โอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่กว่า 7.0 ตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย
ตลอดแนวหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซีย ในทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ถือเป็นขอบของการชนกันระหว่าง 1) แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย และ 2) แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Krabbenhoeft และคณะ, 2010) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย (Indonesian Island Chain) ซึ่งด้วยความที่เป็นขอบการชนกันของแผ่นเปลือกโลก ทำให้พื้นที่แถบนี้เป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของทั้งแผ่นดินไหวและสึนามิ ดังนั้น เพื่อที่จะประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ในบริเวณเขตมุดตัวของเปลือกโลกตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย Pailoplee (2014d) ได้พยายามวิเคราะห์เพื่อหาพื้นที่ที่มีแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐานที่สูงกว่าปกติ ผ่านการวิเคราะห์ ค่า b จากสมการความสัมพันธ์ การกระจายตัวความถี่-ขนาดแผ่นดินไหว (Frequency-Magnitude Distribution, FMD) หรือที่นักแผ่นดินไหวบางกลุ่มวิจัย เรียกว่า สมการกูเต็นเบิร์ก-ริกเตอร์ (Gutenberg-Richter Relationship) โดยในการวิเคราะห์นี้ Pailoplee (2014d) ได้ใช้ฐานข้อมูลแผ่นดินไหวที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงฐานข้อมูลแผ่นดินไหวจนมีความสมบูรณ์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งในขั้นตอ … อ่านเพิ่มเติม โอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่กว่า 7.0 ตามแนวหมู่เกาะอินโดนีเซีย
คัดลอกและวาง URL นี้ลงในเว็บ WordPressของคุณเพื่อเล่น
คัดลอกและวางโค้ดนี้ในเว็บของคุณเพื่อเล่น