เรียนรู้

กฏ 8 ข้อ การลำดับเรื่องราวทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นบนโลก

เนื่องจากมีเหตุการณ์ทางธรณีวิทยามากมายที่เกิดขึ้นตลอดช่วงอายุของโลก 4,600 ล้านปี จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถกำหนดอายุของทุกเหตุการณ์เป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ทั้งหมด ดังนั้น การกำหนดอายุสัมพัทธ์ (relative-age dating) หรือ การลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง จึงเป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการและลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก ซึ่งเเพื่อที่จะจัดลำดับการเกิดก่อน-หลัง ของเหตุการณ์ต่างๆ ของโลก นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอแนวคิด การลำดับชั้นหิน (stratigraphy) เพื่อใช้เป็นหลักการเรียงลำดับเหตุการณ์ไว้อย่างน้อย 8 หลักการ ดังนี้

1) กฏความเป็นเอกภาพ

กฏความเป็นเอกภาพ (law of uniformitarianism) นำเสนอโดย เจมส์ ฮัตตัน (Hutton J.) โดยให้หลักคิดว่า ปัจจุบัน เป็นกุญแจสำคัญไปสู่ อดีต (the present is the key to the past) ซึ่งหมายถึงเราสามารถอธิบายการเกิดสิ่งต่างๆ ในอดีต ได้เช่นเดียวกับเหตุการณ์หรือกระบวนการต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันได้

(ซ้าย) เจมส์ ฮัตตัน (ขวา) นิโคลัส สเตโน

2) กฏการลำดับชั้นหิน

กฏการลำดับชั้นหิน (law of superposition) นำเสนอโดย นิโคลัส สเตโน (Steno N.) โดยอธิบายว่าชั้นหินตะกอนใดๆ ที่ไม่ถูกรบกวนจากกระบวนการต่างๆ ที่เกิดภายหลังนั้น ชั้นหินที่วางตัวอยู่บนจะมีอายุอ่อนกว่า และชั้นหินที่วางตัวอยู่ล่างจะมีอายุแก่กว่า (ระยะที่ 1-2 ในรูปวิวัฒนาการการลำดับชั้นหิน)

ตัวอย่างวิวัฒนาการการลำดับชั้นหิน

3) กฏการวางตัวตามแนวนอน

กฏการวางตัวตามแนวนอน (law of original horizontality) อธิบายว่าตะกอนจะสะสมตัวในแนวระนาบ ซึ่งหากมีการเอียงเทหรือคดโค้งของชั้นหินแสดงว่าชั้นหินนั้นถูกรบกวนจากกระบวนการอื่นๆ ในภายหลังการสะสมตัว (ระยะที่ 2-3 ในรูปวิวัฒนาการการลำดับชั้นหิน)

(ซ้าย) ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (ขวา) ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (ที่มา : www.usgs.gov; www.lumenlearning.com)

4) กฏของลักษณะปรากฏ

กฏของลักษณะปรากฏ (law of lateral continuity) นำเสนอโดย โจฮานเนส วอลเตอร์ (Walther J.) อธิบายว่าตะกอนสามารถสะสมตัวเป็นชั้นอย่างต่อเนื่องไปตลอดแอ่งสะสมตัว และอาจถูกเทียบเคียงสัมพันธ์กันได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ห่างกันก็ตาม

การลำดับชั้นหินตะกอนในแกรนด์ แคนยอน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งแต่ละยอดเขาสามารถเทียบเคียงการลำดับชั้นกินกันได้

5) กฏความสัมพันธ์กันของการตัดขวาง

กฏความสัมพันธ์กันของการตัดขวาง (law of cross-cutting relationship) โดยมีหลักการว่ารอยเลื่อนหรือหินอัคนีที่ตัดผ่านชั้นหิน จะมีอายุน้อยกว่าหินที่รอยเลื่อนตัดผ่านหรือหินที่ถูกหินอัคนีแทรกตัวเข้าไป (ระยะที่ 2-3 ในรูปวิวัฒนาการการลำดับชั้นหิน)

ตัวอย่างการตัดผ่านกันของเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา (ซ้าย) บนพื้นผิวของ ยูโรปา (Europa) ซึ่งเป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี (ขวา) ลำดับการชนของอุกกาบาตบนดวงจันทร์ (ที่มา : http://esplaobs.blogspot.com; www.jpl.nasa.gov)

6) กฏของสิ่งปะปนกันเข้าไป

กฏของสิ่งปะปนกันเข้าไป (law of inclusion) โดยอธิบายว่าเศษหินที่อยู่ภายในมวลหินจะมีอายุแก่กว่ามวลหินที่อมหรือครอบคลุมเศษหินนั้น เช่นกรณีของหินอัคนีโดยส่วนใหญ่มีเศษหินจากบริเวณข้างเคียงที่แมกมาเคลื่อนที่ผ่าน หลุดเข้าไปอยู่ในแมกมาด้วย บ่งชี้ว่าเศษหินเหล่านั้นมีอายุแก่กว่าหินอัคนี

(ก) แบบจำลองการเกิดหินแปลกปลอม (xenolith) (ข) เศษหินแปลกปลอมสีเข้มปนมากับผนังแทรกชั้นของแมกมาสีจาง (ที่มา : Miller M.)

7) กฏความไม่ต่อเนื่องของการลำดับชั้น

กฏความไม่ต่อเนื่องของการลำดับชั้นหิน (law of unconformity) หมายถึง การขาดหายไปของลำดับชั้นหิน เนื่องจากบางช่วงเวลา บางพื้นที่อาจถูกกัดกร่อนและกลับมาสะสมตัวอีกครั้ง (ระยะที่ 4-6 ในรูปวิวัฒนาการการลำดับชั้นหิน) โดยรอยต่อระหว่างหิน 2 ช่วงเวลา เรียกว่า รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง (unconformity) และระยะเวลาที่หินขาดหายไป เรียกว่า เวลาความไม่ต่อเนื่อง (hiatus) ซึ่งอาจอยู่ในช่วงหลายพัน-หลายล้านปี โดยนักวิทยาศาสตร์จำแนกรอยชั้นไม่ต่อเนื่องออกเป็น 4 รูปแบบ คือ

การ์ตูนอย่างง่ายแสดงลักษณะรอยชั้นไม่ต่อเนื่องชนิดต่างๆ

 รอยชั้นไม่ต่อเนื่องคงระดับ (disconformity) เกิดจากหินที่มีอายุแก่สะสมตัวและยกตัวขึ้น แต่ไม่เกิดการโค้งงอ เมื่อหินอายุอ่อน มาสะสมตัวภายหลัง ทำให้หินทั้งสองอายุมีการเรียงตัวอย่างต่อเนื่องกันไป สังเกตได้ยากแต่อาจตรวจสอบได้จากการขาดหายไปของฟอสซิล

รอยชั้นไม่ต่อเนื่องเชิงมุม (angular unconformity) เกิดจากหินที่มีอายุแก่ ถูกยกตัว เกิดการเอียงตัวและกัดกร่อน ต่อมาหินเหล่านี้ จมตัวลงอีกครั้ง ทำให้หินอายุอ่อนกว่า เริ่มสะสมตัวอยู่บนหินที่มีอายุแก่กว่าซึ่งเอียงทำมุมเอียงเท (dip angle) แตกต่างกัน

รอยชั้นไม่ต่อเนื่องบนหินอัคนี (nonconformity) เป็นรอยชั้นไม่ต่อเนื่อง ที่เกิดจากหินอัคนี หรือหินแปรยกตัวขึ้น และถูกการกัดกร่อนผุพัง ต่อมามีการจมตัวลง และปิดทับด้วยหินตะกอน

รอยชั้นไม่ต่อเนื่องขนาน (paraconformity) แนวความไม่ต่อเนื่องใช้แนวรอยต่อระหว่างชั้นหิน เป็นตัวแบ่งแยกชั้นหินที่มีอายุแก่กว่าออกจากชั้นหิน ที่มีอายุอ่อนกว่า

ลักษณะรอยชั้นไม่ต่อเนื่องชนิดต่างๆ ที่พบในพื้นที่จริง

8) กฏการต่อเนื่องของบรรพชีวิน

กฏการต่อเนื่องของบรรพชีวิน (law of faunal succession) สืบเนื่องจากนักวิทยาศาสตร์สังเกตและพบว่าฟอสซิลที่เกิดในชั้นหินต่างๆ นั้น มีรูปร่างและสายพันธุ์แตกต่างกันไป ถึงแม้ว่าชั้นหินดังกล่าวจะวางซ้อนกันอยู่ ดังนั้น วิลเลียม สมิธ (Smith W.) จึงนำเสนอว่า ชั้นตะกอนที่มีฟอสซิลชนิดเดียวกัน สามารถเทียบเคียงได้ว่าเป็นชั้นตะกอนที่มีอายุในช่วงเดียวกัน

ลำดับการพบและหายไปของฟอสซิล

นอกจากนี้ วิลเลียม สมิธ ยังได้จำแนกชั้นหินที่มีอายุใกล้เคียงกัน โดยอาศัยหลักการของ การพบฟอสซิลเป็นครั้งแรกและการหายไปของฟอสซิลในแต่ละชนิด เป็นตัวแบ่งชั้นหิน ซึ่งเป็นแนวทางให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกสามารถลำดับชั้นตะกอนแลชั้นหินจากความแตกต่างของกลุ่มฟอสซิลได้

การเปรียบเทียบชั้นหินจากหลากหลายพื้นที่ โดยการจำแนกฟอสซิล

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024