สรุปหน่วยวัดแผ่นดินไหว กับข้อคิดการดับทุกข์

หากพูดถึงกระบวนการสื่อสาร โดยเฉพาะบทสนทนาที่ว่าด้วยปริมาณ ประโยคจะสมบูรณ์จบลงได้ก็ควรจะต้องมีหน่วยชั่ง-ตวง-วัดเข้ามากำกับ “ป้าครับ !!! ขอนม 1 ขวด แก้ว 1 ใบ แล้วก็เพื่อนข้างกายซัก 1 คน” ขวด–ใบ–คน คือ หน่วยวัดสำคัญที่จะทำให้เครื่องรับและเครื่องส่งประมวลผลการสื่อสารไปในทิศทางเดียว เรื่องของแผ่นดินไหวก็เช่นกัน หน่วยวัดปริมาณต่างๆ ก็ได้ถูกกำหนดไว้แล้วอย่างชัดเจนเป็นมาตรฐานสากล แต่ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ พวกเรามักติดกับคำว่า ริกเตอร์ และนำไปใช้กันอย่างสับสน ไม่ได้เดือดร้อนแทนครูภาษาไทย แต่ผู้เขียนแค่ห่วงใยว่าเราอาจสื่อสารกันผิด ซึ่งถ้าคุยกันในวันเบาๆ ก็พอจะจับเข่านั่งอธิบายกันได้ แต่ถ้าต้องสื่อสารช่วงเทศกาลแผ่นดินไหว กลัวว่าจะโกลาหลกันไปใหญ่ ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงอยากจะรณรงค์ สร้างความเข้าใจใหม่ร่วมกันในการสื่อสารด้านแผ่นดินไหว ซึ่งก็หวังว่าบทความนี้น่าจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น ขนาดแผ่นดินไหว ขนาดแผ่นดินไหว (earthquake magnitude) คือ ระดับพลังงาน ที่โลกปลดปล่อยออกมาจากจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในรูปของแรงสั่นสะเทือน ซึ่งนำเสนอครั้งแรกในปี พ.ศ. 2478 โดย ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ (Rich … อ่านเพิ่มเติม สรุปหน่วยวัดแผ่นดินไหว กับข้อคิดการดับทุกข์