มหายุคมีโซโซอิก – ยุคทองของ ไดโนเสาร์

มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic era) เป็นมหายุคตอนกลาง 252-66 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดจากการสูญพันธุ์ในช่วง ยุคเพอร์เมียน (ยุคสุดท้ายของมหายุคพาลีโอโซอิก) เริ่มมีวิวัฒนาการและมีความหลากหลายของสายพันธุ์มากขึ้น พืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) เช่น ปรง (cycad) สน (conifer) และแปะก๊วย (ginkgoe) เป็นพืชโดดเด่นของมหายุคมีโซโซอิก ในขณะที่สัตว์เลื้อยคลาน กลายเป็นสัตว์ที่โดดเด่นที่อาศัยอยู่บนบก โดยในช่วงแรกสัตว์เลื้อยคลานจะมีขนาดเล็ก แต่พัฒนาและเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไดโนเสาร์ (dinosuar) นอกจากนี้ยังพบฟอสซิลอาร์คีออปเทอริกซ์ (Archaeopteryx) ซึ่งเป็นสัตว์บรรพบุรุษของนกในปัจจุบัน สภาพอากาศทั่วโลกของมหายุคมีโซโซอิกไม่ค่อยมีโซนภูมิอากาศที่รุนแรง ไม่มีธารน้ำแข็ง และไม่พบหลักฐานของถ่านหิน นักวิทยาศาสตร์จึงประเมินว่าน่าจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในชั้นบรรยากาศจำนวนมาก โดยมหายุคมีโซโซอิกแบ่งย่อยเป็น 3 ยุค 1) ยุคไทรแอสสิก ยุคไทรแอสสิก (Triassic Period) เป็นยุคแรกของมหายุคเมโสโซอิก ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ 252-205 ล้านปี เป็นการเริ่มต้นของสัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะคล้ายกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม … อ่านเพิ่มเติม มหายุคมีโซโซอิก – ยุคทองของ ไดโนเสาร์