วิจัย

โอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่กว่า 7.0 ตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย

ตลอดแนวหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซีย ในทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ถือเป็นขอบของการชนกันระหว่าง 1) แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย และ 2) แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Krabbenhoeft และคณะ, 2010) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Indonesian Island Chain) ซึ่งด้วยความที่เป็นขอบการชนกันของแผ่นเปลือกโลก ทำให้พื้นที่แถบนี้เป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ

ดังนั้น เพื่อที่จะประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ในบริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย Pailoplee (2014d) ได้พยายามวิเคราะห์เพื่อหาพื้นที่ที่มีแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่สูงกว่าปกติ ผ่านการวิเคราะห์ ค่า b จากสมการความสัมพันธ์ การกระจายตัวความถี่-ขนาดแผ่นดินไหว (Frequency-Magnitude Distribution, FMD) หรือที่นักแผ่นดินไหวบางกลุ่มวิจัย เรียกว่า สมการกูเต็นเบิร์ก-ริกเตอร์ (Gutenberg-Richter Relationship) โดยในการวิเคราะห์นี้ Pailoplee (2014d) ได้ใช้ฐานข้อมูลแผ่นดินไหวที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงฐานข้อมูลแผ่นดินไหวจนมีความสมบูรณ์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งในขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์มุ่งเน้นทดสอบและศึกษารูปแบบการเปลี่ยนแปลงค่า b ที่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw โดย Pailoplee (2014d) แบ่งข้อมูลแผ่นดินไหวออกเป็น 2 ชุดข้อมูล ตามช่วงเวลาการเกิดแผ่นดินไหว คือ ข้อมูลแผ่นดินไหวในช่วงปี 1) ค.ศ. 1980-2000 และ 2) ค.ศ. 1980-2005 ซึ่งผลการวิเคราะห์การกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า b โดยใช้ข้อมูลแผ่นดินไหวที่อยู่ใกล้แต่ละพื้นที่ย่อยมากที่สุด 50 เหตุการณ์ (Nuannin และคณะ, 2005)

การทดลองกับแผ่นดินไหวใหญ่ในอดีต

จากข้อมูลแผ่นดินไหวในช่วงปี ค.ศ. 1980-2000 (รูป ก) พบว่ามีพื้นที่แสดงค่า b ต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียงอย่างชัดเจน (b = 0.5-0.7) เช่น พื้นที่เขตมุดตัวของเปลือกโลกในบริเวณนอกชายฝั่งเมืองปาดัง-เมืองจาการ์ตา (Padang-Jakarta Segment) นอกจากนี้ยังพบพื้นที่ขนาดเล็กที่มีค่า b ต่ำ กระจายตัวอยู่ทางตะวันออกของแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (รูป ก) ซึ่งในเวลาต่อมาเกิดแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw อย่างน้อย 5 เหตุการณ์ ในบริเวณที่มีค่า b ต่ำ ดังกล่าว

แผนที่เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซียแสดงการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า b วิเคราะห์จากข้อมูลแผ่นดินไหวในช่วงปี (ก) ค.ศ. 1980-2000 และ (ข) ค.ศ. 1980-2005 (Pailoplee, 2014d) ดาวสีแดง คือ แผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ที่เกิดขึ้นภายใน 5 ปี หลังจากช่วงเวลาของฐานข้อมูลแผ่นดินไหวที่ใช้ในการวิเคราะห์

นอกจากนี้ Pailoplee (2014d) วิเคราะห์ค่า b จากข้อมูลแผ่นดินไหวในช่วงปี ค.ศ. 1980-2005 (รูป ข) พบว่าพื้นที่แสดงค่า b ต่ำ จากรูป ก มีความชัดเจนมากขึ้น และเกิดแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw เพิ่มขึ้นอีก 4 เหตุการณ์ หลังจากปี ค.ศ. 2005 (รูป ข) บ่งชี้ว่าสมมุติฐานของ Nuannin และคณะ (2005) ใช้วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคตตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซียได้

ประเมินพื้นที่เสี่ยงจากการวิเคราะห์ข้อมูล ณ ปัจจุบัน

ดังนั้นเพื่อที่จะประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคตตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย Pailoplee (2014d) ประยุกต์ใช้สมมุติฐานของ Nuannin และคณะ (2005) เพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า b กับข้อมูลแผ่นดินไหวในช่วงปี ค.ศ. 1980-2010 โดยแบ่งข้อมูลแผ่นดินไหวออกเป็น 2 ชุดข้อมูล ตามความลึกของแผ่นดินไหว คือ 1) ความลึก ≤ 40 กิโลเมตร ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดระหว่างแผ่นเปลือกโลกและภายในแผ่นเปลือกโลก ซึ่งมีโอกาสเป็นทั้งแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวและสึนามิ และ 2) ความลึก > 40 กิโลเมตร ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดจากแผ่นเปลือกโลกส่วนที่มุดลงไปใต้พื้นโลก

ในกรณีของแผ่นดินไหวระดับตื้นที่เกิดระหว่างและภายในแผ่นเปลือกโลก (รูป ก) พบพื้นที่แสดงค่า b ต่ำ 8 พื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใกล้กับเมืองสำคัญของประเทศอินโดนีเซีย เช่น เมืองปาเล็มบัง พรายา บาจาวา (Bajawa) และเมืองอัมบน เป็นต้น สืบเนื่องจากข้อมูลแผ่นดินไหวในช่วงปี ค.ศ. 2010-2013 บ่งชี้ว่าไม่มีแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw เกิดขึ้น Pailoplee (2014d) จึงสรุปว่าพื้นที่ดังกล่าวมีโอกาสเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคต (รูป ก)

แผนที่เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซียแสดงการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของค่า b วิเคราะห์จากข้อมูลแผ่นดินไหวในช่วงปี ค.ศ. 1980-2010 ที่เกิดในความลึก (ก) ≤ 40 กิโลเมตร และ (ข) > 40 กิโลเมตร (Pailoplee, 2014d) ดาวสีแดง คือ แผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ที่เกิดขึ้นภายใน 5 ปี หลังจากช่วงเวลาของฐานข้อมูลแผ่นดินไหวที่ใช้ในการวิเคราะห์

ในส่วนของแผ่นเปลือกโลกส่วนที่มุดลงไปใต้พื้นโลก พบพื้นที่ขนาดเล็กแสดงค่า b ต่ำ จำนวน 8 พื้นที่ เช่น ตอนใต้ของเมืองจาการ์ตา (Jakarta) ตอนเหนือและตอนใต้ของเมืองยอร์กจาการ์ตา (Yogyakarta) รวมทั้งตอนเหนือของเมืองบาจาวา (รูป. ข) ซึ่งจากข้อมูลแผ่นดินไหวในช่วงปี ค.ศ. 2010-2013 บ่งชี้ว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 2 เหตุการณ์ ในพื้นที่แสดงค่า b ต่ำ ในพื้นที่ทางตอนเหนือของเมืองดิลีและเมืองอัมบน ดังนั้น Pailoplee (2014d) จึงสรุปว่าพื้นที่แสดงค่า b ต่ำ และยังไม่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เหลืออีก 6 พื้นที่ มีโอกาสเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคต

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024