Tag: แผ่นดินไหว

สำรวจ

โบราณคดี x แผ่นดินไหว – กรณีศึกษา วัดส้มสุก เชียงใหม่

โบราณสถาน วัดส้มสุก อ. แม่อาย จ. เชียงใหม่ เชื่อกันว่าเป็นเมืองเก่าสำคัญในลุ่มน้ำฝาง วัดส้มสุกโด่งดังในทางโบราณคดี เพราะในช่วงที่ขุดค้นและบูรณะ พบ จารึกโบราณ อักษรฝักขาม อยู่ในแผ่นอิฐจำนวนมากกว่า 200 ก้อน (ครองสถิติ จารึกมากที่สุดในประเทศไทย) ยืนยันถึงการเผยแพร่ ...
สำรวจ

แถบแผ่นดินไหว (seismic belt) กับ 10 แผ่นดินไหว ใหญ่ที่สุดตลอดกาล

แถบแผ่นดินไหว (seismic belt) ในบรรดาแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีอยู่บนโลก นักธรณีวิทยาแบ่งย่อย สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานที่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหว (seismotectonic setting) เอาไว้ 3 สภาพแวดล้อม คือ 1) บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งได้แก่ ขอบการแยกออกจากกัน (divergent) ขอบการเคลื่อนที่ผ่านกัน ...
วิจัย

ภัยพิบัติแผ่นดินไหว ลาว-พม่า

1) แผ่นดินไหว x ลาว ในทางธรณีแปรสัณฐาน ประเทศลาวตั้งอยู่ห่างไกลจาก เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน แต่ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ถ่ายเทเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมากวางตัวอยู่ในประเทศลาวและพื้นที่ข้างเคียง เช่น รอยเลื่อนเดียนเบียนฟู รอยเลื่อนแม่อิง (Mae Ing Fault; Fenton และคณะ, ...
เรียนรู้

นิทาน x ระบบเตือนภัยสึนามิ

หลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิครั้งใหญ่ ทางฝั่งอันดามันของไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 หลายประเทศรอบมหาสมุทรอินเดียรวมทั้งประเทศไทย ตัดสินใจติดตั้ง ระบบเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Warning System, TWS) อย่างที่ฝรั่งเค้ามีกันทางฟากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก โดยนอกเหนือจากกลไกการทำงานที่สลับซับซ้อนในทางเทคนิค หน้าตาระบบเตือนภัยที่ประชาชนทั่วไปพอจะคุ้นและเคยเห็นคือ ทุนลอยน้ำ ...
สำรวจ

ทำไม ญี่ปุ่น ถึงอุดมไปด้วย แผ่นดินไหว

หากเรามองแผ่นเปลือกโลกเป็นเหมือนจิ๊กซอว์ที่อยู่ชิดติดกัน แผ่นดินญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของทวีปเอเชีย ทอดตัวยาวคร่อมอยู่บนจิ๊กซอว์ชื่อแปลกๆ 3 แผ่น คือ 1) แผ่นเปลือกโลกโอค็อตสค์ (Okhotsk Plate) ทางตอนเหนือ 2) แผ่นเปลือกโลกทะเลฟิลิปปินส์ (Philippine Sea Plate) ทางตอนใต้ ...
สำรวจ

ล่อง (รอยเลื่อน) แม่ปิง

ปัจจุบัน รอยเลื่อนแผ่นดินไหว ที่กรมทรัพยากรธรณีได้ประกาศเอาไว้ว่าเป็น รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ก็จะมีอยู่ประมาณ 14-15 รอยเลื่อน ครอบคลุมพื้นที่ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศไทย เช่น รอยเลื่อนแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่จัน จังหวัดเชียงราย รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ...
สำรวจ

4 รอยเลื่อน แห่งลุ่มน้ำโขง ที่ไทยควรเฝ้าระวัง

ภาพปก : https://pantip.com/topic/36696666 ปัจุบัน ผลจากการที่แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย กำลังพุ่งชนและมุดเข้าไปใต้แผ่นยูเรเซีย นอกจากขอบการชนกันอย่าง เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman subduction zone) แรงส่งจากการบดขยี้กันของแผ่นทั้งสอง ยังทำให้ภายในแผ่นเปลือกโลกเกิดรอยแตกร้าวมากมาย อย่างที่เราเรียกกันติดปากว่า รอยเลื่อน (fault) ซึ่งทั้งเขตมุดตัวและรอยเลื่อน ถือเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญและเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ ...
สำรวจ

แผ่นดินไทยมาจากไหน ? : นิทาน . ธรณีแปรสัณฐาน . ประเทศไทย

เชื่อว่าผู้อ่านคงเคยได้รับชมสารคดีเกี่ยวกับการเดินทางของเผ่าพันธุ์มนุษย์ การอพยพของสัตว์เพื่อหนีหนาว หรือแม้แต่การเดินทางของเม็ดเลือดจากการ์ตูน “นิทานชีวิต” ที่เราคลั่งไคล้กันตอนเด็กๆ คราวนี้ผู้เขียนอยากให้ลองเปลี่ยนบรรยากาศ มาดูการเดินทางของผืนแผ่นดิน (ธรณีแปรสัณฐาน) กันบ้าง ผู้เขียนผู้เขียนตั้งชื่อนิทานเรื่องนี้ว่า “นิทานขวานทอง” ซึ่งอ้างอิงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เคยมีการศึกษาวิจัยเอาไว้ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Bunopas (1985) Charusiri และคณะ (2002) ...
สำรวจ

ตะพักทะเล : พยานปากเอก จับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่

เกริ่นกันก่อน ตะพักแม่น้ำ เกริ่นก่อนจะเข้าเรื่อง แผ่นดินไหว สืบเนื่องจากบทความ : ชนิดและภูมิลักษณ์ของธารน้ำ ผลจากการกวัดแกว่งของ ธารน้ำโค้งตวัด (meandering stream) หินแข็งที่เคยอยู่ริมธารน้ำจะถูกกัดกร่อนและเกิดการทับถมตะกอนซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปทั่วทุกพื้นที่ที่ธารน้ำเคยตวัดไปถึง ทำให้เกิดภูมิประเทศเป็นที่ราบครอบคลุมพื้นที่กว้างขนาบไปตามธารน้ำที่เรียกกันติดปากว่า ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plain) ซึ่งหากมองในภาพตัดขวางของร่องน้ำ จะพบว่าร่องน้ำโค้งตวัดนี้ ...
วิจัย

ฝูงแผ่นดินไหวจิ๋ว ภาคเหนือของไทย : ปุจฉา-วิสัชนา

แผ่นดินไหว – วิเคราะห์โดย : เชาว์วรรธน์ สิงห์ทอง และ สันติ ภัยหลบลี้ ในช่วง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2560 เกิด ...
เรียนรู้

แผ่นดินไหวตาม (Aftershock)

แผ่นดินไหวตาม (aftershock) คือ แผ่นดินไหว (earthquake) ที่เกิดขึ้นหลังจากเกิด แผ่นดินไหวหลัก (main shock) แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่าแผ่นดินไหวหลักเสมอ โดยมักจะเกิดใกล้เคียงกับแผ่นดินไหวหลักทั้งในมิติของเวลาและพื้นที่ ในแง่กลไกของการเกิด แผ่นดินไหวตามเกิดจากแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เปลี่ยนไปอย่างทันทีทันใดโดยรอบจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวหลัก อันเนื่องมาจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวหลัก หรือเรียกว่า แรงเค้นระหว่างเกิดแผ่นดินไหว (co-seismic stress) ...
เรียนรู้

แผ่นดินไหว : เมื่อคลื่นยำคน เมื่อคนสู้คลื่น

เมื่อพูดถึงภัยพิบัติ แผ่นดินไหว เอาแค่เรื่องแรงสั่นสะเทือนอย่างเดียว มนุษย์เราก็น่าจะห่อเหี่ยวลงไปไม่น้อย ชัวร์ครับ !!! คลื่นแผ่นดินไหวไปที่ไหน ก็บรรดัยกันแน่ๆ แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ต้องบอกก็รู้ว่ายิ่งแผ่นดินไหวมี 1) ขนาด (magnitude) ใหญ่ แรงสั่นสะเทือนก็ยิ่งแรงขึ้น และก็เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ก็จะให้แรงสั่นที่ 2) ...
วิจัย

อยากรู้นิสัยแผ่นดินไหวใหญ่ๆ ควรใส่ใจแผ่นดินไหวเล็กๆ

แผ่นดินไหว – ในการเฝ้าติดตาม ตรวจจับและตรวจวัดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ยิ่ง เครือข่ายการตรวจวัดแผ่นดินไหว สามารถตรวจวัดแผ่นดินไหวขนาดเล็กได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้นเท่าไหร่ นั่นถือเป็นเรื่องดี !!! บางท่านอาจจะสงสัยว่าแผ่นดินไหวเล็กๆ จะไปกลัวกันทำไม จะไปมองมันทำไมให้เสียเวลา เรื่องของเรื่องมันมีอยู่ว่า โดยธรรมชาติของการเกิดภัย (รวมถึงภัยพิบัติอื่นๆ ด้วยนะ) แผ่นดินไหวขนาดเล็กจะเกิดขึ้นบ่อยในขณะที่แผ่นดินไหวใหญ่ นานๆ ...
เรียนรู้

ซากโบราณสถาน กับการแปลความ แผ่นดินไหว

หนึ่งในหลายๆ ลีลาของการศึกษา สืบหาหลักฐานการเกิด แผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ คือ การศึกษาแผ่นดินไหวจากซากโบราณสถานในแหล่งโบราณคดี (archaeoseismology) (Evans, 1928; Agamennone, 1935) ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง และช่วยเต็มเต็มช่องว่างระหว่างข้อมูล บันทึกทางประวัติศาสตร์ (historical record) และข้อมูลจาก ...
เรียนรู้

รู้จัก “คลื่นเซซ” ลูกแท้ๆ ของ แผ่นดินไหว

ในบรรดาปรากฏการณ์มวลน้ำยกพลขึ้นฝั่ง แล้วกระทบความรู้สึกหรือสร้างความเสียหายให้กับสิ่งที่หวงแหนของมนุษย์ ไม่ได้มีเฉพาะคลื่นน้ำที่เกิดจาก แผ่นดินไหว รวมความดูแล้วน่าจะมีอยู่ประมาณ 4 รูปแบบ ได้แก่ สมมุติว่าคุยกันแบบพ่อๆ ลูกๆ เวลาเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขึ้นมา หลายคนก็คงคิดว่าสึนามิเกิดจากแผ่นดินไหวนั้นๆ แผ่นดินไหวเป็นพ่อ ส่วนสึนามิก็เป็นลูก ที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว แต่เปล่าเลย !!! ความจริงทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ ...
สำรวจ

ย้อนรอย แผ่นดินไหว 4.8 ปี 49 ประจวบฯ : หากนักธรณีวิทยาไม่ลงพื้นที่ไปในวันนั้น เรื่องอาจจะพัลวันไปมากกว่านี้

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 ในละแวกภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเกิดประเด็นทางด้านวิชาการเล็กน้อยเกี่ยวกับตำแหน่งหรือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวในครั้งนั้น เรื่องของเรื่องคือในวันนั้น เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวระดับโลกอย่าง สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) รายงานว่าแผ่นดินไหวขนาด 4.8 มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ทางตอนใต้ของประเทศพม่า (ติดกับจังหวัดชุมพร) ขณะที่เครือข่ายตรวจวัดแผ่นดินไหวของ ...
เรียนรู้

แผ่นดินไหววิทยาเชิงสถิติ (statistical seismology)

ในทาง แผ่นดินไหววิทยา (seismology) ปัจจุบันมีแนวคิด วิธีการ หรือทฤษฎีมากมายที่ นักแผ่นดินไหว (seismologist) ได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อที่จะคาดการณ์สถานการณ์แผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่ง USGS (2002) ได้จัดกลุ่มวิธีต่างๆ ตามช่วงเวลาที่ในแต่ละวิธีนั้นมีความพอฟังได้ น่าเชื่อถือเอาไว้ 3 กลุ่ม คือ ...
สำรวจ

องครักษ์ . นครนายก : กับแนวเส้นที่ไม่ค่อยมีใครใคร่จะเห็น

จากการที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียกำลังชนเข้ากับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียในปัจจุบัน ทำให้ภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียเกิดการปริแตกและเลื่อนตัว โดยพื้นที่ยิ่งใกล้กับขอบแผ่น เช่น รอยเลื่อนสะกาย ของประเทศพม่า ก็จะมีอัตราการเลื่อนตัวสูง เพราะได้รับแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานมาก ในขณะที่ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย ซึ่งอยู่ถัดเข้ามาข้างในก็จะมีอัตราการเลื่อนตัว และความดุของแผ่นดินไหวที่ลดต่ำลงไปด้วย จากข้อมูลทางธรณีวิทยาหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะ ภูมิประเทศที่บ่งชี้รอยเลื่อน หรือสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต พบว่าแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวของไทยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณภาคเหนือ ...
เรียนรู้

ทำไมต้องแผ่นดินไหว 7up สึนามิถึงจะขึ้น

ในบรรดาสาเหตุของการเกิดสึนามิทั่วโลก กิจกรรมทางธรณีแปรสัณฐานใต้ทะเล (submarine tectonic activity) ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสึนามิบ่อยที่สุด แต่จะเกิดสึนามิได้หรือไม่ กระบวนการธรณีแปรสัณฐานที่ว่า ต้องเข้าหลักการ 2 ข้อ คือ 1) การเลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวนั้น จะต้องเป็นการเลื่อนตัวในแนวดิงเป็นหลัก จึงจะทำให้มีโอกาสเกิดสึนามิ ทั้งนี้ก็เพราะสึนามิเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศในแนวดิ่งใต้ทะเล และยกมวลน้ำขึ้นอย่างทันทีทันใด ...
สำรวจ

3 ทศวรรษ พัฒนาการแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของไทย

ปฐมบทการศึกษาแนวรอยเลื่อนในประเทศไทยถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในรูปของแผนที่รอยเลื่อนมีพลังของแสงอาทิตย์ เชื้อวิโรจน์ (2534) ซึ่งได้ลากเส้นรอยเลื่อนเอาไว้ชัดเจนพอสมควรในพื้นที่ประเทศไทย และแบ่งรอยเลื่อนออกเป็นกลุ่มๆ ตามความต่อเนื่องและลักษณะทางธรณีวิทยา ซึ่งต่อมาก็ยังมีนักวิจัยอีกหลายคน ที่ได้นำเสนอกลุ่มรอยเลื่อนในประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียง เช่น Hinthong (1995) โดยได้มีการปรับเพิ่มเสริมแต่ง พัฒนากันมาเรื่อยๆ ตามแนวคิดหรือข้อมูลที่นักวิจัยแต่ละท่านมีอยู่ในมือ จนปันจุบันทำให้เราได้เห็นแผนที่รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ซึ่งศึกษาและสรุปไว้ในรูปด้านล่าง โดยจะเห็นว่ารอยเลื่อนส่วนใหญ่จะวางตัวเฉียงซ้ายเบี่ยงขวากระจายอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย ...