เรียนรู้

Learn

เรียนรู้

หินก้อนใหญ่ ผุพังได้ยังไง ไปดูกัน

ในทางธรณีวิททยา การผุพัง (weathering) หมายถึง กระบวนการบนพื้นผิวโลกที่ทำให้หินย่อยสลายเป็นชิ้นขนาดเล็กลงโดยที่ไม่มีการเคลื่อนที่ของหินไปที่อื่น ซึ่งศักยภาพหรืออัตราการผุพังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย 1) เสถียรภาพของแร่ประกอบหิน หินในแต่ละชนิดประกอบด้วยแร่ที่แตกต่างกัน ซึ่งจากหลักการของ ชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series) แร่ที่เกิดในช่วงอุณหภูมิสูง เช่น แร่โอลิวีน จะมีความเสถียรต่ำและผุพังได้ง่ายกว่าแร่ที่เกิดขึ้นในช่วงอุณหภูมิต่ำ ซึ่งใกล้เคียงกับสภาวะปกติของโลก เช่น ...
เรียนรู้

มหายุคพาลีโอโซอิก – เมื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มรุกขึ้นบก

มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic era) ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 545-245 ล้านปี คิดเป็นประมาณ 7% ของประวัติศาสตร์โลก สิ่งมีชีวิตในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้นโดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยจำกัดอยู่เฉพาะในทะเล เช่น ปะการัง ไครนอยด์ ไทรโลไบต์ ส่วนมหายุคพาลีโอโซอิกตอนกลาง สิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก แมลงและพืชเคลื่อนที่สู่แผ่นดิน เกิดพืช เช่น เฟิร์นและต้นไม้ที่ไม่มีเมล็ด ...
เรียนรู้

รอยแยกและรอยเลื่อนของหิน

รอยแยก รอยแยก (fracture) หมายถึง โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่มีแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานเข้ามากระทำกับวัสดุหรือหินที่มีคุณสมบัติแบบแข็งเปราะ ทำให้เกิดการปริแตกของหินโดยไม่มีการเคลื่อนที่ของหินระหว่างรอยแตก บางครั้งหินเกิดเป็นรอยแยกขนาดเล็ก หรือ รอยแตก (joint) ซึ่งเกิดการแตกอย่างเป็นระบบ เรียกว่า ระบบรอยแตก (joint set) โดยรอยแตกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากแรงบีบอัดที่ไม่เท่ากันในด้านต่างๆ ของหิน ทำให้หินเกิดรอยแตกในระนาบที่ตั้งฉากกับแนวแรงที่กระทำสูงที่สุด ...
เรียนรู้

มหายุคมีโซโซอิก – ยุคทองของ ไดโนเสาร์

มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic era) เป็นมหายุคตอนกลาง 252-66 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดจากการสูญพันธุ์ในช่วง ยุคเพอร์เมียน (ยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก) เริ่มมีวิวัฒนาการและมีความหลากหลายของสายพันธุ์มากขึ้น พืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) เช่น ปรง (cycad) สน (conifer) และแปะก๊วย (ginkgoe) เป็นพืชโดดเด่นของมหายุคมีโซโซอิก ...
เรียนรู้

มหายุคพรีแคมเบียน – มหายุคแห่งการจัดแจงโลกและสิ่งมีชีวิต

ในทางธรณีประวัติ มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Era) เป็นมหายุคเริ่มแรกสุดของโลก ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่โลกเกิดขึ้น (4,600 ล้านปี) จนถึง 545 ล้านปี ซึ่งทั้งเทียบอายุของโลกนับตั้งแต่เกิดขึ้นมา ช่วงเวลาของมหายุคพรีแคมเบรียนคิดเป็น 87% ของอายุทั้งหมดของโลก ซึ่งเนื่องจากเป็นยุคแรกเริ่มของโลก กระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกจึงง่วนไปกับการจัดระบบระเบียบของวัสดุหรือแร่ภายในเนื้อโลกและการปรับแต่งพื้นโลกเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มหายุคพรีแคมเบียนจึงเป็นยุคที่ไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตโดดเด่น ซึ่งตลอดช่วงเวลาของมหายุคนี้มีลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นบนโลกอยู่พอสมควร โดยนักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งมหายุคพรีแคมเบียนออกเป็น ...
เรียนรู้

5 แนวทางสืบพยาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถูกยกขึ้นมาพูดถึงและมีการถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน นักวิจัยหรือนักวิชาการสายรักษ์โลกก็พยายามตีความไปในทางที่ว่าปัจจุบันโลกกำลังร้อนขึ้น และสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นอย่างนี้ก็คือกิจกรรมของมนุษย์อย่างพวกเรา แต่ก็มีนักวิชาการบางส่วนที่พยายามตีแผ่ข้อมูลว่าจากคาบหรือวงรอบของการขึ้นๆ ลงๆ ของอุณหภูมิหรือสภาพอากาศ ในปัจจุบันนี้กำลังถึงจุดสูงสุด และกำลังเข้าสู่ภาวะที่จะกดหัวไปในทางที่โลกเย็นลง และภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) หมายถึง การเบี่ยงเบนของสภาพอากาศไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายปี เช่น 1) จากการสังเกตวัฒนธรรมในอดีตที่ผ่านมา ชาวไวกิ้ง พ.ศ. ...
เรียนรู้

“ความเหมือนกันในตัวของตัวเอง” กับการศึกษารูปแบบการเกิดแผ่นดินไหว (ฮั่นแน่ งง ? ลองอ่านดู…งงยิ่งกว่าเดิม)

แฟร็กทัล (Fractal) เป็นคำนิยามในเชิงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิตที่มีคุณสมบัติ เหมือนกันในตัวเอง (self-similar) คือ ดูเหมือนกันหมดไม่ว่าจะดูที่ระดับความละเอียด (scale) ใดก็ตาม โดยจากการสังเกตและศึกษางานวิจัยในอดีต นักวิทยาศาสตร์พบความเป็นแฟร็กทัลมากที่สุดกับวัตถุต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เช่น ก้อนเมฆ เกร็ดหิมะ ใบไม้ ชายฝั่งทะเล เป็นต้น ...
เรียนรู้

เพราะแมกมาแตกต่าง นิสัยและรูปร่างภูเขาไฟจึงไม่เหมือนกัน

แมกมา (magma) เป็นปัจจัยตั้งต้นสำคัญที่ควบคุมลักษณะเฉพาะทั้งหมดที่สัมพันธ์กับภูเขาไฟ ทั้งรูปร่างของภูเขาไฟ สไตล์การปะทุ วัสดุที่เกิดจากภูเขาไฟ ตลอดจนรูปแบบของภัยพิบัติภูเขาไฟที่มีโอกาสเกิดขึ้น ซึ่งในเชิงองค์ประกอบ แมกมาประกอบด้วย 1) หินหนืด (molten rock) จากการหลอมละลายของหินใต้พื้นผิวโลก 2) ไอระเหย (volatile) ของน้ำและก๊าซ รวมทั้ง 3) ...
เรียนรู้

ฉันจะเป็น “รอยเลื่อน” หรือ “รอยเลื่อนมีพลัง” มันก็ขึ้นอยู่กับความกลัวของพวกมนุษย์

ปกติเวลาพูดถึงแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว พวกเรามักจะได้ยินคำว่ารอยเลื่อนบ้าง หรือไม่ก็รอยเลื่อนมีพลังบ้าง ซึ่งดูผิวเผินก็เหมือนจะเหมือนกันแต่เอาเข้าจริงๆ ก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน คำว่า รอยเลื่อน (fault) จริงๆ แล้วมีศักดิ์เป็นแค่ 1 ใน 3 รูปแบบหลักๆ ของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ซึ่งหมายถึงแนวรอยแตกของหินที่มีการเลื่อนหรือขยับตัวมาแล้วในอดีต และส่วนใหญ่ก็นิยมใช้ไปในทางอธิบายความเหลื่อมหรือไม่ลงรอยกันของหินที่พบในแต่ละพื้นที่ จนบางครั้งนักธรณีวิทยาก็ใช่คำว่า รอยเลื่อนทางธรณีวิทยา (geological ...
เรียนรู้

ระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวแบบฉุกเฉิน

ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์อาจจะรู้จักแผ่นดินไหวอยู่บ้าง อย่างที่บอกว่าเห็นแนวโน้ม รู้จักนิสัยหรือแม้กระทั่งเกือบจะทำนายแผ่นดินไหวได้ แต่สุดท้ายการรู้จักรู้ใจหรือการทำนายที่ว่า ก็ดูเหมือนจะพึ่งพาอาศัยได้ไม่ตลอดรอดฝั่ง เพราะก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งที่คาดการณ์กันผิดพลาดแล้วสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล แถมทุกวันนี้ก็ยังไม่มีนักแผ่นดินไหวคนไหนกล้าลงขันพนันว่า “วิธีของฉัน นั้นแม่นยำ 100%” ยิ่งทำให้ความมั่นใจของพวกเรากับการคาดการณ์แผ่นดินไหวไม่ได้ดีหรืออุ่นใจขึ้น ก็เพราะสภาพการณ์มันเป็นประมาณนี้ ผู้นำในแต่ละประเทศจึงลงความเห็นไปในทิศทางที่ว่าเราไม่ควรเสี่ยง เอาชีวิตของประชาชนในชาติไปเป็นหนูทดลองหรือแขวนไว้กับการคาดการณ์แบบลุ่มๆ ดอนๆ ของนักแผ่นดินไหว ดังนั้นในอีกแนวทางที่ขนานไปกับการศึกษาวิจัยพฤติกรรมแผ่นดินไหว กลไกของระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวก็กำลังถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ระบบเตือนภัยฉุกเฉินแผ่นดินไหว ...
เรียนรู้

เชื่อกันไปได้ยังไง ว่าเอกภพและโลกเกิดจากกลุ่มหมอกควัน

ถ้าจะว่ากันตามนิยาม เอกภพ (universe) จะหมายถึง ทุกๆ อย่างที่มีอยู่ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น 1) สสาร (หรือเทหวัตถุ) 2) พลังงาน รวมทั้ง 3) พื้นที่ว่าง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันขอบเขตที่แน่ชัดของเอกภพ นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งสมมุติฐานว่าเอกภพนั้นไม่มีขอบเขต โดยเอกภพจะประกอบไปด้วยระบบย่อยที่เรียกว่า กาแล็กซี (galaxy) ...
เรียนรู้

6 ลีลาการ ถ่ม-ถุย-ผุย-พ่น ของภูเขาไฟ

ว่าด้วยเรื่องการแทรกดันหรือผุดขึ้นมาของแมกมากลายเป็นลาวาบนพื้นผิวโลก กองเป็นภูเขาไฟนั้น รูปแบบของการปะทุแบ่งคร่าวๆ ตามความรุนแรงได้ 2 แบบคือ 1) การเอ่อล้น (effusive) เหมือนกับการผุดการผุยเอ่อขึ้นมาบนปากปล่องแมกมา และ 2) การระเบิด (explosive) เหมือนกับการพ่นพรุ่งขึ้นสู่อากาศ ซึ่งทั้ง 2 แบบคร่าวๆ นี้ แตกต่างกันในแง่ของแรงดันแมกมาที่อัดฉีดขึ้นมา ...
เรียนรู้

6 วรรณะของ “เทหวัตถุ” ในเอกภพ

โดยนิยาม เทหวัตถุ (space object) หมายถึง สสารรูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ ซึ่งตั้งแต่เล็กจนโต พวกเรามีโอกาสได้รู้จักเทหวัตถุต่างๆ มากมาย ช่วงประถมครูก็เคยสอนเรื่องดาวฤกษ์ดาวเคราะห์ พอขึ้นมัธยม คำว่าดาวเคราะห์น้อย ดาวตก ดาวบริวาร ฯลฯ ก็เริ่มเข้ามาให้คุ้นหู ซึ่งพอเรียนมาได้สักพักสิ่งที่พวกเราสรุปได้ก็คือ เทหวัตถุเหล่านั้นมีชื่อให้ต้องจำหลากหลาย ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันสำคัญหรือมีลำดับขั้นยังไง ...
เรียนรู้

ความพิเศษของ “สึนามิ” ที่คลื่นน้ำอื่นๆ ไม่มี

ถ้าจะให้ไล่เรียงลีลาของโลกที่สามารถหอบมวลน้ำในทะเลซัดขึ้นมาบนฝั่งแบบสูงท่วมหัวหรือเป็นภัยพิบัติกับเราได้ จริงๆ แล้วมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น 1) คลื่นเซซแผ่นดินไหว (seismic seiches) 2) คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge) รวมทั้ง 3) สึนามิ (tsunami) ซึ่งคลื่นน้ำแต่ละแบบก็มีสาเหตุและพฤติกรรมเฉพาะตัวที่ส่งผลกระทบกับเราแตกต่างกัน คำว่า สึนามิ (tsunami) ...
เรียนรู้

ใต้เปลือกโลกไม่ใช่แมกมา และภูเขาไฟก็ไม่ได้เกิดไปเรื่อยเปื่อย

ภูเขาไฟ (volcano) คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่โลกพยายามคลายความร้อนภายในโลกออกสู่ภายนอกในรูปแบบการปะทุของ หินหนืด (molten rock) ซึ่งตั้งแต่โลกเกิดขึ้นมา มีหินหนืดไหลขึ้นมาบนพื้นโลกผ่านกระบวนการปะทุของภูเขาไฟอย่างนับไม่ถ้วน โดยในบรรดาภูเขาไฟที่ยังมีให้เห็นอยู่บนโลก หลายลูกก็ดับสนิทไปแล้ว ในขณะที่บางลูกก็ฮึ่มๆ พร้อมปะทุได้ทุกเวลา ซึ่งในทางธรณีวิทยา นิสัยคร่าวๆ ที่นักธรณีวิทยาใช้แยกความดุหรือความมีภัยพิบัติของภูเขาไฟคือ ความถี่ของการปะทุและเวลาการปะทุครั้งล่าสุดของภูเขาไฟลูกนั้นๆ ซึ่งแบ่งภูเขาไฟที่มีอยู่บนโลกออกเป็น 3 ระดับ ...
เรียนรู้

ยังคงมีความงดงาม แม้ในยามแผ่นดินไหว

“ในดีมีเสีย ในเสียมีดี” ผมคิดว่าประโยคสั้นๆ ประโยคนี้ น่าจะสาสมแก่ใจดีกับการพิพากษา “แผ่นดินไหว” เพราะตลอดระยะเวลาที่เฝ้าขุดคุ้ยค้นหาข้อมูลความเหี้ยม ทั้งจากหนังสือบ้าง อินเตอร์เน็ตบ้าง หลายครั้งก็ยังพบ “ความงาม” ที่แทรกอยู่ในบางบรรทัดของเรื่องเล่าแผ่นดินไหวเสมอ อย่ากระนั้นเลย นอกจากบทความอื่นๆ ที่ผมพยายามตีแผ่ความโหดร้ายและนิสัยของแผ่นดินไหวในเชิงวิทยาศาสตร์ บทความนี้ผมจึงอยากจะเปลี่ยนบรรยากาศมาเล่าเรื่องราวเบาๆ ดีๆ ที่พอจะมีแอบซ่อนอยู่บ้าง ในยามแผ่นดินไหว กุหลาบแผ่นดินไหว ...
เรียนรู้

ก่อนจะเดทกับแผ่นดินไหว ควรแต่งเนื้อแต่งตัวยังไงดี

ว่ากันจริงๆ ก็เกือบจะทุกพื้นที่บนโลกที่มีโอกาสได้ออกเดทกับแผ่นดินไหว ซึ่งจากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ก็ทำให้เรารู้ว่าแผ่นดินไหวไม่ใช่ว่านึกอยากจะมาก็จะมา เพราะแผ่นดินไหวส่วนใหญ่มักจะมาตามนัด อย่างที่เราเรียกกันว่า คาบอุบัติซ้ำ (return period) ซึ่งพวกเราก็พอจะคาดจะเดากันได้ แต่ก็อีกนั่นแหละ เทคโนโลยีหรือวิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็ยังไม่ได้เทพถึงขั้นบอกได้ว่าแผ่นดินไหวจะมาวันพรุ่งนี้ช่วงบ่ายๆ ดังนั้นการแต่งเนื้อแต่งตัวเพื่อรอรับนัดแผ่นดินไหวจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ ทั้งนี้ก็เพื่อลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวให้ได้มากที่สุด เมื่อถึงวันนั้น วางแผนและทำข้อตกลงร่วมกัน ในระหว่างที่แผ่นดินไหวเค้ายังเดินทางมาไม่ถึง สิ่งที่พวกเราควรทำเป็นอันดับแรกคือควรมีการพูดคุย ซักซ้อมและจ่ายงานกัน ทั้งในครอบครัว โรงเรียน ...
เรียนรู้

ภัยพิบัติจากภูเขาไฟ ซึ่งไม่ได้มีแค่ลาวา

การปะทุของภูเขาไฟถือเป็นอีกหนึ่งภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สามารถสร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สินและชีวิตให้กับมนุษย์ ซึ่งจากสถิติที่มีการบันทึกไว้พบว่าในช่วง 500 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เสียชีวิตจากภัยพิบัติภูเขาไฟมากกว่า 275,000 คน  เช่น ปี พ.ศ. 2426 ภูเขาไฟกรากะตัวทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เกิดปะทุขึ้นและมีผู้เสียชีวิต 36,000 คน หรือในปี พ.ศ. 2358 มีผู้เสียชีวิตมากถึง ...
เรียนรู้

รู้จัก “ความรุนแรงแผ่นดินไหว” ซึ่งไม่ใช่แรงสั่นสะเทือน

สมัยเด็กๆ พวกเราคงเคยได้ฟังนิทานเรื่องลูกหมูสามตัว ซึ่งนอกจากคติสอนใจเรื่องความวิริยะอุตสาหะในการสร้างบ้านของลูกหมูแต่ละตัว อีกหนึ่งข้อควรคิดที่นิทานเรื่องนี้ได้แอบซ่อนเอาไว้คือประสิทธิภาพหรือความสามารถของสิ่งปลูกสร้างในการต้านทานแรงจากภายนอกที่เข้ามากระทบ ในขณะที่หมาป่าพยายามเป่าลมเพื่อพังบ้านด้วยแรงเท่าๆ เดิม บ้านของลูกหมูแต่ละหลังกลับต้านทานแรงลมได้ดีไม่เท่ากัน บ้านของพี่ใหญ่ถูกลมเป่าครั้งเดียวก็จอด ในขณะที่บ้านของน้องเล็กถึงจะถูกต้องกี่ครั้งก็ยังรอด ผลลัพธ์ของการจอดหรือรอดในเรื่องนี้สามารถแสดงออกได้ในรูปแบบของ มาตราความรุนแรง (intensity scale) ปกติมาตราความรุนแรงสามารถใช้กับภัยพิบัติอื่นๆ ก็ได้เช่น ระดับความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนแบ่งย่อยเป็น 5 ระดับ ตาม มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน ...
เรียนรู้

ผลกระทบต่อฐานข้อมูลแผ่นดินไหว จากการเปลี่ยนรูปแบบและระบบตรวจวัด

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกว่า บันทึกแผ่นดินไหว (earthqauke record) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บันทึกที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัด (instrumental record) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฐานข้อมูลแผ่นดินไหว (earthquake catalogue) นั้นมีประโยชน์มหาศาลในการนำไปศึกษาพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวหรือประเมินพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะฐานข้อมูลแผ่นดินไหวนั้นเก็บรายละเอียดแทบทุกอย่าง ทั้งตำแหน่ง เวลาและขนาดแผ่นดินไหว ออกมาทั้งหมดเป็นตัวเลขแน่นอน อย่างไรก็ตามจากการนำสารข้อมูลแผ่นดินไหวดังกล่าวไปใช้ หลายต่อหลายครั้ง นักแผ่นดินไหววิทยา ...