เรียนรู้

กลวิธีชี้เป้า (แผ่นดินไหว)

ด้วยความที่ช่างเจริญพันธุ์ของคลื่นไหวสะเทือนนี้ ทำให้แม้เกิดแผ่นดินไหวเพียงครั้งเดียว จะมี ลูกๆ หลานๆ คลื่น 4 ชุด วิ่งตามกันมา จวบจนเมื่อครอบครัวคลื่นวิ่งมาชนเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่เราวางดักไว้ คลื่นไหวสะเทือนจะถูกลอกลายลงบนกราฟบันทึกแผ่นดินไหวให้เราเห็นอย่างในรูปล่าง

ลำดับเวลาการเดินทางไปถึงที่ต่างๆ ของคลื่นไหวสะเทือนหรือคลื่นแผ่นดินไหวในแต่ละชนิด

ด้วยความที่เกิดก่อน คลื่นรุ่นลูกอย่างพี่ปฐมจะวิ่งเข้าเส้นชัยถึงเครื่องวัดแผ่นดินไหวเป็นคลื่นแรก จากนั้นก็ตามมาด้วยน้องทุตยที่วิ่งช้ากว่า ส่วนคลื่นเลิฟจริงๆ ก็มีฝีเท้าพอๆ กับพี่ปฐม แต่เพราะเกิดมาทีหลังเป็นรุ่นหลาน เลยต้องวิ่งกวดตามมาทีหลังเป็นอันดับ 3 ปิดท้ายด้วยคลื่นเรลีย์ ที่วิ่งช้ากว่าน้องทุติยนิดหน่อย (0.9 เท่า) เลยคว้าที่โหล่ รับตำแหน่งเป็นตัวปิดขบวนคลื่น…ตามระเบียบ

หรือถ้าลองจับคลื่นทั้ง 4 มาเรียงแถวหน้ากระดานตามลำดับไหล่ จะพบว่า คลื่นรุ่นลูกนั้นเตี้ยแคระ พี่ปฐมจะเล็กที่สุดตามด้วยน้องทุตย ส่วนคลื่นรุ่นหลานก็ไม่รู้ว่าพันธ์เดิมมันดีหรือโด๊ปอาหารเสริม ทั้งสองตัวถึงสูงใหญ่อย่างเห็นได้ชัด

จากกฎเหล็กที่พี่ต้องวิ่งนำน้อง ทำให้ตลอดชีวิตของน้องทุติยจึงเหมือนถูกสาปให้ต้องตามตูดพี่ปฐมอยู่ร่ำไป และยิ่งต้องเดินทางไกลมากขึ้นเท่าใด พี่ปฐมก็ยิ่งไร้เยื่อใย ทิ้งน้องทุติยห่างไปทุกทีๆ

คลื่นไหวสะเทือนที่วัดได้จากแผ่นดินไหวเพียง 1 เหตุการณ์ (บน) กรณีที่สถานีตรวจวัดอยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว (ล่าง) กรณีที่สถานีตรวจวัดอยู่ไกลจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว

ซึ่งจากอาการวิ่งไม่รอกันของคลื่นสองพี่น้องนี้ นักแผ่นดินไหวจึงได้โอกาส หยิบมาใช้ประโยชน์ในการสะกดรอยคลื่น สืบดูว่ามันมาจากไหน โดยใช้สมการการเคลื่อนที่แบบง่ายๆ อย่างที่เห็นในสมการ 1

สมการ 1

สมมุติให้ V คือ ความเร็วคลื่น ส่วน S คือระยะทางที่คลื่นวิ่งได้ และ T คือเวลาที่คลื่นใช้ในการเดินทาง ดังนั้นความแตกต่างของเวลาที่มาถึงสถานีตรวจวัดระหว่างพี่ปฐมและน้องทุติยจึงเขียนได้คล้ายๆ กับสมการ 2

สมการ 2

จากสมการ 2 เราก็รู้อยู่แล้วว่าทั้งสองพี่น้องนั้นวิ่งด้วยความเร็วเท่าไหร่ (Vp และ Vs) ส่วนเวลาที่ต่างกันในการมาถึงสถานี (Tp-Ts) ก็วัดกันตรงๆ จากกราฟแผ่นดินไหวใน ซึ่งถ้าลองคำนวณกลับไปกลับมา อาศัยกระดาษทดซักหน้าสองหน้า เราก็น่าจะประเมินค่า S ได้ไม่ยาก

โดยความหมาย ถ้าเราเก็บค่า S เอาไว้ดูคนเดียว เราก็คงรู้แค่ว่าแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวมันน่าจะอยู่ตรงไหนซักที่ ที่ห่างจากสถานีตรวจวัดของเราด้วยระยะทาง S กิโลเมตร แต่ถ้าบังเอิญเพื่อนเราวัดคลื่นได้ด้วย ต่างคนต่างคิด แล้วมานั่งทายกันเรื่องค่า S เอาซัก 3 ค่าขึ้นไป ก็จะมีเพียงจุดเล็กๆ จุดเดียวเท่านั้น ที่ทุกคนเฉลยค่า S ออกมาแล้วไม่มีใครผิด ซึ่งจุดนั้นคือ ตำแหน่งที่มาของแผ่นดินไหว

หลักการประเมินจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (ซ้าย) เมื่อต้องนั่งคุยกันเรื่องศูนย์กลางแผ่นดินไหวกันอย่างน้อย 3 คน (ขวา) การเรียกชื่อตำแหน่งแผ่นดินไหว

ตำแหน่งต้นเหตุของแผ่นดินไหว ในทางวิชาการเรียกว่า จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (hypocenter หรือ focus) โดยแสดงรายละเอียดของตำแหน่งแผ่นดินไหวทั้ง 1) ละติจูด 2) ลองจิจูด และ 3) ความลึก ของแผ่นดินไหวแผ่นดินไหว นอกจากนี้ในกรณีของการนำเสนอข้อมูลตำแหน่งแผ่นดินไหวบนแผนที่ ซึ่งเป็นภาพ 2 มิติ โดยไม่พิจารณาค่าความลึก นักวิทยาศาสตร์เรียกการบอกตำแหน่งแผ่นดินไหวในรูปแบบนี้ว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter)

สรุปง่ายๆ ปิดท้าย คือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมา 1 เหตุการณ์ ถ้าเราสามารถตรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนได้อย่างน้อย 3 สถานีขึ้นไป เราก็สามารถหาจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวได้ โดยใช้ สมการ v = s/t ที่เราเรียนกันตอนมัธยม เห็นไหมครับ การชี้เป้าแผ่นดินไหว ง่ายนิดเดียว

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024