เรียนรู้

เคล็ดลับการทำเบบี้เฟสหนังหน้าโลก

ถ้าลองเปรียบเทียบกันระหว่างพื้นผิวของโลกและดวงจันทร์ มันก็เหมือนการเอาหน้าลุงแก่ๆ คนหนึ่งมาเทียบกับหน้าของเด็กวัยขบเผาะอายุซัก 14-15 ผิวหน้าโลกดูราบเรียบชุ่มชื้นและดูมีน้ำมีนวล ในขณะที่หนังหน้าของดวงจันทร์ดูแห้งกร้าน หยาบกระด้าง เพราะเต็มไปด้วยหลุม หรือริ้วรอยการตกกระทบของอุกกาบาต ตลอดช่วงอายุของดวงจันทร์ที่เกิดขึ้นมา

โลก มองจากดวงจันทร์

จะว่าไปความเชื่อที่นักวิทยาศาสตร์เค้าเหลาๆ กันมา ก็บอกว่าโลกเกิดก่อนดวงจันทร์มาซักพัก ดังนั้นโลกก็ควรจะผ่านร้อนผ่านหนาวและควรจะมีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตที่มากกว่านี้ อย่างน้อยๆ ก็ควรจะยุบยับพอๆ หรือเท่าๆ กับที่เราเห็นบนดวงจันทร์ ทำไมถึงคิดอย่างนั้นนะเหรอ ก็เพราะดวงจันทร์ถือเป็น เทหวัตถุ (space object) ที่อยู่ใกล้กับโลกมากที่สุดแล้ว ซึ่งก็จะดูลำเอียงมากเกินไปหากอุกกาบาตส่วนใหญ่จะรุมจ้อง จองกฐินเฉพาะดวงจันทร์ จะว่าดวงจันทร์อยู่ใกล้ แถบดาวเคราะห์น้อย (asteroid belt) มากกว่าโลกก็ไม่น่าจะใช่ เพราะดวงจันทร์นั้นโคจร พันแข้งพันขา โลกของเรามาตั้งแต่เกิด ดังนั้นก็พอจะถัวๆ ได้ว่า ดวงจันทร์โดนยังไง โลกก็ควรจะโดนยังงั้น ซึ่งความจริงดูเหมือนจะไม่ใช่

หลายคนอาจจะบอกว่า ก็เพราะว่าโลกมีบรรยากาศห่อหุ้มอยู่ตั้งหลายชั้น กว่าที่อุกกาบาตซักเม็ดจะร่วงลงมาถึงพื้นก็ถูกแรงเสียดทานเผาไหม้ไปกลางอากาศหมดแล้ว ที่เราเห็นหลุมอุกกาบาตอยู่บนโลก ก็เป็นแค่บางส่วนน้อยๆ ของอุกกาบาตที่คงจะใหญ่น่าดู จึงยังหลงเหลือตกกระทบมายังพื้นโลกได้ ซึ่งมันก็คงจะจริงบางส่วน แต่มุมมองของผม บรรยากาศก็ไม่น่าจะมีประสิทธิภาพขนาดนั้น และก็คงเป็นแค่สาเหตุหนึ่งที่ทำให้หนังหน้าโลกยังใสกิ๊งได้

ลำดับชั้นบรรยากาศโลก

หรือบางคนก็อาจจะบอกว่าก็เพราะว่าโลกมี กระบวนการผุพังและกัดกร่อน (weathering and erosion) ทำให้พื้นผิวของโลกมีการเกลี่ยให้ราบเรียบ ซึ่งผมว่ามันก็มีส่วนถูก แต่ผมก็ยังนึกภาพตามไม่ออกว่าจะมีครีมยี่ห้อไหน ที่ดีถึงขนาดสมานให้รอยแผลเป็นบนหน้าเราเรียบเนียนเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น มันก็ต้องหลงเหลือซากบ้างแหละน่า ว่าไหม

ซึ่งถ้าเหตุผลทั้งสองข้างต้นนี้ดูจะเป็นแค่การมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ไม่ได้เป็นเหตุผลหลักอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ถามว่า แล้วโลกมีดีอะไร ทำไมหนังหน้าโลกถึงอยู่ยงคงกระพัน สดใสได้จนถึงทุกวันนี้

จากการศึกษาในปัจจุบัน ทำให้นักธรณีวิทยารู้ว่าเปลือกโลกแตกออกเป็นแผ่นๆ และมีการเคลื่อนที่กระทบกระทั่งกันได้ และเมื่อพิจารณาแผ่นเปลือกโลกใดๆ ในขณะที่ขอบด้านหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกถูกผลักให้ เคลื่อนที่ออกจากกัน (divergent movement) และสร้างแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรใหม่แทนที่ ขอบอีกด้านหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกก็จะเคลื่อนที่เข้าหาแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ด้านตรงกันข้าม ทำให้เกิดรูปแบบ การเคลื่อนที่เข้าหากัน (convergent movement) ซึ่งเพื่อเป็นการรักษาปริมาณพื้นที่พื้นผิวโลกให้คงเดิม ในกระบวนการเคลื่อนที่เข้าหากันโดยส่วนใหญ่จึงจะต้องมีแผ่นใดแผ่นหนึ่งมุดตัวลงไปใต้อีกแผ่นเปลือกโลกหนึ่งเสมอ เรียกโซนการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกว่า เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) โดยธรณีวิทยาจำแนกชนิดการเคลื่อนที่เข้าหากันเป็น 3 กรณี ตามชนิดของแผ่นเปลือกโลก

แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนทวีป

ในกรณีของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป (oceanic-continent collision) เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรบางกว่าและมีความหนาแน่นมากกว่าแผ่นเปลือกโลกทวีป ทำให้ในกระบวนการชนกัน แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรจะมุดตัวลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกทวีปเสมอ

แบบจำลองการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรและแผ่นเปลือกโลกทวีป ทวีปอเมริกาใต้

หากไม่มีการมุดตัว พื้นผิวโลกจะโป่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรที่ถูกสร้างขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลาในโซนการแยกตัวของแผ่นเปลือกโลก

ลักษณะทางธรณีวิทยาที่สำคัญที่พบได้ในบริเวณนี้ ได้แก่ ร่องลึกก้นสมุทร (trench) และแนวภูเขาไฟรูปโค้งบนทวีป (continental arc) ซึ่งจะขนานไปกับเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก กรณีศึกษาของการเคลื่อนที่เข้าหากันแบบนี้ ได้แก่ การเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรนัซกาและแผ่นเปลือกโลกทวีปอเมริกาใต้ ผลจากการชนกันทำให้แผ่นนัซกามุดตัวลงไปใต้แผ่นอเมริกาใต้ เกิดเป็น ร่องลึกก้นสมุทรเปรู-ประเทศชิลี (Peru-Chile Trench) และเกิด แนวภูเขาไฟรูปโค้งเป็นเทือกเขาแอนดีส

นอกจากนี้ ผลจากการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลกทั่วโลก ทำให้เกิดร่องลึกก้นสมุทรมากมาย ได้แก่ ร่องลึกก้นสมุทรตองกา ร่องลึกก้นสมุทรเอลูเทียน ร่องลึกก้นสมุทรแคสเคเดีย ร่องลึกก้นสมุทรอเมริกากลาง ร่องลึกก้นสมุทรเปรู-ชิลี ร่องลึกก้นสมุทรเปอร์โตริโก และร่องลึกก้นสมุทรชวา เป็นต้น  

ร่องลึกก้นสมุทร

แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนมหาสมุทร

กลไกการชนกันของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนกัน คล้ายกับการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป คือจะมีแผ่นหนึ่งที่มุดตัวลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่ง แต่แนวภูเขาไฟที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นกลางทะเล เรียก หมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc) ซึ่งตัวอย่างที่แสดงสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบนี้ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น และหมู่เกาะเอลูเทียน (Aleutian Islands) ในรัฐอลาสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันพบว่ายังมีกิจกรรมทางภูเขาไฟและแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แบบจำลองการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรและแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร ตัวอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น หมู่เกาะเอลูเทียน
สภาพแวดล้อมที่เกิดจากการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรและแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร

แผ่นเปลือกโลกทวีปชนทวีป

เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกทวีปมีความหนามากว่าแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร ดังนั้นกรณีของแผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป จึงทำให้เกิดการบีบอัดกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้แผ่นเปลือกโลกในแนวการชนกันนั้นมีความหนามากขึ้น เกิดเป็นเทือกเขาสูงตามแนวการชนกัน เรียกว่า ตะเข็บธรณี (suture) กรณีศึกษาของแผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป ได้แก่ การชนกันของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกแผ่นอินเดีย-ออสเตรเลียและชนกับทวีปเอเชียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย

แบบจำลองการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลกทวีป 2 แผ่น ชนกัน

โดยอินเดียเริ่มเคลื่อนที่จากใต้ขึ้นเหนือเมื่อประมาณ 71ล้านปี ที่ผ่านมา และเริ่มชนกับแผ่นยูเรเซียโดยในช่วงแรกเป็นการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรที่เชื่อมต่อกับส่วนที่เป็นแผ่นเปลือกโลกทวีปของอินเดีย ทำให้ในช่วงแรกเมื่อประมาณ 10-38 ล้านปี ที่ผ่านมาเป็นการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกทวีปยูเรเซีย ทำให้เกิดแนวภูเขาไฟรูปโค้ง และสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานอื่นๆ เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป หลังจากนั้นเมื่อแผ่นอินเดียซึ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกทวีปเริ่มชนกับแผ่นเปลือกโลกทวีปของยูเรเซีย ผลจากการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกทวีปและแผ่นเปลือกโลกทวีปทำให้เกิดการยกตัวขึ้นอย่างรุนแรงในบริเวณการชนกัน เกิดเป็น ที่ราบสูงทิเบต (Tibetan Plateau) และเทือกเขาหิมาลัยในปัจจุบัน

ผลจากการชนกันของแผ่นทวีป 2 แผ่น ทำให้เกิดที่ราบสูงทิเบต

กล่าวโดยสรุป การที่เราเห็นว่าหนังหน้าโลกปัจจุบันยังคงใสกิ๊ง ต่างจากพื้นผิวดวงจันทร์ที่หยาบกระด้าง ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจาก 1) การถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศของอุกกาบาต และ 2) กระบวนการผุพังและกัดกร่อนจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำ ลมหรือแม้กระทั่งธารน้ำแข็ง ทั้ง 2 สาเหตุนี้เป็นตัวช่วยให้พื้นผิวโลกปรับสภาพได้บ้างพอประมาณ แต่สาเหตุหลักที่ทำให้โลกสามารถรีบอร์นหนังหน้า ให้ดูเหมือนกับว่ากลับไป 14 อีกครั้ง ก็น่าจะเป็นการดึงหนังหน้าเก่าลงไปหลอมใหม่ในเนื้อโลก ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลก็เกิดจากการที่โลกมี กระบวนการธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ซึ่งดวงจันทร์นั้นไม่มี

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024