Tag: แรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน

เรียนรู้

แผ่นดินไหวตาม (Aftershock)

แผ่นดินไหวตาม (aftershock) คือ แผ่นดินไหว (earthquake) ที่เกิดขึ้นหลังจากเกิด แผ่นดินไหวหลัก (main shock) แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่าแผ่นดินไหวหลักเสมอ โดยมักจะเกิดใกล้เคียงกับแผ่นดินไหวหลักทั้งในมิติของเวลาและพื้นที่ ในแง่กลไกของการเกิด แผ่นดินไหวตามเกิดจากแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เปลี่ยนไปอย่างทันทีทันใดโดยรอบจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวหลัก อันเนื่องมาจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวหลัก หรือเรียกว่า แรงเค้นระหว่างเกิดแผ่นดินไหว (co-seismic stress) ...
วิจัย

ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานตามเขตมุดตัวสุมาตรา-อันดามัน กับพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว

เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) วางตัวในแนวเหนือ-ใต้พาดผ่านทางตะวันตกของประเทศพม่า หมู่เกาะนิโคบาร์ (Nicobar Islands) ในทะเลอันดามัน (Andaman Sea) ต่อเนื่องลงไปถึงตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน บ่งชี้ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และมีการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล อาจเกิดสึนามิและส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น ประเทศไทย พม่าและประเทศอินโดนีเซีย ...
วิจัย

แรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานในภาคเหนือของไทย กับการประเมินพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวในอนาคต

นอกจากรอยเลื่อนสะกาย ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลียและแผ่นยูเรเซีย ยังถ่ายเทเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ทางตะวันออกของประเทศพม่ารวมทั้งตอนเหนือของประเทศลาว ( Charusiri และคณะ, 2007) ทำให้เกิดรอยเลื่อนจำนวนมากวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้และแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรอยเลื่อนส่วนใหญ่มีการเลื่อนตัวตามแนวราบ (strike-slip movement) และมีบางรอยเลื่อนที่เลื่อนตัวแบบปกติ (normal movement) เช่น รอยเลื่อนแม่จัน ...
วิจัย

รอยเลื่อนสะกาย กลางพม่า เสี่ยงเกิดแผ่นดินไหวใหญ่

ในบรรดารอยเลื่อนมีพลังที่พวกเรารู้จักกันในภูมิภาคอาเซียน ผมพยายามสื่อสารสู่สาธารณะหลายครั้งว่า รอยเลื่อนสกาย (Sagaing Fault) ที่ผ่าอกกลางประเทศพม่า เป็นรอยเลื่อนที่ไม่ธรรมดา เพราะจากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต รอยเลื่อนนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ถึง 8.0 เมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว (วันที่ 23 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2455) ...
วิจัย

รอยเลื่อนฝั่งตะวันตกของไทย : มีที่ไม่น่าไว้ใจอยู่ 2-3 ที่

ในทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ประเทศไทยและเพื่อนบ้านตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate) ซึ่งในปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกอินเดียออสเตรเลีย (Indo-Australia Plate) กำลังวิ่งชนและมุดลงไปใต้แผ่นยูเรเซียบริเวณฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า ผลจากการชนกันทำให้เกิดแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน บีบอัดแผ่นเปลือกโลกบริเวณนั้นและยกตัวสูงขึ้นกลายเป็น แนวเทือกเขาอาระกัน (Arakan-Yoma thrust range) ทางฝั่งตะวันตกของประเทศพม่า นอกจากนี้แรงเค้นดังกล่าวยังส่งผลเข้ามาภายในแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายแดนรอยต่อ ...
วิจัย

โอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่กว่า 7.0 ตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย

ตลอดแนวหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซีย ในทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ถือเป็นขอบของการชนกันระหว่าง 1) แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย และ 2) แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Krabbenhoeft และคณะ, 2010) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Indonesian Island Chain) ซึ่งด้วยความที่เป็นขอบการชนกันของแผ่นเปลือกโลก ...
วิจัย

7 ตัวอย่างการนำค่า b มาศึกษานิสัยการปริแตกบนโลก

จากสมการความสัมพันธ์ การกระจายตัวความถี่-ขนาดแผ่นดินไหว (Frequency-Magnitude Distribution, FMD) หรือที่นักแผ่นดินไหวบางกลุ่มวิจัย เรียกว่า สมการกูเต็นเบิร์ก-ริกเตอร์ (Gutenberg-Richter Relationship) ดังแสดงในสมการ (1) ( Ishimoto และ Iida, 1939; Gutenberg และ Richter, 1944) ...