ปรากฏการณ์ขั้วโลกพเนจร กับการศึกษาภูมิศาสตร์บรรพกาล

จากการศึกษาวิทยาศาสตร์โลกในปัจจุบัน ถึงแม้จะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าโลกของเรามี สนามแม่เหล็ก (magnetic field) ครอบคลุมอยู่ โดยในปัจจุบัน เส้นแรงแม่เหล็กโลกพุ่งออกจาก ขั้วแม่เหล็กโลกใต้ (south magnetic pole) แล้ววิ่งโค้งข้ามหัวพวกเราไปมุดตัวอีกทีที่ ขั้วแม่เหล็กโลกเหนือ (north magnetic pole) และจากหลักฐานทางธรณีวิทยาต่างๆ นักธรณีวิทยาเชื่อว่าสนามแม่เหล็กโลกเกิดขึ้นได้เพราะการหมุนวนของวัสดุภายในโลกที่มีแร่เหล็กจำนวนมากและอยู่ในสถานะของเหลว ตรงบริเวณแก่นโลกชั้นนอก (Jacobson, 1975)  ซึ่งจากการหมุนวนอย่างช้าๆ ไปในทิศทางที่เรียกได้ว่าสุ่ม ทำให้ตลอดช่วงอายุ 4600 ล้านปี ที่โลกเกิดขึ้นมา เส้นแรงแม่เหล็กโลกมีการสลับขั้ว วิ่งจากใต้ไปเหนือ หรือที่เรียกว่า ขั้วแม่เหล็กปกติ (normal polarity) และกลับทิศวิ่งจาก เหนือไปใต้ หรือ ขั้วแม่เหล็กย้อนกลับ (reverse polarity) อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้นักธรณีวิทยายังพบว่าหินต่างๆ ที่อยู่บนพื้นโลกสามารถเก็บบันทึกหรือสต๊าฟ สัญญาณของสนามแม่เหล็กโลกในขณะที่หินนั้นเกิดขึ้นได้ (แมกมาเย็นตัวกลายเป็นหิน) ซึ่งนอกจากหินจะบันทึกสภาวะความเป็น ขั้วแ … อ่านเพิ่มเติม ปรากฏการณ์ขั้วโลกพเนจร กับการศึกษาภูมิศาสตร์บรรพกาล