ผลกระทบต่อฐานข้อมูลแผ่นดินไหว จากการเปลี่ยนรูปแบบและระบบตรวจวัด

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกว่า บันทึกแผ่นดินไหว (earthqauke record) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บันทึกที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัด (instrumental record) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ฐานข้อมูลแผ่นดินไหว (earthquake catalogue) นั้นมีประโยชน์มหาศาลในการนำไปศึกษาพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวหรือประเมินพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต ทั้งนี้ก็เพราะฐานข้อมูลแผ่นดินไหวนั้นเก็บรายละเอียดแทบทุกอย่าง ทั้งตำแหน่ง เวลาและขนาดแผ่นดินไหว ออกมาทั้งหมดเป็นตัวเลขแน่นอน อย่างไรก็ตามจากการนำสารข้อมูลแผ่นดินไหวดังกล่าวไปใช้ หลายต่อหลายครั้ง นักแผ่นดินไหววิทยา (เช่น Reasenberg และ Simpson, 1992; Dieterich และ Okubo, 1996; Wyss และ Martyrosian, 1998) พบว่าข้อมูลแผ่นดินไหวส่วนใหญ่นั้น มักจะมีความคลาดเคลื่อนและไม่สื่อถึงพฤติกรรมการปล่อยแผ่นดินไหวของโลกอย่างแท้จริง   ซึ่งโลกก็ส่งข่าวและบอกกล่าวเราอย่างซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา แต่ความคาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นจากฝั่งมนุษย์เราเอง จากความไม่นิ่งของระบบการตรวจวัดฝั่งผู้รับ ตัวอย่างเช่น การเพิ่มหรือลดของเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว (detection cha … อ่านเพิ่มเติม ผลกระทบต่อฐานข้อมูลแผ่นดินไหว จากการเปลี่ยนรูปแบบและระบบตรวจวัด