แผ่นดินไหวตาม (aftershock) คือ แผ่นดินไหว (earthquake) ที่เกิดขึ้นหลังจากเกิด แผ่นดินไหวหลัก (main shock) แต่จะมีขนาดที่เล็กกว่าแผ่นดินไหวหลักเสมอ โดยมักจะเกิดใกล้เคียงกับแผ่นดินไหวหลักทั้งในมิติของเวลาและพื้นที่ ในแง่กลไกของการเกิด แผ่นดินไหวตามเกิดจากแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่เปลี่ยนไปอย่างทันทีทันใดโดยรอบจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวหลัก อันเนื่องมาจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวหลัก หรือเรียกว่า แรงเค้นระหว่างเกิดแผ่นดินไหว (co-seismic stress) และเพื่อที่จะปรับสภาพพื้นที่ให้เข้าสู่สภาวะสมดุล พื้นที่โดยรอบจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวหลักที่มีแรงเค้นเพิ่มขึ้น จะปล่อยหรือคลายพลังงานออกมาในรูปของการเกิดแผ่นดินไหวตาม

ถึงแม้ว่าขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหวตามจะเล็กกว่าแผ่นดินไหวหลัก แต่เนื่องจากแผ่นดินไหวตามเกิดขึ้นตามมาเป็นชุดจำนวนมาก ทำให้ในกรณีของสิ่งปลูกสร้างที่เพิ่งได้รับผลกระทบมาจากแผ่นดินไหวหลัก และเปราะบางหรืออ่อนไหวต่อการถล่ม หากได้รับแรงสั่นกระเทือนอีกครั้ง อาคารเหล่านี้จึงเป็นจุดที่เสี่ยงและสร้างความลำบากความกังวลให้กับเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง ที่จะเข้าไปช่วยเหลือภายในอาคาร ดังนั้นไม่เฉพาะแผ่นดินไหวหลักเท่านั้น แต่แผ่นดินไหวตามก็ถือได้ว่าสร้างภัยพิบัติแผ่นดินไหวได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวหลักขนาดใหญ่

 ศูนย์กลางแผ่นดินไหวปี เดือน วันแผ่นดินไหวหลักแผ่นดินไหวตาม
1.นอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย2004/12/269.1 6.9
2.นอกชายฝั่งเกาะฮอนชู ญี่ปุ่น2011/03/119.07.1
3.ชิลี2010/02/278.87.1
4.รัฐอัสสัม ธิเบต1950/08/158.68.0
5.นอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย2005/03/288.66.7
6.นอกชายฝั่งชิลี2014/04/018.27.6
7.เนปาล2015/04/257.97.3
8.เฮติ2010/01/127.05.9
9.เมืองทาร์เลย์ พม่า2011/03/246.95.5
บางกรณีการเกิดแผ่นดินไหวหลักและแผ่นดินไหวตามที่มีขนาดถึือว่าอยู่ในระดับที่เป็นภัยพิบัติ

โดยธรรมชาติ พื้นที่การปริแตก และระยะการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน มักจะสัมพันธ์กับขนาดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวขนาดเล็กจะมีพื้นที่ปริแตกและเลื่อนตัวน้อย ในขณะที่แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ก็จะมีพื้นที่การปริแตกใหญ่ตามไปด้วยเป็นเหงาตามตัว ดังนั้นหากแผ่นดินไหวหลักมีขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวตามก็จะเกิดได้ในพื้นที่กว้าง โดยรอบจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวหลัก และเกิดได้เป็นเวลานานหลังจากแผ่นดินไหวหลักเกิดขึ้น แต่หากแผ่นดินไหวหลักมีขนาดเล็ก แผ่นดินไหวตามก็จะเกิดในช่วงระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้นและภายในพื้นที่จำกัด

ภาพจำลองอย่างง่ายแสดงความสัมพันธ์ระว่าง พื้นที่-ระยะเลื่อนตัว และ ขนาดแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวตามสามารถเกิดขึ้นได้ในระยะห่างจากแผ่นดินไหวหลักในระยะสิบ-ร้อย กิโลเมตร โดยเฉพาะในกรณีที่แผ่นดินไหวหลักมีขนาดใหญ่

เพิ่มเติม : โต๊ะจีนแผ่นดินไหว : Earthquake Chinese Banquet

ในมิติของเวลา แผ่นดินไหวตามเกิดได้นานหลักวันจนถึงหลักปี ขึ้นอยู่กับขนาดแผ่นดินไหวหลัก เช่น หลังจากเกิดแผ่นดินไหวหลักขนาด 9.0 ที่คาบสมุทรคัมชัตคา (Kamchatka) ภาคตะวันออกของประเทศรัสเซียในปี ค.ศ. 1952 เกิดแผ่นดินไหวตามมา เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3-4 ปี (Bath, 1979) โดยแผ่นดินไหวตามที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีขนาด 7.8 หรือต่างจากแผ่นดินไหวหลักประมาณ 1.2 (Richter, 1958) ซึ่งในช่วงแรกๆ แผ่นดินไหวตามเกิดมากกว่าหลัก 100 เหตุการณ์ ในแต่ละวัน และค่อยๆ ลดทอนลงทั้งในแง่ของจำนวนและขนาดของแผ่นดินไหวตาม ตามลำดับ

ตัวอย่าง แผนที่แสดงแผ่นดินไหวตาม หลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งสำคัญๆ (ซ้าย) ลำดับการเกิดกลุ่มแผ่นดินไหวช่วงมีนาคม ค.ศ. 2011 นอกชายฝั่งเมืองโทโฮกุ ญี่ปุ่น แผ่นดินไหวหลักมีขนาด 8.9 (ที่มา : www.colorado.edu) (ขวา) ชุดแผ่นดินไหวตามที่เริ่มเกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทางตะวันตกของประเทศเม็กซิโก โดยรวมทั้งสิ้นจำนวน 708 เหตุการณ์

กฎของบาตท์ vs แผ่นดินไหว

กฎของบาตท์ (Bath’s law) อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดแผ่นดินไหวหลักและขนาดสูงสุดของแผ่นดินไหวตาม หรือง่ายๆ ก็คือ แผ่นดินไหวตามจะเกิดได้ใหญ่ที่สุดเท่าไหร่เมื่อเทียบกับแผ่นดินไหวหลัก ซึ่งจากกกฎของบาตท์พบว่า โดยส่วนใหญ่แผ่นดินไหวตามที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถจะเกิดขึ้นได้มักจะมีขนาดเล็กกว่าแผ่นดินไหวหลักประมาณ 1.2

โดยจากการรวบรวมและศึกษางานวิจัยในอดีต พบว่าในแต่ละพื้นที่ทั่วโลกมีทั้งที่เป็นไปตามกฎและไม่เป็นไปตามกกฎของบาตท์ ตัวอย่างเช่นการศึกษาของของ Chan และ Wu (2013) ศึกษาลักษณะเฉพาะของขนาดสูงสุดของแผ่นดินไหวตามในประเทศไต้หวัน พบว่าเป็นไปตามกฎของบาตท์ แต่ในส่วนของการศึกษาของ Yadav และคณะ (2012) พบว่าไม่เป็นไปตามกฎของบาตท์ คือได้ความแตกต่างต่ำกว่าว่าโดยอยู่ที่ 0.7 และจากการศึกษาของ Hamdache และคณะ (2013) พบว่าในพื้นที่แต่ละพื้นที่ก็จะได้ค่าความแตกต่างของขนาดแผ่นดินไหวหลักกับขนาดสูงสุดของแผ่นดินไหวตามที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้สรุปได้ว่าค่าความแตกต่างระหว่างขนาดแผ่นดินไหวหลักกับขนาดสูงสุดของแผ่นดินไหวตาม จะขึ้นกับพื้นที่ในแต่ละพื้นที่

(ซ้าย) กฎของบาตท์ (ขวา) กฏปรับปรุงของโอโมริ

กฏปรับปรุงของโอโมริ

กฏปรับปรุงของโอโมริ (modified Omori’s law; Omori, 1894, Utsu, 1961) อธิบายว่าจำนวนหรือความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวตามจะลดลงตามสัดส่วนเวลาหลังจากเกิดแผ่นดินไหวหลัก หรืออีกนัยหนึ่ง กฏปรับปรุงของโอโมริ อธิบายถึงอัตราการสลายตัวของแผ่นดินไหวตามเมื่อเทียบกับเวลา หลังจากแผ่นดินไหวหลัก โดยการนำข้อมูลแผ่นดินไหวหลักในแต่ละพื้นที่มาหาความสัมพันธ์ ระหว่าง ค่า K, c และ p ซึ่งแต่ละในพื้นที่ก็จะมีค่าที่แตกต่างกันออกไป โดยค่า p ที่ได้บ่งบอกได้ว่าจะมีอัตราการสลายตัวเร็วหรือช้า หากค่า p มากบ่งบอกว่าการสลายตัวเกิดค่อนข้างเร็ว และเมื่อได้ค่า p, c และ K ก็จะสามารถนำไปหาเวลาที่คาดว่าแผ่นดินไหวตามจะไม่เกิดแล้วได้

จากการศึกษาของ Hamdache และคณะ (2013) ในปี 2013 ซึ่งทำการศึกษาลักษณะของกลุ่มแผ่นดินไหมตามของประเทศสเปน และบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศสเปน พบว่าค่า p ที่ได้ในแต่ละพื้นที่จะมีค่าที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็มีค่าไม่แตกต่างกันมาก

นอกจากนี้ Nuannin และคณะ (2012) ได้ศึกษาเหตุการณ์แผ่นดินไหวตามบริเวณนอกชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของสุมาตรา อันเนื่องมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวหลัก 2 เหตุการณ์ ได้แก่แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2004 และแผ่นดินไหวขนาด 8.6 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2005 พบว่า ค่า p ที่ได้จะอยู่ในช่วง 0.7-1.3 และค่า p สูงจะพบบริเวณที่ใกล้กับจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งตรงข้ามกับค่า b ที่พบในบริเวณนี้ จะมีค่าต่ำ จึงกล่าวได้ว่าใกล้บริเวณศูนย์จะมีอัตราการสลายตัวที่ค่อนข้างเร็ว

(ซ้าย) ผลการวิเคราะห์ค่า b และ (ขวา) ผลการวิเคราะห์ค่า p จากข้อมูลแผ่นดินไหวตาม ที่เคยเกิดขึ้นบริเวณเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Nuannin และคณะ, 2012)

ในส่วนของการศึกษาของ Bayrak และ Öztürk (2004) ทำการศึกษาเหตุการณ์แผ่นดินไหว 2 เหตุการณ์ ที่ประเทศตุรกีด้วยวิธีการวิเคราะห์ค่า p พบว่าค่า p ที่ได้อยู่ในช่วง 0.4-1.4 และค่า p สูงก็จะพบใกล้กับจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวเช่นเดียวกับการศึกษาของ Nuannin และคณะ (2012)

(ซ้าย) ผลการวิเคราะห์ค่า b และ (ขวา) ผลการวิเคราะห์ค่า p จากข้อมูลแผ่นดินไหวตาม ที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ประเทศตุรกี (Bayrak และ Öztürk, 2004))

โดยที่จากการศึกษาของ Hamdache และคณะ (2013) ยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างค่า b และ ค่า p ที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า มีความสัมพันธ์กันเชิงผกผัน จึงทำให้สรุปได้ว่า บริเวณที่มีค่า b ต่ำ ซึ่งจะมีแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่สูงและจะมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวตาม และเป็นบริเวณที่มีค่า p สูงซึ่งหมายถึงมีอัตราการสลายตัวค่อนข้างเร็วด้วย

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024