ภูมิลักษณ์จากการกัดกร่อนโดยธารน้ำแข็ง

ในธรรมชาติ พื้นที่ที่จะเกิดธารน้ำแข็งได้มีอยู่ 2 พื้นที่ใหญ่ๆ คือ 1) ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier) ซึ่งอยู่ที่ขั้วโลกทั้ง 2 ขั้ว และ 2) ธารน้ำแข็งภูเขา (mountain glacier) ซึ่งอยู่ตามบริเวณเทือกเขาที่มีระดับความสูงพอที่จะทำให้อากาศเย็นและเกิดการสะสมตัวของธารน้ำแข็งได้ ซึ่งในกรณีของธารน้ำแข็งพื้นทวีป น้ำแข็งส่วนใหญ่จะมีความชันต่ำ ทำให้การเคลื่อนที่เป็นไปได้ช้า ในขณะที่ธารน้ำแข็งภูเขาซึ่งมีความชันที่สูงกว่า ทำให้ธารน้ำแข็งมีการเคลื่อนที่จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ซึ่งการเคลื่อนที่จะเกิดการกัดกร่อนและนำตะกอนจากพื้นและผนังของหุบเขาเคลื่อนที่ตามไปด้วย โดยการกัดกร่อนโดยธารน้ำแข็งสามารถจำแนกได้ 2 รูปแบบ คือ 1) การถอดถอน (plucking) เกิดจากกระบวนการคล้ายกับการเกิดลิ่มน้ำแข็งในหิน โดยธารน้ำแข็งไหลผ่านหินที่มีรอยแตก น้ำที่ได้จากการละลายจะแทรกลงไปตามรอยแตก ซึ่งเมื่อน้ำแข็งตัวเป็นน้ำแข็งอีกครั้ง หินจะปริแตกและธารน้ำแข็งจะดึงเอาเศษหินเหล่านี้ติดไป 2) การขัดสี (abrasion) เมื่อธารน้ำแข็งเคลื่อนที่เศษหินจะถูกบดเป็นตะกอนขนาดละเอียดหรือเป็นผง เรียกว่า แป้งหิน (rock flour) ปนอยู่กับน้ำที่ฐานของธ … อ่านเพิ่มเติม ภูมิลักษณ์จากการกัดกร่อนโดยธารน้ำแข็ง