ชั้นน้ำและการเคลื่อนที่ของมวลน้ำในมหาสมุทร

เนื่องจากน้ำใน มหาสมุทร นั้นสามารถดูดกลืนรังสีจากดวงอาทิตย์ที่แผ่มายังโลกได้ มหาสมุทรจึงมีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศและอุณหภูมิของโลก ซึ่งกระแสน้ำในมหาสมุทรเป็นตัวกลางการกระจายความร้อนจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงแถบศูนย์สูตรไปสู่พื้นที่เย็นแถบขั้วโลก ดังนั้นในการศึกษาด้าน สมุทรศาสตร์ (Oceanography) จึงจำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติของน้ำในมหาสมุทร ในแง่มุมต่างๆ ดังนี้ 1) องค์ประกอบ (composition) น้ำทะเลประกอบด้วยแร่ซึ่งอยู่ในรูปของสารละลายประมาณ 3.5% โดยน้ำหนัก โดยในจำนวนนี้มีแร่จำนวนมาก เช่น โซเดียม (Na) ครอไรด์ (Cl) ซัลเฟต (SO4) แมกนีเซียม (Mg) แคลเซียม (Ca) และโปแตสเซียม (K) เป็นต้น (รูป ก) 2) ความเค็ม (salinity) ความเค็มของน้ำทะเลมาจาก โซเดียมครอไรด์ (NaCl) หรือเกลือแกงเป็นหลัก ซึ่งเกลือแกงโดยส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการผุพังทางเคมีของหินและก๊าซที่ออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟ ถึงแม้ว่าที่ศูนย์สูตรซึ่งมีอุณหภูมิสูง ควรจะมีอัตราการระเหยสูงสุดและเค็มสูงสุด แต่เนื่องจากบริเวณศูนย์สูตรก็มีฝนตกมากกว่าบริเวณอื่น ทำให้ความเค็มสูงสุดไม่ได้อยู่ที่ศูนย์สูตร โดยเฉลี่ยมหาสมุทรมีความเค็มประมาณ 35% (1:1,000) แต่จะมีค … อ่านเพิ่มเติม ชั้นน้ำและการเคลื่อนที่ของมวลน้ำในมหาสมุทร