ซากโบราณสถาน กับการแปลความ แผ่นดินไหว

หนึ่งในหลายๆ ลีลาของการศึกษา สืบหาหลักฐานการเกิด แผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ คือ การศึกษาแผ่นดินไหวจากซากโบราณสถานในแหล่งโบราณคดี (archaeoseismology) (Evans, 1928; Agamennone, 1935) ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง และช่วยเต็มเต็มช่องว่างระหว่างข้อมูล บันทึกทางประวัติศาสตร์ (historical record) และข้อมูลจาก บันทึกทางธรณีวิทยา (geological record) โดยเฉพาะในบางครั้งข้อมูลประวัติศาสตร์ไม่สมบูรณ์ นักแผ่นดินไหววิทยาอาจใช้ข้อมูลจากแหล่งโบราณคดี ช่วยยืนยันการมีอยู่ หรือเพิ่มข้อมูลรายละเอียดให้กับบันทึกประวัติศาสตร์ได้ เช่น การประเมินระดับความรุนแรงจากสภาพความเสียหายที่พบได้ในแหล่งโบราณคดี ซึ่งหลักฐานสำคัญที่นักโบราณคดีใช้ในการแปลความหมายแผ่นดินไหวแบ่งได้ 3-4 กลุ่ม คือ (Galadini และคณะ, 2006) 1) การเลื่อนตัวของรอยเลื่อน หลักฐานการเลื่อนตัวของโบราณสถาน บ่งบอกถึงแนวหรือ ระนาบรอยเลื่อน (fault plane) โดยเฉพาะเมื่อมีการเลื่อนตัวแบบเหลื่อมข้าง ทำให้เห็นการเลื่อนตัวของโบราณสถานต่างๆ ใช้เป็นหลักฐานของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวได้ เช่น แนวท่อน้ำ ถนน หรือแนวกำแพง เป็นต้น (รูป 1-2 และ 5-11) ซึ่งถ้าหลักฐานดังกล่า … อ่านเพิ่มเติม ซากโบราณสถาน กับการแปลความ แผ่นดินไหว