ธารน้ำแข็งพาตะกอนเอาไปกองไว้ตรงไหนบ้าง

โดยธรรมชาติ ธารน้ำแข็งสามารถกัดกร่อนและพัดพาตะกอนไปได้ในปริมาณมหาศาล ซึ่งตะกอนเหล่านี้จะเริ่มตกสะสมตัวเมื่อธารน้ำแข็งละลาย ทำให้บริเวณที่ตะกอนธารน้ำแข็งสะสมตัวเกิดเป็นภูมิลักษณ์เฉพาะตัว แปลกตา โดยตะกอนที่ได้จากการสะสมตัวจากธารน้ำแข็ง เรียกว่า ตะกอนธารน้ำแข็ง (glacial drift) แบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ 1) ตะกอนธารน้ำแข็งไม่แยกชั้น (unstratified drift) และ 2) ตะกอนธารน้ำแข็งแยกชั้น (stratified drift) ก้อนหินขนาดใหญ่ที่ถูกพัดมากับธารน้ำแข็ง เรียกว่า หินธารน้ำแข็งพา (glacial erratic) ตะกอนธารน้ำแข็งไม่แยกชั้น ตะกอนธารน้ำแข็งไม่แยกชั้น (unstratified drift) เรียกอีกอย่างว่า ทิลล์ (till) เป็นตะกอนที่ถูกอมมากับธารน้ำแข็งและตกสะสมตัวเมื่อน้ำแข็งหลอมละลาย เป็นตะกอนที่มีขนาดหลากหลาย อยู่รวมกันโดยไม่มีการคัดขนาดและการลำดับชั้น ซึ่งการสะสมตัวของตะกอนธารน้ำแข็งแบบนี้แบ่งย่อยเป็น 2 ลักษณะ 1) แพเศษหินธารน้ำแข็ง (moraine) คือ ภูมิประเทศที่ปกคลุมด้วยตะกอนธารน้ำแข็งไม่แยกชั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะสะสมตัวอยู่ตามขอบของธารน้ำแข็ง (รูป 6 และค-ง) ประกอบด้วย 3 รูปแบบย่อย คือ ลักษณะการสะสมตัวของตะกอนธารน้ำแข็งไม่แยกชั … อ่านเพิ่มเติม ธารน้ำแข็งพาตะกอนเอาไปกองไว้ตรงไหนบ้าง