ความเงียบงันตามเขตมุดตัวสุมาตรา-อันดามัน : ยิ่งเงียบ ยิ่งน่ากลัว

เขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Subduction Zone) วางตัวในแนวเหนือ-ใต้พาดผ่านทางตะวันตกของประเทศพม่า หมู่เกาะนิโคบาร์ (Nicobar Islands) ในทะเลอันดามัน (Andaman Sea) ต่อเนื่องลงไปถึงตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน บ่งชี้ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และมีการเลื่อนตัวในแนวดิ่งของแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล อาจเกิดสึนามิและส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เช่น ประเทศไทย พม่าและประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศต่างๆ โดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ดังนั้นเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามันจึงเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญในภูมิภาคนี้ และเพื่อที่จะประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาด ≥ 7.0 Mw ตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกสุมาตรา-อันดามัน Sukrungsri และ Pailoplee (2015) จึงได้วิเคราะห์ คะแนน RTL โดยใช้ฐานข้อมูลแผ่นดินไหวขนาด ≥ 4.6 Mw ในช่วงปี ค.ศ. 1980-2014 เป็นข้อมูลแผ่นดินไหวหลักในการวิเคราะห์ ทฤษฏีการประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ด้วยวิธี RTL บ่งชี้ว่าตัวแปรอิสระ r0 และ t0 จะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ศึกษ … อ่านเพิ่มเติม ความเงียบงันตามเขตมุดตัวสุมาตรา-อันดามัน : ยิ่งเงียบ ยิ่งน่ากลัว