เรียนรู้

เมื่อหนังหน้าโลกเหลื่อมกัน

รอยเลื่อน – โดยธรรมชาติของการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก หากพิจารณาแผ่นเปลือกโลกใดๆ เมื่อมีการเคลื่อนที่ จะมี ปฏิสัมพันธ์กับแผ่นอื่นอยู่ 3 รูปแบบ คือ 1) เข้าชนแล้วก็มุดกัน ซึ่งจะเป็นขอบตามทิศทางการเคลื่อนที่ 2) แยกออกจากกัน ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ และ 3) เคลื่อนผ่านกัน ซึ่งอยู่ที่ด้านขนาบข้างการเคลื่อนที่ทั้ง 2 ด้าน

การเคลื่อนที่ผ่านกัน (transform movement) เป็นปฏิสัมพันธ์การเคลื่อนที่ผ่านกันของแผ่นเปลือกโลก ทีไม่มีทั้งการสร้างแผ่นเปลือกโลกใหม่ (การเคลื่อนที่แยกออกจากกัน) และการทำลายแผ่นเปลือกโลกเดิม (การเคลื่อนที่เข้าหากัน) และไม่มีความซับซ้อนด้านการเกิดหินมากนัก แต่การเคลื่อนที่แบบผ่านกันเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่สำคัญ เพราะสามารถสร้างแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ โดยกรณีศึกษาของการเคลื่อนที่แบบผ่านกันของแผ่นเปลือกโลก ได้แก่ รอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ทางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา

รอยเลื่อน ซานแอนเดรียส

รอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) เป็นรอยเลื่อนที่เกิดจากการเคลื่อนที่ผ่านกันของ แผ่นเปลือกโลกฮวนเดฟูกา (Juan de Fuca Plate) ด้านตะวันตก และแผ่นอเมริกาเหนือด้านตะวันออก โดยมีอัตราการเลื่อนตัวเฉลี่ย 3.5-5 เซนติเมตรต่อปี

รอยเลื่อนซานแอนเดรียส

การเคลื่อนที่เริ่มต้นจาก สันเขากลางมหาสมุทรทางตอนเหนือสร้างแผ่นเปลือกโลกฮวนเลยเดฟูกาใหม่ เพิ่มขึ้นเรื่อยเรื่อยและปักเข้าไปชนแผ่นอเมริกาเหนือในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเชียงใต้ ผลักให้พื้นที่ฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือเคลื่อนที่ไปในทางตะวันออกเชียงใต้

นอกจากนี้บริเวณริมชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกายังพบแนวแยกตัวกระจายอยู่เป็นระยะระยะและผลักให้แผ่นมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนที่ขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเมื่อพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผ่นมหาสมุทรแปซิฟิกและแผ่นอเมริกาเหนือ จึงออกมาอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่ผ่านกัน หรือเฉือนกันของแผ่นเปลือกโลกทั้งสองแผ่น โดยมีอัตราการเคลื่อนตัวเฉลี่ย 3.5-5 เซนติเมตรต่อปี ซึ่งรอยเลื่อนซานแอนเดรียสเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่จำนวนมากทั้งในอดีตและปัจจุบัน เช่น แผ่นดินไหวขนาด 7.9 ที่เมืองซานฟรานซิสโก ปี พ.ศ. 2449

(ซ้าย) ภูมิประเทศ (ข) แบบจำลองการเกิด รอยเลื่อนซานแอนเดรียส ทางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา

ผลจากการเคลื่อนที่ผ่านกันของทั้ง 2 แผ่น ทำให้เกิดภูมิลักษณ์ที่แสดงถึง การเคลื่อนตัวตามแนวระดับ (strike-slip) ของรอยเลื่อน ในทิศทางแบบขวาเข้า (right-lateral slip) เช่น ทางน้ำหักงอ (offset stream) ซึ่งทิศทางการเหลื่อมของลำน้ำสามารถบอกทิศทางการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนได้ เช่น ดังภาพซ้ายแสดงทางน้ำหักงอของรอยเลื่อน ซาน แอนเดรียส ที่มีการเลื่อนตัวจากแผ่นดินไหวขนาด 6.5 วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1979 รัฐแคร์ริฟรอเนียร์ สหรัฐอเมริกา

มุมมองต่างๆ ของทางน้ำหักงงอรอยเลื่อนซานแอนเดรียส ในสหรัฐอเมริกา (มองมุมไหนมันก็ยัง…หักงอ)

นอกจากนี้ การเลื่อนตัวแบบเหลื่อมข้างของรอยเลื่อนก็มักจะแสดงลักษณะภูมิประเทศที่แปลกๆ แบบที่เรียกว่า ไม่ตรงกับแนวที่ควรจะเป็น ทั้งภูเขาและแม่น้ำ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเป็นลักษณะภูมิประเทศหรือภูมิลักษณ์ที่บ่งชี้ว่ามีการเลื่อนตัวแบบเหลี่ยมข้างทั้งสิ้น

เพิ่มเติม : ภูมิประเทศบ่งชี้ “รอยเลื่อน”

ลักษณะภูมิประเทศที่มักพบในบริเวณที่รอยเลื่อนมีการเลื่อนตัวตามแนวราบ (1) ทางน้ำหัวขาด (2) ทางน้ำหักงอ (3) เนินเขาขวาง (4) ผาสามเหลี่ยม (ที่ต้องมีคู่กันกับเนินเขาขวาง)

การเหลื่อมกันกลางมหาสมุทร

นอกจากนี้ บริเวณโซนที่มีการแยกตัวออกจากกันของแผ่นเปลือกโลก ก็ยังแสดงการเหลื่อมกันเล็กๆ ของขอบแผ่นเปลือกโลก โดยบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร เนื่องจากปริมาตรของแมกมาในการแทรกดันที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ย่อยตามแนวสันเขากลางมหาสมุทร ทำให้อัตราการแยกตัวออกของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรนั้นแตกต่างกัน ซึ่งทำให้เกิดแรงเฉือนกันระหว่างโซนที่มีอัตราการเลื่อนตัวสูงและต่ำ และเกิดเป็น รอยเลื่อนเหลื่อมข้าง (strike-slip fault) ที่มีการเคลื่อนที่แบบผ่านกันตัดขวางแนวสันเขาเป็นช่วงๆ ดังแสดงในรูปด้านล่าง

(ซ้าย) แบบจำลอง (ขวา) ภาพถ่ายดาวเทียม รอยแตกบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร ที่เกิดจากการที่แมกมาแทรกดันขึ้นมาด้วยปริมาตรที่แตกต่างกัน ทำให้มีการสร้างแผ่นเปลือกโลกใหม่ในปริมาณที่ต่างกัน และมีการเคลื่อนที่ออกจากกันด้วยอัตราที่แตกต่างกัน
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงนเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก (Mid-Atlantic Ridge) และระบบรอยแตกที่ตั้งฉาก

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share: