เรียนรู้

การคดโค้งโก่งงอของหิน

ชั้นหินคดโค้ง (fold) คือ โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เกิดจากหินถูกแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานแบบบีบอัด (compressional stress) ทำให้หินเกิดความเครียดแบบหดสั้นลง และเกิดการคดโค้ง โดยส่วนใหญ่เกิดตามขอบแผ่นเปลือกโลกที่มีการเคลื่อนที่เข้าหากัน และเป็นโครงสร้างโดยส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดแนวเทือกเขา และเพื่อที่จะจำแนกรูปร่างและการวางตัวของชั้นหินคดโค้งในรายละเอียด นักธรณีวิทยาจึงกำหนดส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆ ของชั้นหินคดโค้งไว้อย่างน้อย 5 ส่วน

1) จุดพับ (hinge point) และ เส้นพับ (hinge line) คือ จุดและเส้นที่แสดงค่าการโค้งของชั้นหินคดโค้งมากที่สุด

2) ระนาบแกนคดโค้ง (axial plane) คือ ระนาบที่แบ่งชั้นหินคดโค้งออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน

3) แขนการโค้งตัว (limb) คือ แขนทั้งสองข้างของชั้นหินคดโค้ง

4) แกนคดโค้ง (fold axis) คือ แกนที่แบ่งการคดโค้งออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน เป็นเส้นที่ตัดขวางส่วนที่โค้งที่สุดของชั้นหินคดโค้ง

5) มุมกด (plunge) คือ มุมเอียงเท (dip angle) ที่กวาดจากเส้นพับ (hinge line) ไปยัง เส้นพับมุมกด (plunging hinge line)

ส่วนประกอบของชั้นหินคดโค้ง (ที่มา : http://hkss.cedd.gov.hk)

ชั้นหินคดโค้งทั่วไป

ในเบื้องต้นชั้นหินคดโค้งที่พบบ่อยแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิดหลัก คือ

1) ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (anticline) คือ การโค้งงอที่แขนทั้งสองข้างเอียงเทออกจากกัน

2) ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (syncline) คือ การโค้งงอที่แขนทั้งสองข้างของแนวการคดโค้งเอียงเทเข้าหากัน

แบบจำลองการเกิดชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำและชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย
(ซ้าย) ชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำ (ขวา) ชั้นหินคดโค้งปะทุนหงาย (ที่มา : www.usgs.gov; www.lumenlearning.com)

อย่างไรก็ตาม โดยส่วนใหญ่ในธรรมชาติ ชั้นหินคดโค้งมักจะมีการเอียงเท หรือมีเส้นพับมุมกด (plunging hinge line) นักธรณีวิทยาจึงแบ่งย่อยและเรียกชั้นหินคดโค้งที่มีเส้นพับมุมกดว่า 3) ชั้นหินคดโค้งเอียง (plunging fold) ซึ่งจะเป็นประทุนหงายหรือประทุนคว่ำก็ขึ้นอยู่กับการวางตัวของชั้นหิน

แบบจำลองการเกิดชั้นหินคดโค้งเอียง
(ซ้าย) ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงชั้นหินคดโค้งเอียงของเทือกเขาแอฟพาลาเชียน ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา (ขวา) ภาพถ่ายมุมสูงของภูเขาแกะ (Sheep Mountain) รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา แสดงชั้นหินคดโค้งเอียง (ที่มา : www.geologyin.com)

ชั้นหินคดโค้งทรงกลม

นอกจากชั้นหินคดโค้งปะทุนคว่ำและชั้นหินคดโค้งปะทุนหงายที่เกิดจากแรงเค้นเข้ามากระทำ 2 แนวในทิศทางตรงกันข้ามกัน ในบางกรณีหากชั้นหินถูกแรงเค้นกระทำทุกทิศทาง ชั้นหินสามารถเปลี่ยนรูปเป็นทรงกลมได้ เรียกว่า ชั้นหินคดโค้งทรงกลม (circular fold) ซึ่งโดยส่วนใหญ่พบเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่มากระดับภูมิภาค ซึ่งแบ่งย่อยชั้นหินคดโค้งทรงกลมได้ 2 รูปแบบ

แบบจำลองแสดงชั้นหินคดโค้งแบบโดมและแอ่ง

4) โดม (dome) เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกในแนวดิ่ง ทำให้แผ่นดินโค้งลง ชั้นหินคดโค้งเอียงเทเข้าหาใจกลางทุกทิศทา งหินที่มีอายุแก่อยู่ด้านในของโดม และหินที่มีอายุอ่อนอยู่ด้านนอกของโดม

5) แอ่งตะกอน (basin) เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกในแนวดิ่ง ทำให้แผ่นดินโค้งขึ้น แขนการคดโค้งเอียงเทเข้าหาใจกลางทุกทิศทาง หินที่มีอายุอ่อนอยู่ด้านในของแอ่ง และหินที่มีอายุแก่อยู่ด้านนอกของแอ่ง

ภาพถ่ายจากมุมสูงแสดงชั้นหินคดโค้งแบบ (ซ้าย) โดม และ (ขวา) แอ่ง

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share:
Slot Toto Slot Gacor Maxwin slot thailand slot toto slot resmi slot thailand slot qris slot gacor maxwin slot gacor maxwin Slot Gacor Maxwin Slot Gacor Maxwin 2024 Situs Slot Gacor 777 Situs Slot Gacor Toto Slot Gacor 2024 Maxwin Slot Gacor Terbaik Slot Gacor 4D Slot Gacor Terpopuler slot gacor maxwin slot toto gacor scatter hitam slot thailand slot777 slot maxwin slot thailand slot toto gacor slot gacor 777 Slot Gacor Thailand slot88 maxwin slot thailand 2024