กำเนิดธารน้ำและปัจจัยการไหล

การเกิด ธารน้ำ (stream) เริ่มต้นจากเมื่อมีฝนตกลงมา ในช่วงแรกน้ำจะซึมผ่านลงไปในชั้นดินด้านล่าง ซึ่งต่อมาเมื่อดินอิ่มน้ำ น้ำจะเริ่มสะสมตัวบนผิวดินเป็น แผ่นน้ำบาง (sheetwash) ไหลลงที่ต่ำในลักษณะแผ่นน้ำแผ่ซ่าน และน้ำจะกัดเซาะพื้นดินอย่างช้าๆ เป็นร่องน้ำขนาดเล็กและใหญ่ขึ้นตามลำดับ ได้แก่ ธารน้ำสายเล็ก (rill) ลำห้วย (gulliy) แคว (tributary) และรวมตัวกันกลายเป็น ธารน้ำ (stream) ซึ่งจะไหลลงสู่ แม่น้ำ (river) ต่อไป โดยผลจากการกัดกร่อนและการพัฒนาร่องน้ำอย่างต่อเนื่องทำให้เกิด ตะกอนธารน้ำ (stream load) ที่ถูกพัดพามาตามธารน้ำ ซึ่งด้วยขนาดและน้ำหนักของตะกอนที่มีความแตกต่างกัน ทำให้ตะกอนถูกพัดพาไปตามธารน้ำในรูปแบบแตกต่างกัน 3 รูปแบบ ตะกอนท้องน้ำ (bed load) คือ ตะกอนขนาดใหญ่ตามท้องน้ำ เคลื่อนที่ได้โดย การลากไปตามท้องน้ำ (traction) หรือ การกระโดดเป็นช่วง (saltation) ตะกอนแขวนลอย (suspended load) คือ ตะกอนขนาดเล็กและเบาพอที่จะลอยอยู่เหนือท้องน้ำไปตามกระแสน้ำได้ ตะกอนละลาย (dissolved load) คือ ไอออนที่ได้จากการผุพังทางเคมีของหิน ละลายอยู่ในน้ำ ในส่วนของความเร็วของน้ำที่ไหลหลากตลอดตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลาย … อ่านเพิ่มเติม กำเนิดธารน้ำและปัจจัยการไหล