หินตะกอนเนื้อเม็ด

หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic หรือ detrital sedimentary rock) เกิดโดยการทับถมของตะกอนขนาดต่างๆ และแข็งตัวกลายเป็นหิน หรือ การก่อตัวใหม่ (diagenesis) ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เคมีหรือทางชีวภาพของตะกอน ตั้งแต่ตะกอนเริ่มสะสมตัวจนกระทั่งกลายเป็นหิน ซึ่งกระบวนการก่อตัวใหม่ของตะกอนจนกลายเป็นหินประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก 1) การอัดแน่น (compaction) เกิดจากแรงกดทับของตะกอนที่ทับถมอยู่ด้านบนหรือแรงจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน ทำให้ช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอนลดลง ตะกอนเกาะตัวกันมากขึ้น 2) การเชื่อมประสาน (cementation) เกิดจากตัวเชื่อมประสาน (cement) เช่น แร่แคลไซต์ โดโลไมต์ และแร่ควอตซ์ เข้าไปแทนที่ช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอน ทำให้ตะกอนเชื่อมติดกัน 3) การตกผลึกใหม่ (recrystallization) โดยการตกผลึกของตะกอนเคมีบางชนิดทำให้ตะกอนที่ทับถมกันเกาะตัวแข็งเป็นหิน โดยเนื้อของหินตะกอนเนื้อเม็ดจะประกอบด้วย 1) เม็ดตะกอนขนาดใหญ่ (clast) เช่น แร่ดิน ควอตซ์ เฟล์ดสปาร์ และแร่ไมกา 2) เม็ดตะกอนขนาดเล็ก (metrix) ที่เติมเต็มอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอนขนาดใหญ่ และ 3) ตัวเชื่อมประสาน (cement) เช่น แร่แคลไซต์ เหล็กอ … อ่านเพิ่มเติม หินตะกอนเนื้อเม็ด