหน้าตาหรือ ภูมิลักษณ์ (landform) ที่เฉพาะตัวและน่าสนใจ

บางภูมิลักษณ์ช่วยบ่งบอกทิศทางการกระแทกของคลื่น ในขณะที่บางภูมิลักษณ์ ก็บอกถึงเสถียรภาพของพื้นดินหรือความเป็นบกที่เป็นอยู่ ดังนั้นการทำความเข้าใจและสามารถแปลความได้ว่าภูมิลักษณ์แต่ละแบบนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร จะช่วยให้เราอาศัยอยู่ชิดทะเลได้อย่างเข้าอกเข้าใจและง่ายขึ้น

การกัดกร่อนหินโดยคลื่น (wave erosion) เกิดจากคลื่นกระทบทำให้หินผุพัง ตะกอนขนาดทรายอยู่ตามชายหาด เล็กกว่านั้นก็จะลงไปที่ทะเลลึก ถ้าใหญ่กว่านั้นก็ทำให้ถึงขนาดทราย โดยคลื่นจะกระแทกไปเรื่อย ซึ่งผลจากการกัดกร่อนของคลื่นน้ำทะเล ทำให้ชายหาดมีลักษณะภูมิลักษณ์ต่างๆ มากมาย เช่น

กัดกร่อนตามแนวหน้าผาริมฝั่ง

หากพูดถึงเรื่องของฝั่ง นักธรณีวิทยาทางทะเล (marine geologist) จำแนกประเภทฝั่งตามกระบวนการทางธรณีวิทยาออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) ฝั่งยกตัว (emerged coast) 2) ฝั่งยุบตัว (submerged coast) และ 3) ฝั่งคงตัว (neutral coast) โดยในกรณีของ ฝั่งยกตัว ที่เกิดจากการยกตัวของเปลือกโลก หรือน้ำทะเลลดระดับลง รูปร่างของแนวชายฝั่งมักเป็นหน้าผาสูง ทอดยาวติดประชิดน้ำทะเล ทำให้คลื่นน้ำทะเลมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับฝั่ง และจากกระบวนการกัดกร่อนก็ทำให้เกิดภูมิลักษณ์ต่างๆ ดังนี้

เพิ่มเติม : ฝั่ง . หาด . ชายฝั่ง . ชายหาด ต่างกันยังไง

  • หน้าผาคลื่นตัด (wave-cut cliff) เป็นภูมิลักษณ์ที่เด่นชัดที่สุดที่จะพบได้กับชายฝั่งยกตัว ทั้งนี้เนื่องมาจากภูเขาหรือฝั่งซึ่งเป็นหินแข็งนั้น อยู่ประชิดกับน้ำทะเลอย่างตรงๆ ผลจากการต่อสู้กันระหว่างคลื่นน้ำทะเลและหินแข็งทำให้ได้หน้าผาที่สูงชันตลอดแนวชายฝั่ง
  • ถ้ำทะเล (sea cave) ในบางพื้นที่ของหน้าผา หินมีรอยแตกและผุพังมากกว่าบริเวณอื่นๆ เมื่อน้ำทะเลเขากระแทกจะกัดเซาะหินได้ดีบริเวณที่มีรอยแตกนำ และอาจเกิดเป็นถ้ำทะเลได้เช่นกัน
  • เว้าทะเล (sea notch) เป็นพัฒนาการการกัดเซาะที่คืบคลานรุกล้ำเข้าฝั่งของน้ำทะเล โดยในช่วงแรกน้ำจะกัดในระดับเดียวกับผิวน้ำ ซึ่งก็จะได้เว้าทะเล และเมื่อน้ำกัดเซาะจนเกิดเว้าทะเลลึกเข้าไปใต้หน้าผาหินมากขึ้น สุดท้ายหน้าผาด้านบนก็จะถล่มลง และวนกลับกลายเป็น หน้าผาคลื่นตัด แต่ผาจะร่นเข้าไปในฝั่งมากยิ่งขึ้น
หน้าผาคลื่นตัด (wave-cut cliff) ฝั่งยกตัว รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
  • ลานคลื่นเซาะ (wave-cut bench) อย่างที่กล่าวไปว่าคลื่นน้ำทะเลจะกัดเซาะหินเฉพาะบริเวณผิวน้ำที่มีกระแสคลื่นเท่านั้น ซึ่งเมื่อเกิดการกัดเซาะกลายเป็น เว้าทะเล และมีการถล่มของ หน้าผาคลื่นตัด กินพื้นที่ฝั่งหินแข็งเดิมเข้าไป ใต้ระดับน้ำซึ่งเป็นฝั่งหินเดิมจึงกลายเป็นลานกว้างที่เป็นหินแข็ง เรียกว่า ลานคลื่นเซาะ ซึ่งจะโผล่ให้เห็นอย่างเด่นชัดในช่วงเวลาน้ำลง ของ กระแสคลื่นน้ำขึ้น-น้ำลง (tidal current)
  • ตะพักทะเล (marine terrace) ในบางพื้นที่มีกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐานค่อนข้างรุนแรง มีการยกตัวของพื้นที่เป็นระยะๆ ผลจากการที่ผิวน้ำทะเลกัดเซาะฝั่งอยู่ตลอดเวลา การยกตัวของพื้นที่เป็นระยะๆ จึงทำให้เกิดภูมิลักษณ์เป็นขั้นๆ หรือตะพักๆ ตลอดแนวชายฝั่ง เรียก ตะพักทะเล
ตัวอย่างแบบภูมิลักษณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการกัดเซาะชาย ฝั่งบริเวณชายฝั่งยกตัว
หาดยกตัวทันทีทันใดบนเกาะมิดเดิลตัน (Middleton) รัฐอลาสก้า สหรัฐอเมริกา ทำให้กลายเป็นตะพักทะเล

เว้าทะเล (sea notch) เป็นหลักฐานทางธรณีวิทยาชั้นดี ที่บ่งบอกถึงระดับน้ำทะเลในอดีต โดยในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลกรวมทั้งภาคใต้ของประเทศไทย พบเว้าทะเลที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปัจจุบัน หรือในบางแห่งพบเว้าทะเลอยู่บนบกปัจจุบันก็มี นั่นหมายความว่าในอดีตพื้นที่แถบนั้นเคยเป็นระดับน้ำทะเลมาก่อน ซึ่งก็เป็นไปได้ 2 กรณี คือ พื้นที่นั้น 1) ถูกกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ยกพื้นที่ให้สูงขึ้น หรือ 2) ระดับน้ำทะเลลดต่ำลง ที่ทำให้พบเว้าทะเลอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปัจจุบันเช่นนี้

กัดกร่อนที่หัวหาด

ในกรณีของ ฝั่งคงตัว (neutral coast) เป็นลักษณะฝั่งทะเลที่เปลือกโลกไม่มีการเคลื่อนไหวมาเป็นเวลานาน ทำให้แนวฝั่งคงที่ โดยรูปร่างและพัฒนาการของฝั่งถูกควบคุมหรือปักหมุดโดย หัวหาด (head land) และมีกระแสคลื่นทะเลต่างๆ วิ่งเข้ามาในอ่าวกระทบหาด เกิดเป็นหาดที่มีลักษณะโค้งเว้า ซึ่งในแง่ของกระบวนการกัดกร่อน บริเวณหัวหาดจะได้รับผลกระทบจากคลื่นมากที่สุด คลื่นน้ำจะกัดเซาะโดยพุ่งเข้าด้านข้าง ทั้งสองข้างของหัวหาด ทำให้เกิดภูมิลักษณ์ที่น่าสนใจบริเวณหัวหาด ดังนี้

เขาตาม่องล่ายและเขาล้อมหมวก หัวหาเที่ช่วยควบคุมรูปแบบและพัฒนาการของอ่าวประจวบฯ และอ่าวมะนาว
  • ถ้ำทะเล (sea cave) กระบวนการเกิดถ้ำทะเลบริเวณหัวหาดอาจจะคล้ายคลึง แต่ไม่เหมือนซะทีเดียวกับถ้ำทะเลที่เกิดบริเวณฝั่งยกตัว ถ้ำทะเลที่เกิดบริเวณหัวหาด สาเหตุหลักเกิดจากการที่กระแสคลื่นทะเลวิ่งเข้ามากระแทกด้านข้าง เหมือนกับสว่านค่อยๆ เฉาะหัวหาดในแนวด้านข้างจนเป็นรูเป็นหลุม ทั้งสองฝั่งของชะง่อนหินหรือหัวหาด
  • ซุ้มหินโค้ง (sea arch) จากรูปด้านล่าง ถ้ำทะเล จะเกิดทั้ง 2 ฝั่ง ของชะง่อนหินหรือหัวหาด ซึ่งในเวลาต่อมา ถ้ำจะถูกเจาะให้ทะลุเข้าหากัน จนเกิดภูมิลักษณ์ที่เรียกว่า ซุ้มหินโค้ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสะพานธรรมชาติที่ทอดตัวลงไปในทะเล
  • โขดทะเล (sea stack) จาก ซุ้มหินโค้ง ที่ส่วนบนไม่เสถียร เมื่อเวลาผ่านไป ส่วนด้านบนจะหักถล่มพังลงมา เหลือเฉพาะหัวซุ้มหินโค้ง หรือคอสะพานเดิมที่อยู่ภายในทะเลใกล้ฝั่ง โดยในทางธรณีวิทยาเรียกภูมิลักษณ์แบบนี้ว่า โขดทะเล
การสะท้อนของคลื่นตามแนวชายหาดไม่ราบเรียบ และวิวัฒนาการการกัดเซาะบริเวณหัวหาด
ตัวอย่างแบบภูมิลักษณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการกัดเซาะชาย ฝั่งบริเวณชายฝั่งคงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหัวหาด

สะสมตัวที่หาด

หาด (beach) คือ บริเวณรอยต่อระหว่างพื้นทวีปและทะเล ส่วนใหญ่มักมีรูปร่างคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ที่ควบคุมด้วย หัวหาด (head land) ทั้งบนและล่างของหาด โดยนักวิทยาศาสตร์แบ่งชายหาดเป็น 3 ประเภท คือ 1) หาดกรวด (shingle beach) พบตามชายฝั่งยกตัว 2) หาดทราย (sand beach) ตามชายฝั่งคงตัว และ 3) หาดเลน หรือ ที่ราบน้ำทะเลขึ้นถึง (tidal flat) ซึ่งเป็นหาดที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำขึ้น-น้ำลง เป็นหลัก

(ซ้าย) หาดหิน (ขวา) หาดทราย
หาดเลนและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

การสะสมตัวตามชายหาด (wave deposition) เป็นการพัดพาตะกอนทรายให้เคลื่อนที่เลื่อนไปตามระนาบและสะสมตัวขนานไปกับขอบของชายฝั่ง อันเนื่องมาจากอิทธิพลของ กระแสคลื่นขนานฝั่ง (longshore current) เช่น เกาะสันดอน (barrier island) สันดอนทราย (sand spit) บางครั้งสันดอนทรายมีการตวัดโค้งเข้าไปในชายฝั่งทำให้เกิด สันทรายจงอย (hook) เป็นต้น

กระแสคลื่นขนานฝั่ง (longshore current)
แบบจำลองกระบวนการสะสมตัวโดยคลื่น

เพิ่มเติม : คลื่นกลางมหาสมุทร และกระแสน้ำริมฝั่ง

และหากสันดอนทรายหรือสันทรายปิดอ่าวนั้นมีการพัฒนาจนปิดป่าวอ่าวอย่างสมบูรณ์ เรียกว่า สันทรายปิดอ่าว (bay mouth bar) นอกจากนี้ในกรรีของสันทรายที่มีการพัฒนาและเชื่อมต่อ โขดทะเล (stack) กับแผ่นดินใหญ่ เราจะเรียกว่า หาดเชื่อมเกาะ (tombolo) เป็นต้น

ลักษณะการสะสมตัวของตะกอน บริเวณชวากทะเล (estuary) หรือป่าวอ่าว

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024