การเกิดแหล่งแร่เบื้องต้น

แหล่งแร่ (mineral deposit) หมายถึง พื้นที่ใดๆ ที่มีแร่สะสมตัวในปริมาณที่สูงกว่าปกติ ไม่จำเป็นต้องมีปริมาณเพียงพอในทางเศรษฐศาสตร์ก็ได้ ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากคำว่า แหล่งสินแร่ (ore deposit) ที่หมายถึง แหล่งแร่ที่มีปริมาณมากพอที่จะนำออกมาใช้ประโยชน์ได้โดยมีกำไร นักธรณีวิทยาจำแนกชนิดแหล่งแร่ตามรูปแบบการสะสมตัวได้หลากหลายรูปแบบโดยในเบื้องต้น ได้แก่ 1) แหล่งแร่แบบฝังประ แหล่งแร่แบบฝังประ (disseminated deposit) คือ แหล่งแร่ที่เกิดจากการเย็นตัวของแมกมา บางครั้งแร่มีค่าทางเศรษฐกิจต่างๆ จะตกผลึกและฝังกระจายอยู่ในมวลหินอัคนีที่แทรกดันขึ้นมา เช่น แร่โคบอลต์ในหินเพริโดไทต์ เพชรในหินคิมเบอร์ไลต์ เป็นต้น ปริมาณสำรอง (reserve) คือ ปริมาณทรัพยากรที่ค้นพบและสามารถนำมาผลิตได้คุ้มทุนในทางเศรษฐศาสตร์ 2) แหล่งแร่แบบแยกชั้น แหล่งแร่แบบแยกชั้น (magmatic segregation deposit) คือ แหล่งแร่ที่เกิดจากการเย็นตัวของแมกมาที่มีแร่บางชนิดมีความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) สูง จึงจมตัวและตกผลึกอยู่ด้านล่างของกระเปาะแมกมา   สะสมตัวเป็นชั้นแร่ เช่น แร่โครไมต์และเหล็ก 3) แหล่งแร่แบบเพกมาไทต์ แหล่งแร่แบบเพกมาไทต์ (pegmati … อ่านเพิ่มเติม การเกิดแหล่งแร่เบื้องต้น