ถ้ำมอง อย่างนักธรณีวิทยาแผ่นดินไหว

พวกเราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมในหนังจักรๆ วงศ์ๆ ของไทย หรือหนังกำลังภายในของจีน ทั้งจอมยุทธ์และฤๅษีต้องหนีไปอยู่ในถ้ำ ใช่ครับ !!! นั่นก็เพราะว่าถ้ำเป็นสถานที่สงบ ไม่มีสิ่งเย้ายวน ซึ่งด้วยคุณสมบัติพิเศษแบบนี้ที่มีอยู่เกือบทุกถ้ำ นอกจากจะเป็นที่พักใจของฤๅษี ชี พราหมณ์แล้ว ถ้ำก็เหมือนกับแคปซูลเวลาชั้นดี ที่คอยเก็บบันทึกเรื่องราวของโลกไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอดีต (Lachniet, 2009) หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต (Becker และคณะ, 2006) ถึงตรงนี้ บางคนอาจจะสงสัยว่า แผ่นดินไหวมันไปเกี่ยวอะไรกับถ้ำ ก่อนอื่นผมขออธิบายคำศัพท์เฉพาะก่อนว่า ตะกอนถ้ำ (speleothem) หมายถึง รูปลักษณ์ภายในถ้ำที่เกิดจากกระบวนการผุพังและสะสมตัวทางเคมีของสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ซึ่งมีมากในหินปูน หรือหินโดโลไมต์ ปัจจุบันคนในวงการถ้ำ มองและจำแนกตะกอนถ้ำไว้หลายประเภท แต่ที่เราคุ้นหูชินตากันมากที่สุดก็คือ หินงอก (stalagmite) และ หินย้อย (stalactite) นั่นแหละครับ ปัจจุบันในแวดวงวิชาการเริ่มมี การศึกษาแผ่นดินไหวจากตะกอนถ้ำ (Speleoseismology) โดยอาศัยหลักการสืบค้น … อ่านเพิ่มเติม ถ้ำมอง อย่างนักธรณีวิทยาแผ่นดินไหว