เรียนรู้

แบบฝึกหัด 7 การผุพังและการย้ายมวล

วัตถุประสงค์ของแบบฝึกหัด

แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเนื้อหา และ 2) ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสื่อสารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน-ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไม่มีเจตนาวิเคราะห์ข้อสอบเก่าหรือแนวข้อสอบแต่อย่างใด

1) แบบฝึกหัดจับคู่

คำอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคำบรรยายด้านขวา และเติมในช่องว่างด้านซ้ายของแต่ละข้อที่มีความสัมพันธ์กัน

1.____abrasionก.อัตราการผุพังสูง
2.____frost wedgingข.การผุพังที่พบมากในทะเลทราย
3.____carbonic acidค.ปัจจัยในการผุพังของหินปูน
4.____exfoliationง.แร่เฟลด์สปาร์เปลี่ยนเป็นแร่ดิน
5.____hydrolysisจ.หินโผล่เมื่อไม่มีแรงกดทับเกิดการขยายตัว
6.____rainforest soilฉ.การผุพังของหินบะซอลต์เหลือเพียงสนิมของเหล็ก
7.____oxidationช.ดินชั้นบนที่ประกอบด้วยกลุ่มแร่ออกไซด์ของธาตุเหล็ก
8.____lateriteซ.กระบวนการผุพังที่พบมากในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งทะเล
9.____thermal expansionฌ.การผุพังของหินเนื่องจากน้ำแข็ง
10.____salt crystal growthญ.การขัดสีของตะกอนในแม่น้ำหรือธารน้ำแข็ง

2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด

คำอธิบาย : เติมเครื่องหมาย T หน้าข้อความที่กล่าวถูก หรือเติมเครื่องหมาย F หน้าข้อความที่กล่าวผิด

1.____แร่โอลิวีนโดยส่วนใหญ่ไม่พบเป็นเม็ดตะกอน เนื่องจากไม่เสถียรและผุพังอย่างรวดเร็วที่พื้นผิวโลก
2.____การผุพัง (weathering) ส่งผลต่อเฉพาะหินอัคนีที่โผล่บนพื้นผิวโลก
3.____ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ควบคุมอัตรา การผุพังทางเคมี (chemical weathering) คือน้ำ
4.____แร่คควอตซ์ (quartz) เป็นผลผลิตที่ได้จากการผุพังทางเคมีบนพื้นผิวโลก
5.____น้ำรวมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลายเป็น กรดคาร์บอนิก
6.____อุณหภูมิมีผลต่ออัตรา การผุพังทางเคมี (chemical weathering)
7.____ไม่มี การผุพังทางกายภาพ (physical weathering) ในช่วงต้นของประวัติศาสตร์โลก
8.____ถ้ำโดยส่วนใหญ่เป็นผลจาก การผุพังทางเคมี (chemical weathering) ของหินปูน
9.____การย้ายมวล (mass wasting) ไม่เกิดตามอุทยานแห่งชาติที่มีต้นไม้ปกคลุมหนาแน่น
10.____การย้ายมวล (mass wasting) เกิดขึ้นได้กับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะ
11.____ปริมาณน้ำไม่ใช่ปัจจัยของการย้ายมวลชนิด เศษหิน (debris)
12.____กระบวนการไฮโดรไลซิส (hydrolysis) คือการแทนที่ไอออนของแร่โดยไอออน H+ หรือ OHจากน้ำ
13.____การย้ายมวล (mass wasting) สามารถถูกกระตุ้นด้วยแผ่นดินไหวหรือการปะทุของภูเขาไฟ
14.____ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศส่วนหนึ่งมาจากการปะทุของภูเขาไฟ
15.____การย้ายมวล (mass wasting) ไม่สามารถพยากรณ์ได้
16.____สีของ ชั้นดิน E เกิดจากชั้นฮิวมัสที่ไหลซึมลงมาจาก ชั้นดิน A
17.____ชั้นดิน B โดยส่วนใหญ่จะอยู่เหนือ ชั้นดิน E
18.____รูปแบบการย้ายมวลที่มีความเร็วสูงที่สุด คือ หินทลาย (rock avalanche)
19.____การผุพังทางเคมี (chemical weathering) สามารถแปรสภาพโครงสร้างของแร่ในหินได้
20.____ในเขตภูมิอากาศหนาวหรือขั้วโลกโดยส่วนใหญ่ไม่มีการย้ายมวล

3) แบบฝึกหัดปรนัย

คำอธิบาย : ทำเครื่องหมาย X หน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือกที่กำหนดให้

1. หินแกรนิต (granite) ผุพังง่ายกว่า หินควอซ์ตไซต์ (quartzite) เนื่องจากมีแร่องค์ประกอบชนิดใด

ก.แร่เฟลด์สปาร์ข.แร่ควอตซ์
 ค.กลุ่มแร่คาร์บอเนตง.ไม่มีข้อใดถูก

2. ข้อใดคือ การย้ายมวล (mass wasting)

ก.ดินถล่ม (landslide)ข.โคลนไหลหลาก (mud flow)
 ค.หินทลาย (rock avalanche)ง.ถูกทุกข้อ

3. ข้อใดคือกระบวนการเคลื่อนย้ายมวลที่มีความเร็วมากที่สุด

ก.การเลื่อนไถล (slump)ข.หินทลาย (rock avalanche)
 ค.การคคืบคลาน (creep)ง.เศษหินไหลหลาก (debris flow)

4. อัตราการเคลื่อนแบบ การคืบคลาน (creep) มีความเร็วโดยปกติประมาณเท่าใด

ก.เซนติเมตร/เดือนข.เมตร/วัน
 ค.เซนติเมตร/สัปดาห์ง.เซนติเมตรหรือน้อยกว่า/ปี

5. การย่อยสลายหินให้มีขนาดเล็กลงด้วยปัจจัยทางกายภาพเรียกว่าอะไร

ก.abrasionข.chemical weathering
 ค.pedogenesisง.physical weathering

6. การย่อยสลายหินให้มีขนาดเล็กลงด้วยปัจจัยของน้ำและก๊าซเรียกว่าอะไร

ก.pedogenesisข.salt wedging
 ค.chemical weatheringง.physical weathering

7. ข้อใดคือการผุพังทางกายภาพที่เกิดจากการเสียสมดุลเนื่องจากการหายไปของแรงกดทับด้านบน (unloading)

ก.abrasionข.hydrolysis
 ค.exfoliationง.salt wedging

8. การย้ายมวลแบบใดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่คนสามารถหลบหนีได้

ก.โคลนไหลหลาก (mud flow)ข.หินพังทลาย (rock avalanche)
 ค.เศษหินไหลหลาก (debris flow)ง.ถูกทุกข้อ

9. พืชก่อให้เกิดการผุพังทางเคมีได้อย่างไร

ก.ผลิตกรดอินทรีย์ ในช่วงที่มีชีวิตข.ป้องกันพื้นผิวจากแสงอาทิตย์
 ค.บริโภคก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน กระบวนการสังเคราะห์แสงง.ป้องกันพื้นผิวจากปริมาณน้ำฝนจำนวนมาก

10. สภาพแวดล้อมแบบใดที่โดยส่วนใหญ่พบกระบวนการผุพังแบบ frost wedging

ก.ขอบแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกันข.ขอบแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกัน
 ค.ภูเขาสูงง. ชายฝั่งแถบเส้นศูนย์สูตร

11. ทรายแป้ง (silt) เป็นผลผลิตของกระบวนการใด

ก.กระบวนการออกซิเดชันข.การผุพังทางกายภาพ
 ค.การเย็นตัวรวดเร็วของแมกมาง.การผุพังทางเคมี

12. กระบวนการไฮโดรไลซิส (hydrolysis) เกิดขึ้นเมื่อใด

ก.แร่เฟลด์สปาร์แปรสภาพเป็นแร่ดินข.หินโผล่และสัมผัสกับอากาศ
 ค.น้ำที่มีสภาพกรดอ่อนละลายหินง.หินถูกฝังในระดับลึกมาก

13. ข้อใด ไม่ใช่ การผุพังทางเคมี (chemical weathering)

ก.frost wedgingข.root wedging
 ค.unloadingง.ถูกทุกข้อ

14. การย้ายมวลแบบ fall เกิดขึ้นเมื่อใด

ก.หินหลุดจากหน้าผาและหล่นลงอย่างอิสระข.ดินเคลื่อนที่ลงสู่ด้านล่างคล้ายกับของหนืด
 ค.ชั้นหินเคลื่อนที่อย่างช้าๆง.ถูกทุกข้อ

15. ข้อใดคือผลผลิตจากการผุพังทางเคมีของแร่เฟลด์สปาร์

ก.แร่ควอตซ์ (quartz)ข.แร่ไพรอคซีน (pyroxene)
 ค.แร่แคลไซต์ (calcite)ง.แร่ดิน (clay)

16. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับชั้นดิน

ก.ขอบเขตระหว่างชั้นดินโดยปกติจะไม่เปลี่ยนแปลงแบบชัดเจนข.ชั้นดินสามารถแยกออกจากกันได้จากองค์ประกอบทางเคมี
 ค.นักวิทยาศาสตร์แยกชั้นดินโดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรง.ถูกทุกข้อ

17. ดินเขตร้อน (tropical soil) คือดินที่มีลักษณะเฉพาะอย่างไร

ก.ดีสำหรับการเกษตรกรรมข.อุดมสมบูรณ์มาก
 ค.ถูกชะล้างสูงง.มีอินทรียวัตถุจำนวนมาก

18. แร่ชนิดใดเกิดจากกระบวนการผุพังที่พื้นผิวโลก

ก.ไบโอไทต์ (biotite)ข.ควอตซ์ (quartz)
 ค.คาโอลีไนต์ (kaolinite)ง.โอลิวีน (olivine)

19. ค่า pH โดยปกติของน้ำฝนมีค่าประมาณเท่าใด

ก.8.2.ข.5.5.
 ค.7.0.ง.3.0.

20. ข้อใดคือวัสดุต้นกำเนิดดิน

ก.แร่ดิน (clay)ข.ดินบนพื้นผิวโลก (regolith)
 ค.หิน (rock)ง.แร่ (mineral)

21. ข้อใดคือการย้ายมวลที่คล้ายกับของหนืด

ก.การเลื่อนไถล (slump)ข.การเลื่อนถล่ม (slide)
 ค.การไหลหลาก (flow)ง.การหล่น (fall)

22. ข้อใดคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด การย้ายมวล (mass wasting)

ก.ความหนาแน่นของพืชข.แรงโน้มถ่วง
 ค.ปริมาณน้ำง.ความชัน

23. exfoliation เป็นกระบวนการผุพังที่เป็นผลมาจากสาเหตุใด

ก.น้ำหนักกดทับด้านบนของหินหายไปข.หินถูกกัดกร่อนโดยกรดคาร์บอนิก
 ค.หินขยายตัวจากความร้อนง.กิจกรรมของมนุษย์

24. ชั้นดินใดประกอบด้วย แร่ดิน (clay) จำนวนมาก

ก.ชั้นดิน Oข.ชั้นดิน B
 ค.ชั้นดิน Cง.ชั้นดิน A

25. ข้อใดคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการผุพังทางเคมีบนพื้นผิวโลก

ก.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ข.น้ำ
 ค.กรดไฮโครคลอริกง.กรดคาร์บอนิก

26. ข้อใดคือกระบวนการผุพังของแร่เฟลด์สปาร์

ก.mudificationข.metamorphosis
 ค.hydrolysisง.pedogenesis

27. หินชนิดใดผุพังง่ายที่สุด

ก.หินแกรนิต (granite)ข.หินควอซ์ตไซต์ (quartzite)
 ค.หินไนส์ (gneiss)ง.หินบะซอลต์ (basalt)

28. หินชนิดใดผุพังยากที่สุด

ก.หินแกรนิต (granite)ข.หินควอซ์ตไซต์ (quartzite)
 ค.หินไนส์ (gneiss)ง.หินบะซอลต์ (basalt)

29. สถานการณ์ใดที่หินผุพังได้ง่ายที่สุด

ก.หินขนาด 10 เซนติเมตรข.หินขนาด 1 เซนติเมตร
 ค.หินขนาด 1 มิลลิเมตรง.ถูกทุกข้อ

30. เหตุใด แร่ดิน (clay) จึงไม่ผุพังบนพื้นผิวโลก

ก.มีขนาดผลึกแร่ใหญ่เกินไปข.มีความเสถียรทางเคมี
 ค.มีไออนมากเกินไปง.ถูกทุกข้อ

31. พื้นที่ใดเกิดการผุพังทางกายภาพมากที่สุด

ก.เทือกเขาเกิดใหม่ที่สูงชันข.ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
 ค.เทือกเขาเก่าแก่ที่ราบเรียบง. ที่ราบชายฝั่ง

32. หินผุพังได้เร็วที่สุดเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด

ก.เย็นและแห้งข.ร้อนและแห้ง
 ค.เปียกอยู่ตลอดเวลาง.ชื้น

33. ข้อใดเรียงลำดับธาตุที่ถูกชะล้างออกจากดินจากง่ายไปยากได้ถูกต้อง

ก.โปแตสเซียม แคลเซียมและเหล็กข.ซิลิกอน เหล็กและแคลเซียม
 ค.อะลูมินัม ซิลิกอนและโปแตสเซียมง.เหล็ก โปแตสเซียมและแคลเซียม

34. แร่ดิน (clay) เกิดจากกระบวนการไฮโดรไลซิสของแร่ชนิดใด

 ก.แร่เฟลด์สปาร์ (feldspar)ข.แร่ไมกา (mica)
 ค.แร่ควอตซ์ (quartz)ง.ถูกทุกข้อ

35. การเคลื่อนที่แบบใดที่สัมพันธ์กับpermafrost

 ก.การทลาย (avalanche)ข.ทรายพุ (liquefaction)
 ค.การไหลของดิน (solifluction)ง.การขยายตัว (expansion)

36. การย้ายมวลนิยมใช้เกณฑ์อะไรในการจำแนก

 ก.ปริมาตรของวัสดุโดยรวมข.ความชัน
 ค.พื้นที่ซึ่งเกิดการเคลื่อนที่ง.ความเร็ว

37. การย้ายมวลสามารถถูกกระตุ้นให้เกิดเร็วขึ้นได้จากสาเหตุใด

 ก.กิจกรรมของมนุษย์ข.ฝนตกอย่างรุนแรง
 ค.แผ่นดินไหวง.ถูกทุกข้อ

38. หินทลาย (rock avalanche) โดยส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่ใด

 ก.ธารน้ำแข็งที่มีการสะสมกรวดขนาดต่างๆข.พื้นที่สูงชันสูงใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว
 ค.ทะเลลึกง.ถูกทุกข้อ

39. ข้อใดคือดินที่ประกอบด้วยทราย ทรายแป้ง แร่ดินและอินทรียวัตถุในสัดส่วนเท่าๆ กัน

 ก.เพโดคอล (pedocal)ข.คาลิเช (caliche) .
 ค.ฮิวมัส (humus)ง.ดินร่วน (loam)

40. หินชนิดใดเมื่อผุพังและพัฒนาเป็นดินมีธาตุอาหารของพืชน้อยที่สุด

 ก.หินปูน (limestone)ข.หินแกรนิต (granite)
 ค.หินทราย (sanstone)ง.หินบะซอลต์ (basalt)

41. ข้อใดคือวัสดุขนาดต่างๆใดๆ ที่ไม่ได้จับตัวกันแน่นอยู่บนพื้นผิวโลก

 ก.soilข.talus
 ค.screeง.debris

42. ความแตกต่างในข้อใดที่เป็นสาเหตุให้เกิดชั้นดินที่แตกต่างกันในแต่ละระดับความลึก

 ก.ความชื้นข.อินทรียวัตถุ
 ค.อุณหภูมิง.การชะล้างและสะสมตัว

43. เหตุใดหินจึงสามารถแตกหักได้เมื่อมีอากาศเย็นลง

 ก.ผลึกน้ำแข็งมีความแหลมคมข.น้ำแข็งตามร่องหินขยายตัว
 ค.น้ำเย็นสามารถกัดกร่อนได้ดีกว่าน้ำปกติง.หินได้รับการถ่ายเทความเย็นจึงแตก

44. ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้ การผุพังทางกายภาพ (physical weathering) มีอัตราการผุพังสูงขึ้น

 ก.มีความชื้นมากข.มีน้ำมาก
 ค. มีต้นไม้มากง.อุณหภูมิแตกต่างกันมาก

45. พื้นที่ใดที่กระบวนการสร้างดินมีประสิทธิภาพที่สุด

 ก.ภูมิประเทศราบเรียบ ภูมิอากาศร้อนชื้นข.ภูมิประเทศราบเรียบ ภูมิอากาศแห้งเย็น
 ค.ภูมิประเทศสูงชัน ภูมิอากาศแห้งเย็นง.ภูมิประเทศสูงชัน ภูมิอากาศร้อนชื้น

46. ในพื้นที่อุณหภูมิสูง ชั้นดิน O มีลักษณะเฉพาะอย่างไร

 ก.มีตะกอนขนาดเล็กข.พบศิลาแลง
 ค.มีอินทรียวัตถุและสิ่งมีชีวิตง.ถูกทุกข้อ

47. โดยส่วนใหญ่ ชั้นดิน E มีลักษณะเฉพาะอย่างไร

 ก.มีสีเข้มจากการสะสมตัวของชั้นฮิวมัสข.ทั้งอินทรียวัตถุและแร่ธาตุมีปริมาณน้อย
 ค.มีตะกอนหลากหลายขนาดง.มีกลุ่มแร่ออกไซด์ปริมาณสูง

48. เหตุใดวัตถุขนาดเล็กจึงผุพังได้รวดเร็วกว่าวัตถุขนาดใหญ่

 ก.มีพื้นที่ผิวโดยรวมมากกว่าข.แตกหักได้ง่ายกว่า
 ค.ปะปนกันกับดินได้ง่ายกว่าง.ละลายน้ำได้ง่ายกว่า

49. ปัจจัยใดที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกดิน

 ก.อายุดินข.ภูมิอากาศ
 ค.โครงสร้างดินง.ถูกทุกข้อ

50. การย้ายมวลเกิดจากความไม่สมดุลกันของแรงชนิดใด

 ก.แรงปกติ แรงเฉือนและแรงเสียดทานข.แรงโน้มถ่วง แรงเฉือนและแรงเสียดทาน
 ค.แรงเฉือนและแรงเสียดทานง.แรงโน้มถ่วงและแรงเสียดทาน

51. ดิน (soil) มีโอกาสเกิดจากวัสดุต้นกำเนิดชนิดใดมากที่สุด

 ก. ลาวาไหลหลากข.หินแกรนิตที่แตกเป็นกาบ
 ค. หินตะกอนง.ตะกอนที่สะสมตัวในช่วงน้ำท่วม

52. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ ดินแอริดิซอลส์ (aridisol)

ก.มีแนวโน้มสะสมเป็นชั้นบางข.เกิดในภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง
 ค.มีชั้นฮิวมัสเล็กน้อยง.ถูกทุกข้อ

53. ข้อใดคือกระบวนการที่ทำให้หินแตกหัก

ก.วัฏจักรเย็น-ร้อนข.ผลึกเกลือเติบโตตามร่องหิน
 ค.การเจริญเติบโตของรากพืชง.ถูกทุกข้อ

54. กระบวนการใดเกิดจากไฮโดรเจนไอออน (H+) หรือไฮดรอกซิลไอออน (OH) ของน้ำทำปฏิกิริยากับไอออนของแร่

ก.กระบวนการรีดักชันข.กระบวนการออกซิเดชัน
 ค.กระบวนการไฮโดรไลซิสง.กระบวนการไฮเดรชัน

55. กระบวนการใดเกิดจากการรวมตัวกันของแร่ น้ำและออกซิเจน ทำให้มีการเพิ่มประจุบวกหรือลดประจุลบของไอออน

ก.กระบวนการรีดักชันข.กระบวนการออกซิเดชัน
 ค.กระบวนการไฮโดรไลซิสง.กระบวนการไฮเดรชัน

56. กระบวนการใดคือปฏิกิริยาตรงกันข้ามกับกระบวนการออกซิเดชัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกิดในบริเวณที่มีน้ำขัง

ก.กระบวนการรีดักชันข.กระบวนการออกซิเดชัน
 ค.กระบวนการไฮโดรไลซิสง.กระบวนการไฮเดรชัน

57. ในสภาพแวดล้อมปกติของพื้นผิวโลก แร่ชนิดใดใน ชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series) มีความเสถียรมากที่สุด

ก.แร่ไพรอคซีน (pyroxene)ข.แร่ควอตซ์ (quartz)
 ค.แร่ไบโอไทต์ (biotite)ง.แร่โอลิวีน (olivine)

58. ป่าฝนสามารถอุดมสมบูรณ์ได้อย่างไรหากดินคุณภาพต่ำมาก

ก.รับสารอาหารจากน้ำฝนข.เมื่อเกิดการเผาไหม้ป่าจะกลายเป็นสารอาหารให้ดิน
 ค.สิ่งมีชีวิตพัฒนาความอุดมสมบูรณ์อย่างช้าๆ โดยไม่มีสารอาหารดินง.ระบบนิเวศมีประสิทธิภาพในการสร้างสารอาหารของดิน

59. ข้อใดคือความต้านทานในการเคลื่อนที่หรือ การเปลี่ยนรูป (deformation) ของหิน

ก.ความหนาแน่น (density) .ข.มวล (mass)
 ค.แรงเฉือน (shear)ง.ไม่มีข้อใดถูก

60. ข้อใดคือลักษณะการไหลของดินอิ่มน้ำ

ก.การไหลของดิน (solifluction)ข.การเลื่อนตัว (slip)
 ค.การเลื่อนไถล (slump)ง.การไหลหลาก (flow)

61. เศษหินที่หล่นลงมาจากที่สูงและกองรวมกันบริเวณเชิงหน้าผาเรียกว่าอะไร

ก.เศษหิน (debris)ข.ตะกอน (sediment)
 ค.ทลาย (avalanche)ง.ลานหินตีนผา (talus)

62. ข้อใดคือปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการย้ายมวลเร็วขึ้น

ก.การตัดไม้ทำลายป่าที่คลุมดินข.การปล่อยน้ำตามความชัน
 ค.ความชันลดลงจากการทำไร่ง.น้ำหนักพืชในพื้นที่สูงชัน

63. ดินชนิดใดที่เหมาะสมกับการเกษตรกรรมมากที่สุด

ก.alfisolข.spodosol
 ค.oxisolง.mollisol

64. ข้อใดคือการป้องกันภัยพิบัติการย้ายมวลที่มีประสิทธิภาพที่สุด

ก.สร้างสิ่งป้องกันทางวิศวกรรมที่เหมาะสมข.เพิ่มน้ำหนักกดทับให้พื้นที่ซึ่งมีความชัน
 ค.ตัดฐานของความชันให้เล็กลงง.ทำให้ความชันเพิ่มมากขึ้น

65. ข้อใดคือการเคลื่อนที่ของวัสดุลงด้านล่างด้วยแรงโน้มถ่วงเป็นหลัก

ก.downslope movementข.mass wasting
 ค.land slidingง.ไม่มีข้อใดถูก

66. สัตว์ที่ส่งผลต่ออัตราการผุพังทางเคมีได้อย่างไร

ก.สัตว์บางชนิดปล่อยกรดที่สามารถละลายแร่และหินได้ข.สัตว์บางชนิดบดกัดหินและแร่จนมีขนาดเล็กลง
 ค.สัตว์ช่วยเพิ่มพื้นผิวหินและแร่ให้สัมผัสกับปัจจัยการผุพังมากขึ้นง.สัตว์บางชนิดกินแร่เพื่อเป็นสารอาหาร

67. ข้อใดเรียงลำดับแร่ที่สามารถผุพังบนพื้นผิวโลกจากยากไปหาง่ายได้ถูกต้อง

ก.โอลิวีน ไพรอคซีน ไมกา แอมฟิโบลและควอตซ์ข.ไมกา ไพรอคซีน แอมฟิโบล โอลิวีนและควอตซ์
 ค.ไพรอคซีน โอลิวีน แอมฟิโบล ไมกาและควอตซ์ง.ควอตซ์ ไมกา แอมฟิโบล ไพรอคซีนและโอลิวีน

68. การสะสมตัวของแร่แคลไซต์หรือแร่ยิปซั่มใต้พื้นดินที่มีสภาพแวดล้อมแบบแห้งแล้งเรียกว่าอะไร

ก.ดินพีดอลเฟอร์ (pedalfer)ข.คาลิเช (caliche)
 ค.ศิลาแลง (laterite)ง.ดินแอริดิซอลส์ (aridisols)

69. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะของ ชั้นดิน C

ก.มีสีเข้มจากการพอกสะสมของชั้นฮิวมัสข.มีปริมาณอินทรียวัตถุและแร่ธาตุน้อย
 ค.ประกอบด้วยเศษหินหลากหลายขนาดปะปนกันง.มีความเข้มข้นของกลุ่มแร่ออกไซด์สูง

70. exfoliation คืออะไร

ก.การผุพังที่หินแตกออกเป็นแผ่นบางเหมือนกับกลีบหอมหัวใหญ่ข. แนวโน้มที่หินบะซอลต์ผุพังได้ง่ายกว่าหินแกรนิต
 ค.กระบวนการเกิดแร่ดินจากการผุพังทางเคมีง.การผุพังที่เกิดจากลิ่มเกลือหรือลิ่มน้ำแข็ง

เฉลยแบบฝึกหัด

1) แบบฝึกหัดจับคู่

1. 2. 3. 4. 5.
6. 7. 8. 9. 10.

2) แบบฝึกหัดถูก-ผิด

1.T 2.F 3.T 4.T 5.T
6.T 7.F 8.T 9.F 10.T
11.F 12.F 13.T 14.T 15.F
16.F 17.F 18.T 19.T 20.F

3) แบบฝึกหัดปรนัย

1. 2. 3. 4. 5.
6. 7. 8. 9. 10.
11. 12. 13. 14. 15.
16. 17. 18. 19. 20.
21. 22. 23. 24. 25.
26. 27. 28. 29. 30.
31. 32. 33. 34. 35.
36. 37. 38. 39. 40.
41. 42. 43. 44. 45.
46. 47. 48. 49. 50.
51. 52. 53. 54. 55.
56. 57. 58. 59. 60.
61. 62. 63. 64. 65.
66. 67. 68. 69. 70.

4) แบบฝึกหัดอัตนัย

คำอธิบาย : ตอบคำถามให้กระชับและสมบูรณ์เกี่ยวกับวัตถุ กระบวนการหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อกับโลกศาสตร์

1. จงอธิบายปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดและอัตราของการผุพัง

 
 
 

2. การผุพังทางกายภาพ (physical weathering) มีอะไรบ้าง

 
 
 

3. การผุพังทางเคมี (chemical weathering) มีอะไรบ้าง

 
 
 

4. จงอธิบายกระบวนการเกิดดิน หน้าตัดดินและลำดับชั้นดินโดยทั่วไป

 
 
 

5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการย้ายมวล มีอะไรบ้าง

 
 
 

6. การหล่น (fall) และ การทลาย (avalanche) แตกต่างกันและสัมพันธ์กันอย่างไร

 
 
 

7. การเลื่อนถล่ม (slide) และ การเลื่อนไถล (slump) แตกต่างกันและสัมพันธ์กันอย่างไร

 
 
 

8. หลักฐานในการสังเกต การคืบ (creep) ของพื้นที่มีอะไรบ้าง

 
 
 

9. จงอธิบายกลไก การทรุดตัว (subsidence) พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีศึกษา

 
 
 

10. การบรรเทาภัยพิบัติการย้ายมวล ทำได้อย่างไรบ้าง

 
 
 

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share: