แผ่นดินไหวบรรพกาล : การสืบสันดานแผ่นดินไหว

ทำไมต้องศึกษาแผ่นดินไหวบรรพกาล ขอออกตัวตั้งแต่ต้นเรื่องก่อนเลยครับว่า ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาที่จะหยาบคายใส่ผู้อ่านแต่อย่างใด แต่ก็นั่งนึกอยู่นาน สุดท้ายคำว่า “สันดาน” น่าจะสื่อถึงสิ่งที่เราตามหาในบทความนี้ได้ดีที่สุด เพราะเรื่องที่ผู้เขียนกำลังจะเล่า เป็นเรื่องของการสืบหานิสัยลึกๆ ดิบๆ ของแผ่นดินไหว ที่บางที…ชั่วชีวิตของพวกเรานี้ อาจไม่มีโอกาสได้เห็น จากข้อมูลสถิติที่ผ่านมาทำให้รู้ว่าโดยธรรมชาติของการเกิด แผ่นดินไหวขนาดเล็กจะเกิดบ่อยกว่าแผ่นดินไหวใหญ่อยู่หลายเท่า เช่นเขตมุดตัวของเปลือกโลกแถบสุมาตรา-อันดามัน ที่ก่อนหน้านี้เราจะได้ยินข่าวการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.0-5.0 แทบทุกปี ในขณะที่แผ่นดินไหวขนาด 6.0-7.0 ก็พอจะมีให้เห็นบ้างนานๆ ครั้ง จาก บันทึกของเครื่องวัดแผ่นดินไหว (instrumental record) แต่ทำไมวันดีคืนดีถึงได้โผล่มา 9.0 เมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 มิหนำซ้ำยังแจกสึนามิแถมให้เราด้วย งานนี้แม้แต่นักแผ่นดินไหวรุ่นเก๋ายังบ่นกันอุบเลยว่าเมื่อก่อนก็ไม่เห็นจะมีนิสัยก้าวร้าวอย่างนี้ แล้วทำไมอยู่ดีๆ ถึงระเบิดอารมณ์ออกมาได้ ก็เรื่องของเรื่องสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวเพิ่งจะเข้าที่เข้าทางเมื่อป … อ่านเพิ่มเติม แผ่นดินไหวบรรพกาล : การสืบสันดานแผ่นดินไหว