Tag: ภัยพิบัติ

วิจัย

จับสัญญาณเตือนแผ่นดินไหวใหญ่ จากการเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว

หลักคิด การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว (seismicity rate change) พัฒนามาากแนวคิด เขตช่วงว่างแผ่นดินไหว (seismic gap) ซึ่ง McCann และคณะ (1979) อธิบายว่า ทุกพื้นที่ย่อยของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวจะมีพฤติกรรมหรืออัตราการเกิดแผ่นดินไหวโดยรวมใกล้เคียงกัน ดังนั้นหากพื้นที่ย่อยใดๆ ภายในแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวมีอัตราการเกิดแผ่นดินไหวต่ำกว่าพื้นที่ย่อยข้างเคียงหรือไม่มีกิจกรรมแผ่นดินไหว นักแผ่นดินไหวประเมินว่าพื้นที่ย่อยดังกล่าวกำลังสะสมความเค้นทางธรณีแปรสัณฐานและอาจเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคต ...
เรียนรู้

ภัยพิบัติการทรุดตัวของพื้นดิน

การทรุดตัว (subsidence) เกิดขึ้นได้ทั้งเร็วและช้า และมีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งบางครั้งการทรุดตัวอาจครอบคลุมพื้นที่กว้างและทำให้เกิดภัยพิบัติ รูปแบบและสาเหตุการทรุดตัวจำแนกได้ 3 รูปแบบ 1) หลุมยุบ หลุมยุบ (sink hole) เป็นการทรุดตัวเนื่องจากการถล่มของโพรงใต้ดินอย่างทันทีทันใด ซึ่งโพรงเกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะหินปูนของน้ำใต้ดินจนกลายเป็นโพรงหรือถ้ำใต้ดิน โพรงภายในท่อลาวา ...
เรียนรู้

5 แนวทางสืบพยาน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถูกยกขึ้นมาพูดถึงและมีการถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน นักวิจัยหรือนักวิชาการสายรักษ์โลกก็พยายามตีความไปในทางที่ว่าปัจจุบันโลกกำลังร้อนขึ้น และสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นอย่างนี้ก็คือกิจกรรมของมนุษย์อย่างพวกเรา แต่ก็มีนักวิชาการบางส่วนที่พยายามตีแผ่ข้อมูลว่าจากคาบหรือวงรอบของการขึ้นๆ ลงๆ ของอุณหภูมิหรือสภาพอากาศ ในปัจจุบันนี้กำลังถึงจุดสูงสุด และกำลังเข้าสู่ภาวะที่จะกดหัวไปในทางที่โลกเย็นลง และภูมิอากาศของโลกกำลังเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) หมายถึง การเบี่ยงเบนของสภาพอากาศไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายปี เช่น 1) จากการสังเกตวัฒนธรรมในอดีตที่ผ่านมา ...
เรียนรู้

“ความเหมือนกันในตัวของตัวเอง” กับการศึกษารูปแบบการเกิดแผ่นดินไหว (ฮั่นแน่ งง ? ลองอ่านดู…งงยิ่งกว่าเดิม)

แฟร็กทัล (Fractal) เป็นคำนิยามในเชิงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิตที่มีคุณสมบัติ เหมือนกันในตัวเอง (self-similar) คือ ดูเหมือนกันหมดไม่ว่าจะดูที่ระดับความละเอียด (scale) ใดก็ตาม โดยจากการสังเกตและศึกษางานวิจัยในอดีต นักวิทยาศาสตร์พบความเป็นแฟร็กทัลมากที่สุดกับวัตถุต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เช่น ก้อนเมฆ เกร็ดหิมะ ใบไม้ ...
เรียนรู้

ฉันจะเป็น “รอยเลื่อน” หรือ “รอยเลื่อนมีพลัง” มันก็ขึ้นอยู่กับความกลัวของพวกมนุษย์

ปกติเวลาพูดถึงแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว พวกเรามักจะได้ยินคำว่ารอยเลื่อนบ้าง หรือไม่ก็รอยเลื่อนมีพลังบ้าง ซึ่งดูผิวเผินก็เหมือนจะเหมือนกันแต่เอาเข้าจริงๆ ก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน คำว่า รอยเลื่อน (fault) จริงๆ แล้วมีศักดิ์เป็นแค่ 1 ใน 3 รูปแบบหลักๆ ของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ซึ่งหมายถึงแนวรอยแตกของหินที่มีการเลื่อนหรือขยับตัวมาแล้วในอดีต และส่วนใหญ่ก็นิยมใช้ไปในทางอธิบายความเหลื่อมหรือไม่ลงรอยกันของหินที่พบในแต่ละพื้นที่ จนบางครั้งนักธรณีวิทยาก็ใช่คำว่า ...
เรียนรู้

ก่อนจะเดทกับแผ่นดินไหว ควรแต่งเนื้อแต่งตัวยังไงดี

ว่ากันจริงๆ ก็เกือบจะทุกพื้นที่บนโลกที่มีโอกาสได้ออกเดทกับแผ่นดินไหว ซึ่งจากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ก็ทำให้เรารู้ว่าแผ่นดินไหวไม่ใช่ว่านึกอยากจะมาก็จะมา เพราะแผ่นดินไหวส่วนใหญ่มักจะมาตามนัด อย่างที่เราเรียกกันว่า คาบอุบัติซ้ำ (return period) ซึ่งพวกเราก็พอจะคาดจะเดากันได้ แต่ก็อีกนั่นแหละ เทคโนโลยีหรือวิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็ยังไม่ได้เทพถึงขั้นบอกได้ว่าแผ่นดินไหวจะมาวันพรุ่งนี้ช่วงบ่ายๆ ดังนั้นการแต่งเนื้อแต่งตัวเพื่อรอรับนัดแผ่นดินไหวจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ ทั้งนี้ก็เพื่อลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวให้ได้มากที่สุด เมื่อถึงวันนั้น วางแผนและทำข้อตกลงร่วมกัน ในระหว่างที่แผ่นดินไหวเค้ายังเดินทางมาไม่ถึง สิ่งที่พวกเราควรทำเป็นอันดับแรกคือควรมีการพูดคุย ซักซ้อมและจ่ายงานกัน ...
เรียนรู้

ภัยพิบัติจากภูเขาไฟ ซึ่งไม่ได้มีแค่ลาวา

การปะทุของภูเขาไฟถือเป็นอีกหนึ่งภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สามารถสร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สินและชีวิตให้กับมนุษย์ ซึ่งจากสถิติที่มีการบันทึกไว้พบว่าในช่วง 500 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เสียชีวิตจากภัยพิบัติภูเขาไฟมากกว่า 275,000 คน  เช่น ปี พ.ศ. 2426 ภูเขาไฟกรากะตัวทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เกิดปะทุขึ้นและมีผู้เสียชีวิต 36,000 คน หรือในปี พ.ศ. ...