เรียนรู้

รู้จัก “ความรุนแรงแผ่นดินไหว” ซึ่งไม่ใช่แรงสั่นสะเทือน

สมัยเด็กๆ พวกเราคงเคยได้ฟังนิทานเรื่องลูกหมูสามตัว ซึ่งนอกจากคติสอนใจเรื่องความวิริยะอุตสาหะในการสร้างบ้านของลูกหมูแต่ละตัว อีกหนึ่งข้อควรคิดที่นิทานเรื่องนี้ได้แอบซ่อนเอาไว้คือประสิทธิภาพหรือความสามารถของสิ่งปลูกสร้างในการต้านทานแรงจากภายนอกที่เข้ามากระทบ

ลูกหมูสามตัว นิทานสุดคลาสสิกในตำนาน

ในขณะที่หมาป่าพยายามเป่าลมเพื่อพังบ้านด้วยแรงเท่าๆ เดิม บ้านของลูกหมูแต่ละหลังกลับต้านทานแรงลมได้ดีไม่เท่ากัน บ้านของพี่ใหญ่ถูกลมเป่าครั้งเดียวก็จอด ในขณะที่บ้านของน้องเล็กถึงจะถูกต้องกี่ครั้งก็ยังรอด ผลลัพธ์ของการจอดหรือรอดในเรื่องนี้สามารถแสดงออกได้ในรูปแบบของ มาตราความรุนแรง (intensity scale)

ปกติมาตราความรุนแรงสามารถใช้กับภัยพิบัติอื่นๆ ก็ได้เช่น ระดับความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนแบ่งย่อยเป็น 5 ระดับ ตาม มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน (Saffir-Simpson Hurricane Wind Scale) แต่ที่นิยมนำไปใช้มากที่สุดคือ มาตราความรุนแรงของแผ่นดินไหว อย่างที่เราคุ้นหูกันว่า มาตราเมอร์คัลลี่แปลง (Modified Mercalli Intensity Scale)

มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน (Saffir-Simpson Hurricane Wind Scale) (ที่มา: NHC)

ความรุนแรงแผ่นดินไหว (Earthquake Intensity) หมายถึง ระดับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนที่มีต่อคน สิ่งของ อาคารและสภาพแวดล้อม ซึ่งถึงแม้ว่าระดับแรงสั่นสะเทือนจะพอๆ กันแต่ถ้าความเปราะบางหรือความอ่อนไหวของสิ่งปลูกสร้างในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันความรุนแรงก็จะแตกต่างกันไปด้วย ตัวอย่างเช่นเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศปากีสถาน แต่ความรุนแรงแผ่นดินไหวของญี่ปุ่นอาจจะต่ำกว่าของปากีสถานทั้งนี้ก็เพราะโดยภาพรวมของสิ่งปลูกสร้างของญี่ปุ่นสามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวได้ดีกว่าปากีสถาน

โดยรูปแบบการนำเสนอความรุนแรงแผ่นดินไหวนิยมใช้เลขโรมันเป็นตัวแทน และอธิบายแต่ละระดับเป็นคำพูดที่เข้าใจง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน ทั้งนี้ก็เพราะความรุนแรงแผ่นดินไหวเป็นมาตราที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงง่าย ง่ายกว่าข้อมูลตัวเลขของ แรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว (ground shaking) ซึ่งปัจจุบันหลายภูมิภาคก็มีมาตราความรุนแรงแผ่นดินไหวเป็นของตัวเองและใช้คุยกันเฉพาะในแต่ละพื้นที่ ที่เห็นยังใช้กันอยู่ก็มีอย่างน้อย 4 มาตรา

มาตราภูมิภาคยุโรป

มาตราภูมิภาคยุโรป (European Macroseismic Intensity Scale หรือ EMS-98 Scale) ตั้งขึ้นเป็นทางการในปี พ.ศ. 2531 โดยหน่วยงาน European Seismological Commission (ESC) และนิยมใช้คุยกันในภูมิภาคยุโรปเป็นหลัก

ระดับ ผลกระทบ
I คนไม่รู้สึก แม้จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมสงบนิ่ง
II รู้สึกสั่นในคนที่พักอยู่อาคาร โดยเฉพาะชั้นบน
III ที่พักผ่อนในอาคารรู้สึกถึงการสั่น
IV คนอยู่นอกอาคารรู้สึกได้บ้าง ประตูหน้าต่างลั่นเอี๊ยดอ๊าด เครื่องแขวนแกว่ง
V คนตกใจวิ่งออกนอกอาคาร ตึกสั่น เครื่องแขวนแกว่งอย่างแรง เครื่องแก้วกระทบกันจนเกิดเสียง ประตูหน้าต่างเปิดปิดเอง
VI รู้สึกได้ทั้งคนที่อยู่ในและนอกอาคาร วัตถุเล็กๆ ตก อาคารเสียหายเล็กน้อย เช่น ปูนแตกและมีเศษเล็กๆ หล่น
VII เฟอร์นิเจอร์เลื่อนและสิ่งของตกจากชั้นจำนวนมาก อาคารเสียหายปานกลาง เช่น เกิดรอยแตกที่ผนัง ปล่องไฟเสียหายบางส่วน
VIII เฟอร์นิเจอร์หกเขมนกลับหัว เกิดรอยแตกขนาดใหญ่บนกำแพง
IX อนุสาวรีย์และเสาหินตกลงมาหรือบิดงอตึกส่วนใหญ่ทรุด
X ตึกส่วนใหญ่ทรุด บางส่วนถล่ม
XI ตึกส่วนใหญ่พังถล่ม
XII โครงสร้างทั้งบนดินและใต้ดินถูกทำลายและเสียหายอย่างแรง

มาตรากรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศญี่ปุ่น

มาตรากรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศญี่ปุ่น (Japan Meteorological Agency Seismic Intensity Scale หรือ JMA Scale หรือ Shindo Scale) เป็นมาตราความรุนแรงแผ่นดินไหวที่นิยมใช้ในประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ซึ่งพัฒนาจากข้อมูลผลการตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวมากกว่า 600 เหตุการณ์ โดยเริ่มต้นจากระดับ 0 ถึงระดับ 7

ระดับ ผลกระทบ PGA (m/s²)
0 (無感) ไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของคน < 0.008
1 (微震) รู้สึกได้เพียงบางคน เฉพาะที่อาศัยบนอาคารสูง 0.008–0.025
2 (軽震) คนส่วนใหญ่รู้สึกได้ บางคนที่หลับอยู่ตื่น 0.025–0.08
3 (弱震) ส่วนใหญ่ที่อยู่ในอาคารรู้สึกและบางคนตื่นตกใจ 0.08–0.25
4 (中震) คนส่วนใหญ่ตื่นตระหนก และพยายามหลบนี้ 0.25–0.80
5 (強震)   กำแพงถล่ม ป้ายหลุมศพทรุด ยานพาหนะหยุด ตู้ขายของหยอดเหรียญพัง คนส่วนใหญ่หนีภัย 0.80–2.50  
6 (烈震)   อาคารส่วนที่ไม่มีมาตรฐาน กำแพงกระเบื้องและหน้าต่างถูกทำลาย ผนังคอนกรีตถล่ม 2.50–4.00  
7 (烈震)   อาคารส่วนใหญ่ถูกทำลายและถล่ม ถึงแม้ว่าจะออกแบบมาอย่างมีมาตรฐาน > 4  

นอกจากนี้ ในประเทศญี่ปุ่นยังมี มาตราโอโมริ (Omori Intensity Scale) ที่นำเสนอโดยฟุซากิชิ โอโมริ (Omori F.) นักแผ่นดินไหวชาวญี่ปุ่น โดยสร้างจากข้อมูลอัตราเร็วสูงสุดบนพื้นดินและมี 7 ระดับเหมือนกับมาตรากรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน

มาตรารอสซึ่-ฟอเรล

ปี พ.ศ. 2426 คุณรอสซี่ (Rossi M.S.C.) นักแผ่นดินไหวชาวอิตาลี และคุณฟอเรล (Forel F.A.) ชาวสวิตเซอร์แลนด์ นำเสนอมาตราความรุนแรงที่มี 10 ระดับ การบอกระดับความรุนแรงของมาตรานี้จะขึ้นต้นด้วยคำว่า “R.F.” และตามด้วยระดับความรุนแรงที่เป็นเลขโรมัน เช่น R.F. V หมายถึง ระดับ 5 ในอดีตมาตรานี้เป็นที่นิยมอย่างมาก แต่หลังจากมีการนำเสนอมาตราเมอร์คัลลี่ มาตรานี้จึงลดความนิยมลง

ระดับ ผลกระทบ
R.F. I บันทึกได้โดยเครื่องตรวจวัดหรือรู้สึกได้เฉพาะผู้เคยมีประสบการณ์
R.F. II รู้สึกได้กับบางคนที่พักผ่อนอยู่นิ่งๆ
R.F. III แรงพอที่จะวัดทิศทางและช่วงเวลาที่เกิดได้
R.F. IV รู้สึกได้โดยคนที่สัญจรอยู่ ทั้งประตูหน้าต่างสั่น มีการแตกของเพดาน
R.F. V รู้สึกได้ทุกคน เฟอร์นิเจอร์สั่น
R.F. VI คนที่หลับตื่นหมด ระฆังเครื่องแขวนแกว่ง นาฬิกาหยุดเดิน พุ่มไม้สั่น
R.F. VII วัตถุที่เคลื่อนย้ายได้ล้มคว่ำ ระฆังในโบสถ์เสียงดัง แต่ตึกเสียหาย
R.F. VIII ปล่องไฟพัง ผนังในตึกแตกร้าว
R.F. IX ตึกถูกทำลายบางส่วนหรือทั้งหมด
R.F. X เกิดภัยพิบัติ หายนะ รอยแตกบนพื้น ดินถล่ม

มาตราเมอร์คัลลี่

เป็นอีกหนึ่งมาตราที่ถูกนำเสนอในปี พ.ศ. 2426 โดยคุณเมอร์คัลลี่ (Mercalli G.) นักภูเขาไฟชาวอิตาลี ได้ปรับปรุงและพัฒนามาจากมาตรารอสซึ่-ฟอเรล เดิม ให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัย (นั้น) มากยิ่งขึ้น และตั้งชื่อว่า มาตราเมอร์คัลลี่ ต่อมามาตรานี้ก็ถูกปรับแก้อีกหลายต่อหลายครั้ง ทั้งจากคุณคานคานี่ (Cancani A.) นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี และคุณซีเบิร์ก (Sieberg A.H.) นักธรณีฟิสิกส์ชาวชาวเยอรมัน จนท้ายที่สุดมาหยุดที่คุณริกเตอร์ (Richter C.F.) บิดาของหน่วยวัดแผ่นดินไหว ซึ่งได้ปรับโฉมมาตราเมอร์มัคลลี่เสียใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัย (นี้) แล้วตั้งชื่อมาตราใหม่นี้เป็น มาตราเมอร์คัลลี่แปลง (Modified Mercalli Intensity Scale หรือ MMI scale) มี 12 ระดับความรุนแรง ซึ่งช่วงแรกใช้กันเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่ต่อมากลายเป็นมาตราที่โด่งดังและนิยมใช้กันทั่วโลก

คุณเมอร์คัลลี่กำลังสำรวจความเสียหายจากแผ่นดินไหวเพื่อประเมินความรุนแรงแผ่นดินไหวจากเหตุการณ์ครั้งนั้น (ที่มา : https://en.wikipedia.org)
ระดับ ผลกระทบ PGA (g)
I คนไม่รู้สึก ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือวัดเท่านั้น  
II รู้สึกบางคนที่อยู่ในที่สงบนิ่ง โดยเฉพาะในอาคารสูง  
III คนอยู่บนอาคารสูงรู้สึกชัดขึ้น เหมือนรถบรรทุกวิ่งผ่าน  
IV คนส่วนใหญ่รู้สึกได้แบบงงๆ ถ้วยชามขยับ หน้าต่างประตูสั่น ผนังมีเสียงลั่น รถยนต์ที่จอดอยู่สั่นไหวชัดเจน 0.02
V เกือบทุกคนรู้สึก ถ้วยชามตกแตก ของในบ้านแกว่ง หน้าต่างพัง ของที่ตั้งไม่มั่นคงล้ม นาฬิกาลูกตุ้มหยุดเดิน 0.04
VI รู้สึกทุกคน บางคนตกใจวิ่งออกจากบ้าน ของหนักในบ้านบางชิ้นเคลื่อนไหว ปูนฉาบผนังร่วงหล่นเล็กน้อย 0.07  
VII ทุกคนตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มเสียหาย อาคารปกติเสียหายปานกลาง อาคารราคาต่ำเสียหายมาก 0.15
VIII สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้ดีเป็นพิเศษเสียหายเล็กน้อย อาคารที่ออกแบบไว้ดีเสียหายค่อนข้างมาก บ้าน และกำแพงหักพัง 0.3
IX สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบดีเป็นพิเศษ เสียหายมาก ตัวอาคารเคลื่อนออกจากฐานรากเดิม  
X อาคารไม้ที่สร้างไว้อย่างดีเสียหาย โครงสร้างอาคารพังพลาย พื้นดินแตก แผ่นดินถล่มหลายแห่ง เกิดทรายพุ > 0.6  
XI สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่พัง สะพาน รางรถไฟบิดเบี้ยวมาก  
XII เสียหายทั้งหมด แนวพื้นดินเดิมบิดเบี้ยว วัตถุกระเด็นกระดอน มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน  

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายมาตราที่เคยนิยมใช้และถูกพับเก็บไปในอดีต เช่น มาตราเมดเวเดพ (Medvedev Scale) หรือที่รู้จักอีกชื่อว่า มาตราจีโอเฟียน (GEOFIAN Scale) นิยมใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 มาตราเมดเวเดพ-สปอนฮอเออร์-คาร์นิก (Medvedev-Sponheuer-Karnik Intensity Scale หรือ MSK-64) ที่แพร่หลายทั่วภูมิภาคยุโรปในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 แต่เนื่องจากมีความคล้ายคลึงอย่างมากกับมาตราเมอร์คัลลี่แปลง ซึ่งมาแรงมากในยุคนี้ ทำให้มาตราเหล่านี้จึงเริ่มเสื่อมถอยลง แต่ก็ยังพอพบเห็นว่าใช้กันอยู่บ้างในบางประเทศ เช่น ประทศอินเดีย อิสราเอล รัสเซีย เป็นต้น

อย่างที่บอกไปในตอนต้น ทีระดับแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวระดับหนึ่ง บางพื้นที่อาจจะต้านทานแรงสั่นนั้นได้อย่างสบายๆ ในขณะที่บางพื้นที่อาจจะเสียหายรุนแรง ขึ้นอยู่กับระดับของแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหว + ความอ่อนไหวหรือเพราะบางของชีวิตและทรัพย์สินมนุษย์ ดังนั้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละเหตุการณ์นอกจากระดับแรงสะเทือนในแต่ละพื้นที่ที่จะถูกตรวจวัดโดยเครื่องมือตรวจวัดแล้ว ความรุนแรงแผ่นดินไหวก็เป็นอีกหนึ่งข้อมูลสำคัญที่จะถูกสำรวจและรายงานออกมา ทั้งนี้เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของความรุนแรงหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในแต่ละเหตุการณ์

บ้านยุ่ยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.0 เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

ถึงแม้ว่าความรุนแรงแผ่นดินไหว จะเป็นมาตราที่ประเมินคร่าวๆ จากความเสียหายหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น แต่ด้วยความที่ใช้คำพูดพื้นๆ ไม่สลับซับซ้อน มาตราความรุนแรงแผ่นดินไหวจึงมีประโยชน์อย่างมากต่อการสื่อสาร โดยเฉพาะกับชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ด้านแผ่นดินไหวมากนัก ดังนั้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหว แม้แต่ยายมี นางมา ก็สามารถเป็นเครื่องวัดแผ่นดินไหวได้ (โดยไม่รู้ตัว) คำบอกเล่าจากชาวบ้านช่วยให้นักแผ่นดินไหววิทยาสามารถวิเคราะห์แรงสั่นสะเทือนในแต่ละที่ได้ โดยไม่ต้องพึ่งข้อมูลจากสถานีตรวจวัดเพียงอย่างเดียว (ซึ่งก็มีอยู่จำกัด) ดังนั้นมาตราความรุนแรงแผ่นดินไหวจึงเป็นอีกหนึ่งข้อมูลการตรวจวัดที่สำคัญสำหรับการศึกษาและเตรียมการรับมือกับแผ่นดินไหวที่จะเกิดครั้งใหม่อีกในอนาคต

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024