ปิโตรเลียมและการสำรวจ : ความรู้เบื้องต้น

ปิโตรเลียม (petroleum) คือ สารผสมที่มีองค์ประกอบโดยส่วนใหญ่เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนโครงสร้างซับซ้อน มีคุณสมบัติในการเผาไหม้และให้พลังงานสูง ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด ตามสถานะ คือ 1) น้ำมันดิบ (crude oil) มีสถานะเป็นของเหลว โดยทั่วไปมีสีดำหรือสีน้ำตาล สามารถเปลี่ยนรูปมันเป็นเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ เช่น น้ำมันเครื่องยนต์ และแก๊ซโซลีน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานพื้นฐานของโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้ ทรายทาร์ (tar sand) หรือ ทาร์ (tar) หรือ ยางมะตอย (asphalt) คือ อีกรูปแบบหนึ่งของน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นหินทรายที่มีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ มีความหนืดสูง ทาร์ไม่สามารถสูบขึ้นมาใช้โดยตรงได้ ต้องใช้การอัดแรงดันสูงเพื่อผลักดันให้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่แยกตัวออกมาจากทราย หรือในบางกรณีอาจใช้การเผาทรายให้ร้อนเพื่อให้ทาร์ลดความหนืดและไหลได้ดีขึ้น 2) ก๊าซธรรมชาติ (natural gas) เกิดจากหินต้นกำเนิดที่อุณหภูมิ > 100 องศาเซลเซียส มักพบร่วมกับน้ำมันดิบ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน (CH4) โดยนักวิทยาศาสตร์จำแนกก๊าซธรรมชาติออกเป็น 2 ชนิด คือ 1) ก๊าซธรรมชาติเหลว มีสถานะเป็นของเหลว ลักษณะคล้ายกั … อ่านเพิ่มเติม ปิโตรเลียมและการสำรวจ : ความรู้เบื้องต้น