เรียนรู้

Learn

เรียนรู้

เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว (Seismometer)

นึกภาพตามนะครับ ถ้าเราจะวัดความเร็วของรถไฟโดยจับคนวัดไปนั่งอยู่บนรถไฟ ถามว่าผลจะออกมาแบบไหน คำตอบคือคนวัดคงนั่งงง วัดอะไรไม่ได้เลย เพราะทั้งรถทั้งคนก็วิ่งไปพร้อมๆ กันด้วยความเร็วของรถไฟ เว้นเสียแต่คนวัดจะลงจากรถไฟมานั่งนิ่งๆ มองรถไฟวิ่งผ่านหน้าไป ก็คงพอจะเดาได้ว่ารถไฟกำลังวิ่งฉึกฉักหวานเย็น หรือวิ่งฟิ้ววววแบบไม่เห็นฝุ่น ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเราจะวัดแรงสั่นสะเทือนของโลกโดยที่เราไม่สั่นไปพร้อมกับโลก เราคงต้องลอยนิ่งๆ เหนือพื้นโลกแล้วค่อยวัด จึงจะได้ระดับการสั่นไหวของโลกที่ถูกต้องจริงๆ ซึ่งไม่คุ้มแน่ๆ ถ้าจะต้องลงทุนกันขนาดนั้น นักแผ่นดินไหวจึงพยายามหาทางเลือกใหม่ ที่จะวัดแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวโดยที่ตัววัดยังคงอยู่แบบนิ่งๆ ...
เรียนรู้

การวิเคราะห์และคัดกรองแผ่นดินไหวที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์

นอกจากแผ่นดินไหวทั่วไปที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เหตุการณ์แผ่นดินไหวบางส่วนที่บันทึกไว้ได้ในปัจจุบันก็เป็น แผ่นดินไหวจากกิจกรรมมนุษย์ (man-made earthquake) เช่น การทดสอบระเบิดนิวเคลียร์หรือการระเบิดเพื่อทำเหมืองแร่ ซึ่งหากมีข้อมูลแผ่นดินไหวจากกิจกรรมมนุษย์ดังกล่าวปนเปื้อนอยู่ในฐานข้อมูลแผ่นดินไหว มักจะทำให้การวิเคราะห์พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐานมีความคลาดเคลื่อน เช่น การประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคตจาก การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งนักแผ่นดินไหวหลายกลุ่ม (Zuniga และ Wyss, 1995; Toda และคณะ, 1998; ...
เรียนรู้

วิทยาศาสตร์โลก (Earth Science) และลูกๆ ของเขา

ความเชื่อเกี่ยวกับโลกในอดีต ในอดีตการศึกษาเกี่ยวกับโลกมีวิวัฒนาการมาจากการพัฒนาลัทธิความเชื่อ 3 ลัทธิ ได้แก่ 1) ลัทธิความหายนะ (Catastrophism) เกิดขึ้นในสมัยโบราณ โดยเชื่อว่าโลกเกิดขึ้นมาอย่างลี้ลับ เหนือความเข้าใจของมนุษย์ ทุกอย่างในโลกเกิดจากปรากฏการณ์ที่รุนแรงและรวดเร็ว ซึ่งลัทธินี้สอดคล้องกับหลักการทางศาสนาคริสต์ซึ่งเจริญรุ่งเรื่องในยุคนั้น 2) ลัทธิดุลยภาพ (Uniformitarianism) นำเสนอเป็นครั้งแรกโดย เจมส์ ฮัทตัน (Hutton ...
เรียนรู้

ทรายพุและโคลนภูเขาไฟ

ทรายพุ (Liquefaction) ทรายพุ (liquefaction) หรือ ทรายเดือด (sand boil) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่อาจจะดูแปลกตาสำหรับใครหลายๆ คน แต่ในเชิงของภัยพิบัติ ทรายพุถือเป็นภัยพิบัติประเภทหนึ่งที่มีโอกาสสร้างผลกระทบให้กับมนุษย์ได้ หากทรายพุที่ว่ามีขนาดหรือสเกลใหญ่ๆ ซึ่งกระบวนการเกิดทรายพุเกิดจากพฤติกรรมเฉพาะของชั้นทรายชุ่มน้ำ ที่เมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทรายจะสามารถเคลื่อนตัว แทรกดันและพุ่งขึ้นมาบนพื้นผิวโลกได้ และจากหลักคิดง่ายๆ ถ้าทรายบางส่วนผุดขึ้นมา ก็ต้องมีบางส่วนที่ต้องลงไปแทนที่ ...
เรียนรู้

การหาอายุทางธรณีวิทยาและโบราณคดีจากสัญญาณสนามแม่เหล็กโลกบรรพกาล

จากการศึกษาโครงสร้างภายในโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีสถานะเป็นของเหลว และมีธาตุเหล็กซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี เป็นองค์ประกอบสำคัญของแก่นโลก และเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้ของเหลวในแก่นโลกชั้นนอกไหลเวียน (Jacobson, 1975) และผลิต สนามแม่เหล็ก (magnetic field) ตามหลักการพื้นฐานที่นำเสนอโดยไมเคิล ฟาราเดย์ (Faraday M.) ...
เรียนรู้

การประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหว (Seismic Hazard Analysis)

นิยาม โดยคำจำกัดความ คำว่า ภัยพิบัติแผ่นดินไหว (seismic hazard) หมายถึง ระดับแรงสั่นสะเทือนของพื้นดินในแต่ละพื้นที่ ในขณะที่คำว่า เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว (seismic risk) หมายถึง ระดับความเสี่ยงภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ ซึ่งประเมินจากมูลค่าหรือความสำคัญของชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีโอกาสได้รับภัยพิบัติแผ่นดินไหว ดังนั้นในทาง วิทยาคลื่นไหวสะเทือน หรือ แผ่นดินไหววิทยา (seismology) ...
เรียนรู้

การเกิดแหล่งแร่เบื้องต้น

แหล่งแร่ (mineral deposit) หมายถึง พื้นที่ใดๆ ที่มีแร่สะสมตัวในปริมาณที่สูงกว่าปกติ ไม่จำเป็นต้องมีปริมาณเพียงพอในทางเศรษฐศาสตร์ก็ได้ ซึ่งมีความหมายแตกต่างจากคำว่า แหล่งสินแร่ (ore deposit) ที่หมายถึง แหล่งแร่ที่มีปริมาณมากพอที่จะนำออกมาใช้ประโยชน์ได้โดยมีกำไร นักธรณีวิทยาจำแนกชนิดแหล่งแร่ตามรูปแบบการสะสมตัวได้หลากหลายรูปแบบโดยในเบื้องต้น ได้แก่ 1) แหล่งแร่แบบฝังประ แหล่งแร่แบบฝังประ (disseminated deposit) ...
เรียนรู้

ภูมิลักษณ์จากการกัดกร่อนโดยธารน้ำแข็ง

ในธรรมชาติ พื้นที่ที่จะเกิดธารน้ำแข็งได้มีอยู่ 2 พื้นที่ใหญ่ๆ คือ 1) ธารน้ำแข็งพื้นทวีป (continental glacier) ซึ่งอยู่ที่ขั้วโลกทั้ง 2 ขั้ว และ 2) ธารน้ำแข็งภูเขา (mountain glacier) ซึ่งอยู่ตามบริเวณเทือกเขาที่มีระดับความสูงพอที่จะทำให้อากาศเย็นและเกิดการสะสมตัวของธารน้ำแข็งได้ ซึ่งในกรณีของธารน้ำแข็งพื้นทวีป น้ำแข็งส่วนใหญ่จะมีความชันต่ำ ทำให้การเคลื่อนที่เป็นไปได้ช้า ...
เรียนรู้

ชั้นน้ำใต้ดินและการเคลื่อนที่

จากคุณสมบัติ ความพรุน (porosity) และ ความสามารถในการซึมผ่าน (permiability) ของชั้นดินหรือชั้นหินในแต่ละพื้นที่ นักธรณีวิทยาจำแนกชั้นหินตามศักยภาพในการเป็นชั้นน้ำบาดาลออกเป็น 2 ชนิด หลักๆ 1) ชั้นหินต้านน้ำ (aquitard) คือ ชั้นหินที่มีความสามารถในการซึมผ่านได้ต่ำหรือไม่สามารถซึมผ่านได้เลย เช่น ชั้นหินดินดานหรือหินแปรเนื้อแน่น 2) ชั้นหินอุ้มน้ำ ...
เรียนรู้

ฝั่ง . หาด . ชายฝั่ง . ชายหาด ต่างกันยังไง

ถ้าจะเรียกแบบเหมาๆ ริมทะเล ถือเป็นพื้นที่สำคัญพื้นที่หนึ่งของมนุษย์ ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สันทนาการ พักผ่อนหย่อนใจ หรือแม้กระทั่งภัยพิบัติที่น้ำทะเลทำกับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น สึนามิ คลื่นพายุซัดฝั่ง การกัดเซาะชาายฝั่ง ทั้งหมดทั้งมวลก็ล้วนแต่เกิดขึ้นบริเวณริมทะเลนี้ทั้งนั้น และในทางปฏิบัติเวลาเราจะนัดหรือชวนใครไปที่ริมทะเล เราก็จะเรียกริมทะเลนั้นแตกต่างกัน ตามความคุ้นชินของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็น ฝั่ง ชายฝั่ง หาด ชายหาด ...
เรียนรู้

ความรู้พื้นๆ ของน้ำใต้ดิน

น้ำใต้ดิน (groundwater) คือ น้ำที่ได้จากการซึมผ่านของ น้ำผิวดิน (surface water) และถูกกักเก็บอยู่ใต้ดินตามช่องว่างระหว่างเม็ดตะกอน รวมทั้งโพรงหรือรอยแตกของหินใต้ดิน ซึ่งถึงแม้ว่าโดยสัดส่วนของน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก น้ำใต้ดินจะมีปริมาณเพียง 0.62% ของน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก แต่น้ำใต้ดินถือเป็นทรัพยากรแหล่งน้ำบริสุทธิ์ที่สำคัญแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์ ซึ่งหากพิจารณาเรื่องแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดินเป็นเกณฑ์ นักวิทยาศาสตร์จำแนกชั้นดินหรือชั้นหินใต้พื้นผิวโลกออกเป็น 2 โซน 1) โซนอิ่มอากาศ ...
เรียนรู้

การจัดระบบและจัดจำแนกรูปแบบธารน้ำในธรรมชาติ

ระบบธารน้ำ เนื่องจากธารน้ำในธรรมชาติจะประกอบด้วยธารน้ำสาขาจำนวนมากที่ไหลลงมารวมกัน ดังนั้นเพื่อให้มีการทำความเข้าใจตรงกันในการสื่อสารในการบริหารจัดการน้ำ นักอุทกวิทยาจึงมีหลักการในการ ลำดับธารน้ำ (stream order) อย่างเป็นระบบ เรียกว่า ระบบธารน้ำ (drainage system) โดยกำหนดให้ธารน้ำที่ไหลออกจากต้นน้ำหรือแหล่งกำเนิด เรียกว่า ธารน้ำสาขาที่ 1 (1st order stream) ซึ่งต่อมาเมื่อไหลมาบรรจบกับธารน้ำอื่น ...
เรียนรู้

เคล็ดลับการทำเบบี้เฟสหนังหน้าโลก

ถ้าลองเปรียบเทียบกันระหว่างพื้นผิวของโลกและดวงจันทร์ มันก็เหมือนการเอาหน้าลุงแก่ๆ คนหนึ่งมาเทียบกับหน้าของเด็กวัยขบเผาะอายุซัก 14-15 ผิวหน้าโลกดูราบเรียบชุ่มชื้นและดูมีน้ำมีนวล ในขณะที่หนังหน้าของดวงจันทร์ดูแห้งกร้าน หยาบกระด้าง เพราะเต็มไปด้วยหลุม หรือริ้วรอยการตกกระทบของอุกกาบาต ตลอดช่วงอายุของดวงจันทร์ที่เกิดขึ้นมา จะว่าไปความเชื่อที่นักวิทยาศาสตร์เค้าเหลาๆ กันมา ก็บอกว่าโลกเกิดก่อนดวงจันทร์มาซักพัก ดังนั้นโลกก็ควรจะผ่านร้อนผ่านหนาวและควรจะมีร่องรอยของหลุมอุกกาบาตที่มากกว่านี้ อย่างน้อยๆ ก็ควรจะยุบยับพอๆ หรือเท่าๆ กับที่เราเห็นบนดวงจันทร์ ทำไมถึงคิดอย่างนั้นนะเหรอ ก็เพราะดวงจันทร์ถือเป็น ...
เรียนรู้

กลวิธีชี้เป้า (แผ่นดินไหว)

ด้วยความที่ช่างเจริญพันธุ์ของคลื่นไหวสะเทือนนี้ ทำให้แม้เกิดแผ่นดินไหวเพียงครั้งเดียว จะมี ลูกๆ หลานๆ คลื่น 4 ชุด วิ่งตามกันมา จวบจนเมื่อครอบครัวคลื่นวิ่งมาชนเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่เราวางดักไว้ คลื่นไหวสะเทือนจะถูกลอกลายลงบนกราฟบันทึกแผ่นดินไหวให้เราเห็นอย่างในรูปล่าง ด้วยความที่เกิดก่อน คลื่นรุ่นลูกอย่างพี่ปฐมจะวิ่งเข้าเส้นชัยถึงเครื่องวัดแผ่นดินไหวเป็นคลื่นแรก จากนั้นก็ตามมาด้วยน้องทุตยที่วิ่งช้ากว่า ส่วนคลื่นเลิฟจริงๆ ก็มีฝีเท้าพอๆ กับพี่ปฐม แต่เพราะเกิดมาทีหลังเป็นรุ่นหลาน เลยต้องวิ่งกวดตามมาทีหลังเป็นอันดับ 3 ...
เรียนรู้

การลำดับญาติ คลื่นแผ่นดินไหว

ถ้าจะให้ถูกต้องตามที่คนวงการแผ่นดินไหวเขาเรียกกัน คลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหว เขาเรียกกันว่า คลื่นไหวสะเทือน (seismic wave) แต่พวกเราจะเรียกคลื่นแผ่นดินไหว โดยส่วนตัวก็ไม่คิดว่าจะผิดอะไร ซึ่งโดยความหมาย คลื่นไหวสะเทือนก็คือคลื่นที่วิ่งอยู่ในตัวหรือบนพื้นผิวของโลก อันเป็นผลพวงมาจากพลังงานที่แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวนั้นปลดปล่อยออกมา โดยหลังจากที่เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวถูกพัฒนาขึ้นมาจนเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว กราฟแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ ทำให้เรารู้ว่าคลื่นไหวสะเทือนนั้น มีหน้าตาเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เมื่อเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง คลื่นจะไหลมาเทมาเป็นชุดๆ ชุดของคลื่นหลากสไตล์หลายลีลาปะปนกัน ลองมาดูกันครับว่า มีอะไรสอดไส้อยู่ในชุดคลื่นไหวสะเทือน ...
เรียนรู้

มนุษย์ก็สร้างแผ่นดินไหวได้

นอกจากกลไกของโลกที่ทำให้เกิด แผ่นดินไหวตามธรรมชาติ กิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ในปัจจุบัน ก็เป็นตัวสร้างหรือเหนี่ยวนำให้เกิดแผ่นดินไหว (induced earthquake) ได้เหมือนกัน เรียกว่าอยู่ดีไม่ว่าดี อยากมีแผ่นดินไหวเป็นของตัวเองซะอย่างงั้น ตัวอย่างก็พอจะมีให้เห็น การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ นับตั้งแต่การนำเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ โดยคุณลุงชาวเยอรมันที่ชื่อ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Einstein A.) และการยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยระเบิดนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น ...
เรียนรู้

ธารน้ำแข็งและการเกิด

ธารน้ำแข็ง (glacier) หมายถึง มวลน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่เกิดจากการสะสมตัวของหิมะบนแผ่นดินและเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำแข็งภายใต้สภาพอากาศหนาวเย็นเพียงพอที่จะรักษาสภาพไม่ให้น้ำแข็งละลายในฤดูร้อน ธารน้ำแข็ง (glacier) แตกต่างจากน้ำทะเลแถบขั้วโลกที่กลายเป็นน้ำแข็ง ซึ่งจะเรียกแตกต่างกันว่า น้ำแข็งทะเล (sea ice) และน้ำแข็งทั้งสองประเภทส่งผลกระทบต่อโลกแตกต่างกัน ธารน้ำแข็งละลายทำให้นำทะเลเปลี่ยนระดับ ส่วนน้ำแข็งทะเลละลาย ลดการสะท้อนกลับของแสงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลก กระบวนการเกิดน้ำแข็ง (glacial formation) เริ่มจากการสะสมตัวของ เกล็ดหิมะ ...
เรียนรู้

ธารน้ำแข็งพาตะกอนเอาไปกองไว้ตรงไหนบ้าง

โดยธรรมชาติ ธารน้ำแข็งสามารถกัดกร่อนและพัดพาตะกอนไปได้ในปริมาณมหาศาล ซึ่งตะกอนเหล่านี้จะเริ่มตกสะสมตัวเมื่อธารน้ำแข็งละลาย ทำให้บริเวณที่ตะกอนธารน้ำแข็งสะสมตัวเกิดเป็นภูมิลักษณ์เฉพาะตัว แปลกตา โดยตะกอนที่ได้จากการสะสมตัวจากธารน้ำแข็ง เรียกว่า ตะกอนธารน้ำแข็ง (glacial drift) แบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ 1) ตะกอนธารน้ำแข็งไม่แยกชั้น (unstratified drift) และ 2) ...
เรียนรู้

ลวดลายที่เราอาจพบได้ในหินตะกอน

ในบรรดาหินทั้ง 3 ชนิด (หินอัคนี หินตะกอนและหินแปร) หินตะกอน ถือเป็นหินที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ก็เพราะในหลายๆ กรณีหินตะกอนได้เก็บรักษาลักษณะโครงสร้างที่บ่งบอกถึงเหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมในระหว่างที่ตะกอนสะสมตัวในอดีตได้เป็นอย่างดีรวมทั้งซากสิ่งมีชีวิตที่ในหลายๆ ครั้งก็ถูกปิดเก็บไว้ภายในชั้นหินตะกอน ซึ่งลักษณะหรือโครงสร้างดังกล่าวมีหลากหลาย ซึ่งนักธรณีวิทยาจัดจำแนกเอาไว้อย่างน้อย 8 รูปแบบเด่นๆ ดังนี้ ชั้นตะกอน ตะกอน (bed) เกิดจากการตกทับถมของตะกอนเนื่องจากระดับพลังงานในการพัดพาที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถแยกชั้นได้ ...
เรียนรู้

5 ลางสังหรณ์ ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

การทำนายระยะสั้น (short-term prediction) เป็นการคาดการณ์การมาของแผ่นดินไหวในระดับวัน-เดือน ก่อนเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งก็อย่างที่รู้กันว่ากลไกการเกิดแผ่นดินไหวนั้นซับซ้อนมากและกว่าจะเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้งต้องมีส่วนผสมที่ลงตัว ทั้งเวลาการเก็บพลังงานที่เพียงพอ ชนิดของหินที่จะเป็นตัวบอกว่าแผ่นดินนั้นล๊อคกันได้นานแค่ไหน และอื่นๆ อีกจิปาถะ ถ้าต้องคิดเป็นสมการความสัมพันธ์ ก็คงต้องยาวเหยียด 3-4 หน้ากระดาษ ด้วยเหตุของความซับซ้อนนี้ ในบางครั้งนักแผ่นดินไหววิทยาจึงพยายามมองหา สัญญาณบอกเหตุ (precursor) หรือ ลางสังหรณ์ ...