ทะเลทรายกับการสะสมตัวของตะกอน

โดยปกติในพื้นที่ทะเลทราย ตัวพัดพาของตะกอนที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือลม ซึ่งนักธรณีวิทยาได้จำแนกรูปแบบการพัดพาตะกอนโดยลมออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การคืบคลาน (creep) ลมพัดพาตะกอนขนาดทรายหยาบหรือกรวดขนาดเล็กให้เคลื่อนที่ได้โดย การคืบคลาน (creep) หรือ การกลิ้ง (rolling) 2) การกระโดดเป็นช่วง (saltation) ลมพัดพาทรายละเอียดให้เคลื่อนที่แบบกระโดดเป็นช่วง โดยลอยตัวสูง ≥ 50 เซนติเมตร หากมีจำนวนมากเรียกว่า พายุทราย (sand storm) และ 3) การแขวนลอย (suspension) เป็นการเคลื่อนที่โดยลมพัดตะกอนขนาดทรายแป้งหรือดินให้ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศและพัดพาไปได้ไกลหลายกิโลเมตร ซึ่งและเมื่อตะกอนตกทับถมกันเรียกว่า ดินลมหอบ (loess) การสะสมตัวโดยลม ในพื้นที่ทะเลทราย หรือพื้นที่ที่มีลมแรงลมเด่น การสะสมตัวของตะกอนจากการพัดพาโดยลม เริ่มจากการที่ลมถูกกีดขวางจากวัตถุ ทำให้ลมเปลี่ยนทิศทาง มีการม้วนตัว และความเร็วลดลงเกิดเป็น โซนอับลม (wind shallow zone) ทำให้ตะกอนทรายที่ถูกหอบมาตกทับถมในโซนอับลม กลายเป็นเนินทรายขนาดเล็ก และพัฒนาต่อไปจนกลายเป็น เนินทราย (sand dune) ซึ่งผลจากความเร็วและทิศทางของลมที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดเนินทรายรูป … อ่านเพิ่มเติม ทะเลทรายกับการสะสมตัวของตะกอน