13 เขตมุดตัวของเปลือกโลกในอาเซียน ตัวการที่ทำให้เกิดสึนามิ

ปัจจุบัน จากการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลด้านธรณีวิทยา ธรณีแปรสัณฐานและวิทยาคลื่นไหวสะเทือนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) หรือ อาเซียน (ASEAN) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่และกระทบกระทั่งกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น คือ แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate) อินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) และแผ่นทะเลฟิลิปปินส์ (Philippine Sea Plate) ซึ่งผลจากการชนและมุดกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกดังกล่าวทำให้เกิด เขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) ที่เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญ 13 เขตมุดตัว [1] เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) 4,145 กิโลเมตร [2] ร่องลึกก้นสมุทรซุนดา (Sunda Trench) 5,154 กิโลเมตร [3] ร่องลึกก้นสมุทรลูซอนตะวันออก (East Luzon Trench) 379 กิโลเมตร [4] เขตมุดตัวของเปลือกโลกฮัลมาฮีรา (Halmahera Subduction Zone) 452 กิโลเมตร [5] ร่องลึกก้นสมุทรมะนิลา (Manila Trench) 1,256 กิโลเมตร [6] ร่องลึกก้นสมุทรมินาฮาสสา (Minahassa Trench) 1,372 กิโลเมตร [7] ร่องลึกก้นสมุทรเนกรอส (Negros Trench) 446 กิโลเมตร [8] ร่องลึกก้นสมุทรปาลาวัน (P … อ่านเพิ่มเติม 13 เขตมุดตัวของเปลือกโลกในอาเซียน ตัวการที่ทำให้เกิดสึนามิ