กว่า 4 ทศวรรษ พัฒนาการการประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย

ประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญมากมาย ซึ่งจากฐานข้อมูลแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหว บันทึกประวัติศาสตร์ รวมทั้งข้อมูลธรณีวิทยาแผ่นดินไหว บ่งชี้ว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หลายครั้ง ซึ่งจากการประมวลผล ความไหวสะเทือนเท่า (isoseismal map) ที่เคยมีการรายงานไว้ในอดีต Pailoplee (2012) สรุปว่าในช่วงปี ค.ศ. 1912-2012 ประเทศไทยเคยได้รับภัยพิบัติแผ่นดินไหวหลายครั้งในระดับความรุนแรงแผ่นดินไหว II-VII ตาม มาตราเมอร์คัลลีแปลง (MMI) ดังนั้นนักแผ่นดินไหวจึงพยายามประเมินสถานการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และนำเสนอ แผนที่ภัยพิบัติแผ่นดินไหว (seismic hazard map) ที่แตกต่างกันตามแต่ข้อมูลที่ถืออยู่ในมือในแต่ละยุค บทความนี้มีวัถตุประสงค์ที่จะรวบรวมงานวิจัยในอดีตที่เคยมี การประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหว (seismic hazard analysis) ในประเทศไทย นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน Hattori (1980) Hattori (1980) ประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหวด้วยวิธีความน่าจะเป็น (Probabilistic Seismic Hazard Analysis, PSHA) (Cornell, 1968) ในประเทศไทย โดยประเมินพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไห … อ่านเพิ่มเติม กว่า 4 ทศวรรษ พัฒนาการการประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย