การหาอายุด้วยวิธีโปแตสเซียม-อาร์กอน

ในบรรดาธาตุต่างๆ ที่มีอยู่บนโลก ธาตุโปแตสเซียม (Potassiam, K) เป็นอีกธาตุหนึ่งที่มีปริมาณพอสมควร โดยส่วนมากมักจะพบปะปนอยู่ใน แร่ประกอบหิน ทั่วไป ซึ่งทั้งหมดของธาตุ K ที่มีอยู่บนโลก ประกอบด้วย 3 ไอโซโทป คือ K-39 K-40 และ K-41 โดยที่ K-39 และ K-41 เป็นธาตุที่เสถียร มี 19 โปรตรอน เหมือนกัน แต่มีนิวตรอนต่างกัน คือ 20 และ 22 ส่วนในกรณีของ K-40 ซึ่งมีนิวตรอน 21 ตัวนั้น เป็น ธาตุกัมมันตรังสี (radioactive element) ที่ไม่เสถียรและสลายได้ตามหลักการของการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีโดยทั่วไป ซึ่งในกรณีของ K-40 นั้นสามารถสลายตัวได้ 2 รูปแบบ คือ 1) สลายตัวจาก K-40 ไปเป็น Ca-40 ซึ่งในสภาวะแวดล้อมปกติในธรรมชาติ Ca-40 เป็นไอโซโทปที่มีอยู่ทั่วไปจำนวนมาก ดังนั้นในทางปฏิบัติ นักวิทยาศาสตร์จึงไม่สามารถจำแนกหรือแยกได้ระหว่าง Ca-40 ที่ได้จากการสลายตัวมาจาก K-40 หรือเป็น Ca-40 ที่เดิมมีอยู่แล้วในธรรมชาติ ทั้งนี้ก็เพราะสัดส่วนของ Ca-40 ที่ได้จากการสลายตัวของ K-40 มีน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับ Ca-40 ในธรรมชาติ ทำให้ไม่สามารถตรวจวัดหรือใช้หลักการการสลายตัวจาก K-40 ไปเป็น Ca-40 มาประยุกต์ใช้ในการหาอายุทางธรณีวิทยาได้ … อ่านเพิ่มเติม การหาอายุด้วยวิธีโปแตสเซียม-อาร์กอน