ภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหว : ความเงียบที่รอวันระเบิดกับการวิเคราะห์เชิงสถิติ

หลักคิด เพื่อที่จะศึกษาพฤติกรรมการปริแตกของหินหรือรอยเลื่อนก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวในธรรมชาติ Sobolev (1995) ได้จำลองการเกิดแผ่นดินไหวจากการลองบีบอัดหินและตรวจวัดจำนวนเสียงปริแตกของหิน ซึ่งคล้ายกับการทดสอบของ Main และคณะ (1989) ในการวิเคราะห์ค่า b จากสมการความสัมพันธ์ FMD แต่ผลการทดสอบของ Sobolev (1995) ตรวจพบเพิ่มเติมเกี่ยวกับพฤติกรรมการปริแตกของหิน และอธิบายว่าในระยะเริ่มต้นบีบอัดหินจำนวนเสียงปริแตกจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มแรงบีบอัดมากขึ้น อย่างไรก็ตามจำนวนเสียงปริแตกจะลดลงเนื่องจากรอยแตกของหินเริ่มเข้าสู่ภาวะสมดุล จนกระทั่งในระยะสุดท้ายหินจะปริแตกอย่างรุนแรง เกิดเสียงปริแตกเพิ่มขึ้นอีกครั้งและเกิดการแตกหักของหินในเวลาต่อมา ซึ่งจากการทดลองดังกล่าว Sobolev (1995) สรุปว่าหากพื้นที่ใดๆ ได้รับความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานเพิ่มขึ้น อัตราการเกิดแผ่นดินไหวจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เรียกว่า ภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหว (seismic quiescence) และหลังจากนั้นอัตราการเกิดแผ่นดินไหวจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เรียกว่า ภาวะกระตุ้นแผ่นดินไหว (seismic activation) ก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา และจากแนวคิดดังกล่ … อ่านเพิ่มเติม ภาวะเงียบสงบแผ่นดินไหว : ความเงียบที่รอวันระเบิดกับการวิเคราะห์เชิงสถิติ