เรียนรู้

Learn

เรียนรู้

บ่อน้ำบาดาลและผลกระทบจากการใช้น้ำใต้ดิน

บ่อน้ำบาดาล (groundwater well) คือ บ่อหรือหลุมที่มนุษย์ขุดหรือเจาะลึกลงไป เพื่อสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งโดยปกติโดยส่วนใหญ่เจาะให้ผ่าน ชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ใต้ระดับน้ำใต้ดิน การสร้างบ่อน้ำบาดาล ในการจัดสร้างบ่อน้ำบาดาลในแต่ละบ่อมีขั้นตอนในการทำงานอย่างน้อย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสำรวจแหล่งน้ำใต้ดิน (groundwater exploration) ในอดีตชาวบ้านสำรวจหาแหล่งน้ำใต้ดิน ...
เรียนรู้

กฏ 8 ข้อ การลำดับเรื่องราวทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นบนโลก

เนื่องจากมีเหตุการณ์ทางธรณีวิทยามากมายที่เกิดขึ้นตลอดช่วงอายุของโลก 4,600 ล้านปี จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถกำหนดอายุของทุกเหตุการณ์เป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ทั้งหมด ดังนั้น การกำหนดอายุสัมพัทธ์ (relative-age dating) หรือ การลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง จึงเป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาวิวัฒนาการและลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก ซึ่งเเพื่อที่จะจัดลำดับการเกิดก่อน-หลัง ของเหตุการณ์ต่างๆ ของโลก นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอแนวคิด การลำดับชั้นหิน (stratigraphy) เพื่อใช้เป็นหลักการเรียงลำดับเหตุการณ์ไว้อย่างน้อย 8 ...
เรียนรู้

ภัยพิบัติการทรุดตัวของพื้นดิน

การทรุดตัว (subsidence) เกิดขึ้นได้ทั้งเร็วและช้า และมีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งบางครั้งการทรุดตัวอาจครอบคลุมพื้นที่กว้างและทำให้เกิดภัยพิบัติ รูปแบบและสาเหตุการทรุดตัวจำแนกได้ 3 รูปแบบ 1) หลุมยุบ หลุมยุบ (sink hole) เป็นการทรุดตัวเนื่องจากการถล่มของโพรงใต้ดินอย่างทันทีทันใด ซึ่งโพรงเกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะหินปูนของน้ำใต้ดินจนกลายเป็นโพรงหรือถ้ำใต้ดิน โพรงภายในท่อลาวา หรือเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ...
เรียนรู้

ฟอสซิลและวิธีการเกิดฟอสซิล

ฟอสซิล (fossil) หรือ บรรพชีวิน หรือ ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ในบางสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซากสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจไม่ย่อยสลาย แต่จะถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นตะกอน กลายเป็นฟอสซิล ปัจจุบัน นักบรรพชีวิน (paleontologist) ใช้ฟอสซิลในการศึกษาประวัติความเป็นมาของพื้นที่ต่างๆ ซึ่งสามารถบอกได้ทั้งอายุหรือช่วงเวลาของเหตุการณ์ หรือบางครั้งอาจจะบอกถึงสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลานั้นด้วย ฟอสซิลดัชนี ...
เรียนรู้

13 เขตมุดตัวของเปลือกโลกในอาเซียน ตัวการที่ทำให้เกิดสึนามิ

ปัจจุบัน จากการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลด้านธรณีวิทยา ธรณีแปรสัณฐานและวิทยาคลื่นไหวสะเทือนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) หรือ อาเซียน (ASEAN) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่และกระทบกระทั่งกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น คือ แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate) อินโด-ออสเตรเลีย (Indo-Australian Plate) และแผ่นทะเลฟิลิปปินส์ (Philippine ...
เรียนรู้

หินตะกอนเคมี

โดยปกติถ้าพูดถึงหินตะกอน พวกเราอาจจะคิดว่าถ้าได้มองหินตะกอนไกล้ๆ เราก็จะเห็นเม็ดตะกอนเป็นเม็ดๆ จับตัวกันยู่ ซึ่งนั่นคือ หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ส่วน หินตะกอนเคมี (chemical sedimentary rock) หมายถึง หินตะกอนที่เกิดจากการตกตะกอนและสะสมตัวของตะกอนที่ถูกพัดพามาในรูปของสารละลายในน้ำ ซึ่งโดยส่วนใหญ่หินตะกอนเคมีแทบจะไม่สามรถมองเห็นเม็ดของตะกอนได้เลยด้วยตาเปล่า ทั้งนี้เนื่อจากตะกอนมีขนาดเล็กมาก แต่อาจมองเห็นเม็ดของแร่ได้หากส่องดูภายใต้กล้องจลทรรศน์ ในธรรมชาติ ...
เรียนรู้

การป้องกันชายฝั่ง

ไม่ว่าจะด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกตามธรรมชาติหรือวัฏจักร หรือว่าการรุกล้ำของมนุษย์ แต่สภาพบริเวณชายฝั่งปัจจุบันในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก พบว่าบางพื้นที่สิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือพื้นที่ที่มนุษย์เคยจับจอง กำลังถูกทำลายหรือยึดคืนพื้นที่ด้วยกระแสน้ำริมฝั่งทะเล อย่างที่เราเรียกกันว่า ภัยพิบัติการกัดเซาะชายฝั่ง (coastal erosion) ซึ่งจากความหวงแหนของมนุษย์เอง ทำให้มีการคิดหาวิธีป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นในหลากหลารูปแบบ ตามปัญหาหรือลีลาการกัดเซาะของโลกในแต่ละพื้นที่ 1) กำแพงกันคลื่น กำแพงกันคลื่น (seawall) กำแพงมีทั้งเป็นหินและเป็นคอนกรีต แต่ในบ้างพื้นที่กลับพบว่าการทำกำแพงจะเร่งอัตราการผุพังให้สูงขึ้น ...
เรียนรู้

หินตะกอนเนื้อเม็ด

หินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic หรือ detrital sedimentary rock) เกิดโดยการทับถมของตะกอนขนาดต่างๆ และแข็งตัวกลายเป็นหิน หรือ การก่อตัวใหม่ (diagenesis) ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เคมีหรือทางชีวภาพของตะกอน ตั้งแต่ตะกอนเริ่มสะสมตัวจนกระทั่งกลายเป็นหิน ซึ่งกระบวนการก่อตัวใหม่ของตะกอนจนกลายเป็นหินประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก 1) การอัดแน่น ...
เรียนรู้

บนโลกใบนี้ เศษตะกอนไปตกอยู่ตรงไหนได้บ้าง

เมื่อหินก้อนใหญ่ๆ ผ่าน กระบวนการผุพัง (weathering) เศษหินที่แตกหลุดออกมาจะถูกพัดพาจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำด้วยตัวกลางชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกเอง น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อตะกอนเดินทางไปสู่สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมหรือตัวกลางการพัดพาอ่อนกำลังลง ตะกอนก็จะเริ่มตกสะสมตัว การตกตะกอน (sedimentary deposition) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเมื่อปัจจัยการพัดพาชนิดต่างๆ ลดพลังงานลงถึงระดับที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตะกอนต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของตะกอนตามธารน้ำ ตะกอนแต่ละขนาดจะสัมพันธ์กับความเร็วของน้ำที่จะทำให้ตะกอนนั้น สามารถถูกพัดพาต่อไปได้หรือตกสะสมตัวที่แตกต่างกัน การตกตะกอนโดยส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่หรือภูมิประเทศที่ต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง ...
เรียนรู้

ขอบทวีป ในทางธรณีวิทยาไม่ใช่ริมทะเล

ขอบทวีป (continental margin) ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงริมชายฝั่งทะเล แต่ขอบทวีปในที่นี้หมายถึง ขอบระหว่างแผ่นเปลือกโลกทวีปกับแผ่นดเปลือกโลกมหาสมุทร จากการศึกษาลักษณะภูมิประเทศของพื้นมหาสมุทร (bathymetry) นักธรณีวิทยาจำแนกขอบทวีปออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ขอบทวีปสถิต (passive continental margin) และ 2) ขอบทวีปจลน์ ...
เรียนรู้

ถ้ำมอง อย่างนักธรณีวิทยาแผ่นดินไหว

พวกเราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมในหนังจักรๆ วงศ์ๆ ของไทย หรือหนังกำลังภายในของจีน ทั้งจอมยุทธ์และฤๅษีต้องหนีไปอยู่ในถ้ำ ใช่ครับ !!! นั่นก็เพราะว่าถ้ำเป็นสถานที่สงบ ไม่มีสิ่งเย้ายวน ซึ่งด้วยคุณสมบัติพิเศษแบบนี้ที่มีอยู่เกือบทุกถ้ำ นอกจากจะเป็นที่พักใจของฤๅษี ชี พราหมณ์แล้ว ถ้ำก็เหมือนกับแคปซูลเวลาชั้นดี ที่คอยเก็บบันทึกเรื่องราวของโลกไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอดีต (Lachniet, 2009) หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ๆ ...
เรียนรู้

เครื่องจับแผ่นดินไหวแรกของโลก กับความคูลของคุณปู่จาง

ย้อนอดีตกลับไปในสมัยราชวงศ์ฮั่น ด้วยความเก่งกล้าสามารถของฮ่องเต้ในยุคนั้น ทำให้ราชวงศ์ฮั่นสามารถรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นแผ่ไพศาลไปเกือบทั่วประเทศจีนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ด้วยธรรมชาติของธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ในพื้นที่ ทำให้อาณาจักรฮั่นเกิดแรงสั่นบ่อยครั้งจากแผ่นดินไหว และประชาชนของฮ่องเต้ก็ได้รับทุกข์เข็ญให้เห็นกันอยู่เนืองๆ ด้วยคอนเซ็ปของฮ่องเต้ที่ต้องบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน ฮ่องเต้จึงมีรับสั่งให้เจ้าเมืองต่างๆ ต้องส่งข่าวโดยเร็วเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งกรรมก็มาตกลงตรงที่ ม้าเร็วต้องคอยคาบข่าวควบเข้าเมือง อย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งช่วงแรกก็โอเคดีตามแรงม้า แต่พอยืนระยะยาวๆ ม้าเหนื่อย ม้าเริ่มท้อแท้ ...
เรียนรู้

การกัดกร่อนในทะเลทราย

อย่า่งที่รู้กันว่าทะเลทรายเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งและมีสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว ดังนั้นกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทะเลทรายจึงสร้างลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจพอสมควร ในส่วนของการกัดกร่อนในทะเลทราย สามารถจำแนกจากปัจจัยของการกัดกร่อนได้ 2 ปัจจัย คือ ลมและน้ำ ซึ่งแต่ละแบบก็มีพฤติกรรมและลักษณะที่เกิดจากการกัดกร่อนที่แตกต่างกันทั้งระหว่างน้ำและลม และที่สำคัญแตกต่างจากการกัดกร่อนในสภาพแวดล้อมอื่นๆ ของโลก การกัดกร่อนโดยลม นักวิทยาศาสตร์จำแนกรูปแบบการกัดกร่อนและพัดพาตะกอนโดยลมออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การคืบคลาน (creep) ...
เรียนรู้

แร่ประกอบหิน

แร่ (mineral) หมายถึง ธาตุ หรือ สารประกอบ ของแข็งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีโครงสร้างผลึกคงที่ มีสูตรเคมีแน่นอน และมีคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและเคมีที่เฉพาะตัว เช่น แร่ทองคำ แร่ควอตซ์ เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์จำแนกแร่ตามมูลค่าออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) แร่เศรษฐกิจ ...
เรียนรู้

มีวิธีไหนบ้างที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงได้

ธรณีแปรสัณฐาน กระบวนการธรณีแปรสัณฐาน (tectonic activity) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบระยะยาว ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีแปรสัณฐานในแต่ละรูปแบบ 1) การเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นเปลือกโลก ทำให้ภูมิประเทศยกตัวสูงขึ้นเป็นภูเขา ซึ่งหากภูเขาสูงเกินเส้นแบ่งหิมะ สภาพภูมิอากาศจะกลายเป็นแบบหนาวเย็นและปกคลุมไปด้วยหิมะ นอกจากนี้การยกตัวของภูเขายังทำให้ความชันของพื้นที่สูงขึ้น อัตราการผุพังสูงขึ้น ทำให้เกิดเศษหินเพิ่มมากขึ้น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดต่ำลง ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศโดยรวมนั้นเย็นตัวลง เช่น การยกตัวของเทือกเขาหิมาลัยทำให้มหายุคซีโนโซอิกเย็นขึ้น 2) การแยกออกจากกันของแผ่นเปลือกโลก ...
เรียนรู้

สิ่งที่ภูเขาไฟผุยออกมา ไม่ได้มีลาวาแค่อย่างเดียว

กรวดภูเขาไฟ กรวดภูเขาไฟ (pyroclastic) คือ เศษหินเดิมของปากปล่องภูเขาไฟที่ระเบิดออกมาจากการปะทุของภูเขาไฟอย่างรุนแรงของลาวาที่มีความหนืดสูง ทำให้ได้ชิ้นส่วนที่มีขนาด รูปร่าง และเนื้อหินที่แตกต่างกัน ซึ่งนักธรณีวิทยาจำแนกกรวดภูเขาไฟตามขนาด ดังแสดงในตารางด้านล่าง ชนิด ขนาด (มม.) ลักษณะเฉพาะ ฝุ่นภูเขาไฟ (dust)  < 0.2 ฟุ้งได้ไกลและอยู่ในอากาศได้นาน เถ้าภูเขาไฟ ...
เรียนรู้

โลกสร้างแผ่นดินไหวได้ยังไงบ้าง

แผ่นดินไหว (earthquake) หมายถึง แรงสั่นสะเทือนของพื้นผิวโลกซึ่งกระทบต่อความรู้สึกหรือสร้างความเสียหายต่อของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จำแนกกระบวนการทางธรรมชาติที่สามารถทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวไว้หลายรูปแบบ ทั้งที่เกิดบ่อยจนเอือมระอาไปจนถึงพูดไปก็เหมือนจะโม้ เราลองมาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรได้บ้าง ธรณีแปรสัณฐาน แนวคิด ธรณีแปรสัณฐาน (tectonics) หรือจะเรียกทับศัพท์ไปเลยก็ได้ว่า “เทคโทนิคส์” เชื่อว่าโลกของเรานั้นสามารถแบ่งย่อยได้เป็นชั้นๆ ตามคุณสมบัติทางกายภาพ โดยที่ชั้นนอกสุดนั้นมีสถานะเป็นของแข็งเรียกว่า เปลือกโลก (crust) ซึ่งแตกเป็นแผ่นๆ ลอยอยู่บนส่วนที่เป็นเนื้อโลก ...
เรียนรู้

6 สภาพแวดล้อม ที่ทำให้หินแข็งๆ แปรสภาพได้

จากลักษณะการแปรสภาพหินประกอบกับลักษณะทางธรณีวิทยาและธรณีแปรสัณฐานที่หินแปรชนิดต่างๆ นั้นถูกพบ นักธรณีวิทยาสามารถจำแนกสภาพแวดล้อมของการแปรสภาพเป็น 6 รูปแบบ 1) แปรจากสารละลายน้ำร้อน การแปรสภาพจากสารละลายน้ำร้อน (hydrothermal metamorphism) พบมากแถบสันเขากลางมหาสมุทร โดยน้ำทะเลไหลแทรกซึมลงไปตามแนวรอยแตกของสันเขากลางมหาสมุทร น้ำได้รับความร้อนจากมวลแมกมาใต้พื้นผิวโลกและทำละลายกับหินในแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร เกิดเป็น สารละลายน้ำร้อน (hydrothermal solution) ที่มีไอออนชนิดต่างๆ และก๊าซจากหินหนืดผสมกัน พุ่งขึ้นมาบนพื้นผิวโลกในรูปของ ...
เรียนรู้

6 ลีลาโลก กับการสร้างภูเขา

หากพิจารณา พื้นทวีป (continent) นักวิทยาศาสตร์พบว่าประกอบด้วย ภูมิประเทศทางธรณีวิทยา (terrain) 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) หินฐานทวีป (continental shield) หมายถึง พื้นทวีปราบเรียบ ที่มีความแตกต่างของระดับความสูงน้อย และระดับความสูงโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล หินฐานทวีปโดยส่วนใหญ่อยู่บริเวณกลางทวีป ประกอบด้วยหินอัคนีและหินแปรในยุคเก่า (โดยส่วนใหญ่มีอายุหินมากกว่า ...
เรียนรู้

รู้จัก 14 เศษซาก จากการปะทุและแทรกดันของแมกมา

ภูมิลักษณ์ (landform) ในทางวิชาการหมายถึง รูปทรงหรือรูปร่างของสิ่งใดๆ ที่แสดงออกมาในลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการแทรกดันเข้ามาในเปลือกโลก หรือการปะทุขึ้นมาบนพื้นโลกของแมกมา ล้วนทำให้เกิดภูมิลักษณ์ที่โดดเด่นและมีรูปทรงที่เฉพาะตัว ซึ่งนักธรณีวิทยาได้จัดจำแนกภูมิลักษณ์หรือเศษซากของแมกมาในอดีตออกเป็น 14 อย่า่ง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้พวกเราสามารถมองเห็นอดีตชัด นึกภาพออกหรือเข้าใจได้ตรงกันเวลาใครพบเจอแล้วเอาเล่าสู่กันฟัง ภูมิลักษณ์จากการปะทุ 1) ปล่องภูเขาไฟ (crater) เกิดจากการปะทุอย่างรุนแรง ทำให้เศษกรวดภูเขาไฟ กระเด็นออกจากปากปล่องกลายเป็นแอ่ง ...