พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกในภูมิภาคอาเซียน

จากการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลด้านธรณีวิทยา ธรณีแปรสัณฐานและวิทยาคลื่นไหวสะเทือนในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่และกระทบกระทั่งกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น คือ แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate) อินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) และแผ่นทะเลฟิลิปปินส์ (Philippine Sea Plate) ซึ่งผลจากการชนและมุดกันระหว่างแผ่นเปลือกโลกดังกล่าวทำให้เกิด เขตมุดตัวของเปลือกโลก (subduction zone) ที่เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญ 13 เขตมุดตัว ซึ่งเขตมุดตัวเหล่านี้มีศักยภาพ ที่จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และส่งผลกระทบด้านแรงสั่นสะเทือน รวมทั้งสร้างภัยพิบัติสึนามิต่อประชาชนชาวอาเซียนได้ ดังนั้นเพื่อที่จะตีแผ่สถานการณ์หรือนิสัยของเขตมุดตัวของเปลือกโลกต่างๆ เหล่านี้ จึงได้มีการศึกษาวิจัยแผ่นดินไหววิทยาเชิงสถิติเพื่อที่จะประเมินพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวตามแนวหรือเขตมุดตัวดังกล่าว โดยแสดงผลการศึกษาวิจัยออกมาในรูปแบบของแผนที่แสดงการกระจายตัวของ 1) แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุด (maximum magnitude) 2) คาบอบุติซ้ำการเกิดแผ่นดินไหว (return period) และ 3) โอกาสเกิดแผ่นดินไหว (probabil … อ่านเพิ่มเติม พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกในภูมิภาคอาเซียน