เรียนรู้

ความเหมือนกันของแผ่นเปลือกโลกกับรถยนต์ยี่ห้อหนึ่ง

ถ้ายึดตามหลักทาง ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ส่วนนอกสุดของโลกคือ เปลือกโลก (crust) โดยในช่วง 200 ล้านปีก่อน มีแค่แผ่นเปลือกโลกแผ่นใหญ่เพียงแผ่นเดียวที่เรียกว่า มหาทวีปแพนเจีย (Pangaea Supercontinent) แต่ต่อมาแพนเจียเริ่มแตกและแยกออกจากกัน เคลื่อนที่ไปตามที่ต่างๆ ของโลก อย่างที่เราเห็นทวีปต่างๆ ในปัจจุบัน คำถามที่น่าสนใจคือ แผ่นเปลือกโลกเดิมๆ ...
เรียนรู้

ในวันที่ปิโตรเลียมและถ่านหินเริ่มร่อยหรอ เรายังมีทางไหนให้เลือกบ้าง

จะข่าวจริงหรือข่าวลวงก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ ช่วงนี้ข่าวค่อนข้างหนาหูว่าปิโตรเลียม (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) รวมทั้งถ่านหินที่มีในโลกกำลังใกล้จะถึงจุดหมายปลายทางในอีกไม่ช้า บางแหล่งคนรุ่นเราอาจจะได้เห็นน้ำมันหยดสุดท้ายถูกใช่ต่อหน้าต่อตาในขณะที่บางแหล่งก็อาจจะหมดชั่วลูกแต่ไปไม่ถึงชั่วหลาน จะเห็นได้ว่าปริมาณการใช้ทรัพยากรพลังงานยังคงที่อยู่ แต่ว่าทรัพยากรที่มีกลับเริ่มร่อยหรอขัดสน สถานการณ์แบบนี้ไม่ดีแน่ในอนาคต ถ้าเรายังคงหวังพึ่งทรัพยากรพลังงานแบบเดิมต่อไป พลังงานทางเลือก (alternative energy) คือพลังงานที่ไม่ได้ผลิตหรือสกัดมาจากทรัพยากรพลังงานทั่วไปอย่างปิโตรเลียมหรือถ่านหิน ถือเป็นพลังงานที่มีมากที่สุดในโลก บางอย่างสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ บางอย่างไม่มีวันหมด และส่วนใหญ่จัดเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจาการผลิตกระแสไฟฟ้าจาก ...
สำรวจ

ไวน์ . แมททิว . มอร์เลย์

ในช่วงที่กำลังเลือกหาหัวข้อเพื่อทำวิจัยปริญญาเอก เฟรเดริก ไวน์ (Frederick Vine) นักศึกษาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้มีโอกาสรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิดพื้นมหาสมุทรแผ่กว้าง (Sea-floor Spreading) ของแฮรี่ เฮสส์ ซึ่งมันทำให้เขาสนใจและอยากรู้ว่าบริเวณ แนวสันเขากลางมหาสมุทรนั้นเป็นต้นกำเนิดของการสร้างแผ่นมหาสมุทรใหม่จริงหรือไม่ และการเกิดใหม่ของแผ่นมหาสมุทรตรงแนวสันเขานี้ใช่ไหมที่ทำให้ทวีปต่างๆ เคลื่อนที่ได้อย่างที่อัลเฟรด เวเกเนอร์บอกผ่าน แนวคิดทวีปเคลื่อน ...
เรียนรู้

ทำความรู้จักระบบเตือนภัยสึนามิ ยามเฝ้าฝั่งที่ภาครัฐจัดเตรียมไว้ให้

ก็อย่างที่เรารู้กันดีว่าสึนามิเป็นภัยพิบัติที่ถ้าได้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ บทสรุปความเสียหายก็จะเป็นข่าวใหญ่เมื่อนั้น เพราะผลกระทบของสึนามิมักกินวงกว้างแบบข้ามฝั่งข้ามประเทศ และด้วยความที่ว่าถ้าสึนามิอยากจะมา เขาจะต้องได้มา ไม่มีทางยื้อ ยับยั้งหรือแคลเซิลได้เหมือนกับนัดเพื่อนนัดแฟน ดังนั้นการเตรียมแต่งตัวตั้งรับตั้งแต่เนิ่นๆ จึงดูจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการลดความสูญเสียของมนุษย์ ระบบเตือนภัยสึนามิ (Tsunami Warning System, TWS) เป็นระบบที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเอาไว้ตรวจจับและเตือนภัยสึนามิก่อนที่จะซัดเข้าฝั่ง ซึ่งเป็นความร่วมมือร่วมแรงกันของทั้งเครื่องมือตรวจวัดที่จะต้องเข้าไปอยู่ประชิดแหล่งกำเนิดสึนามิและระบบการส่งสารแบบความเร็วสูง ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็เพื่อที่จะให้มนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่บนฝั่งไหวตัวทันกันตั้งแต่สึนามิเริ่มเกิดขึ้นมา ให้มีเวลาพอที่จะเตรียมเนื้อเตรียมตัวอพยพ ระบบเตือนภัยสึนามิที่ดูจะทันสมัยที่สุดในตอนนี้คือ ระบบประเมินและรายงานสึนามิในมหาสมุทรลึก ...
เรียนรู้

ทรงตัวกันยังไง ถ้าแผ่นดินไหวมา

ในบรรดาภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว สึนามิหรือดินถล่ม ฯลฯ ดูเหมือนว่าแผ่นดินไหวจะเป็นภัยพิบัติที่เข้าประชิดตัวพวกเราได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างแผ่นดินไหว คนธรรมดาอย่างพวกเราจะออกอาการรนรานให้เห็น ยิ่งถ้ามีหลายคนรวมกัน ความรนรานก็อาจจะรวมตัวเป็นความโกลาหลครั้งใหญ่ เพราะอย่างนี้พวกเราจึงควรต้องมีการเตรียมพร้อมและทำข้อตกลงร่วมกันในวงคนหลายคนว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างแผ่นดินไหวขึ้นมาจริงๆ ใครจะไปทางไหน และใครมีหน้าที่ต้องทำอะไร บทความนี้เป็นแนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการถูกแผ่นดินไหวกระทำ ซึ่งเป็นแนวทางที่ประเทศญี่ปุ่นใช้เป็นหลักปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน อันที่จริงก็ไม่ได้มีอะไรที่สลับซับซ้อน และผมก็เชื่อว่าพวกเราแทบทุกคนก็คงรู้กันดีอยู่แล้ว ผมจึงแค่อยากสะกิดกันลืม เพื่อให้พวกเราสามารถตัดสินใจได้เฉียบคมและแม่นขึ้น ทันกับเวลาที่มีให้อย่างจำกัดก่อนที่แผ่นดินไหวจะมาถึง อยู่ในบ้าน ...
สำรวจ

ขยี้ 4 โอกาส (อันน้อยนิด) สึนามิขึ้นฝั่งอ่าวไทย

หลังจากภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ 2547 ซึ่งส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลอันดามันของไทย บทเรียนที่คนไทยได้รู้ในวันนั้นคือ สึนามิหน้าตาเป็นยังไงและน่ากลัวแค่ไหน แล้วก็พ่วงมาด้วยชุดความคิดที่ว่า อ้าว !!! แล้วอ่าวไทยของเราล่ะมีโอกาสโดนกับเขาไหม หลังจากเกิดสึนามิทางฝั่งทะเลอันดามันใหม่ๆ สภาพเศรษฐกิจในพื้นที่รอบชายฝั่งอ่าวไทยย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด พ่อค้าแม่ขายที่อาศัยชายหาดเป็นแหล่งทำมาหากินถึงกับบ่นอุบว่า สึนามิเกิดที่ฝั่งอันดามันแต่คนฝั่งอ่าวไทยก็แทบจะตายไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะคนไทยเกิดอาการแหยงทะเล ซึ่งถึงจะผ่านมานาน 10 กว่าปีแล้วก็ตาม ...
เรียนรู้

หินแปร-หินที่เปลี่ยนแค่หน้าตา แต่องค์ประกอบรวมยังเหมือนหินดั้งเดิม

หินแปร (metamorphic rock) คือหิน1 ใน 3 ชนิดหินหลักๆ (อัคนี ตะกอน แปร) เกิดจากความดันหรืออุณหภูมิเข้ามากระทำกับหินดั้งเดิมอะไรก็ได้ จนทำให้มีหน้าตาหรือการจัดเรียงตัวของแร่ภายในหินเปลี่ยนไป แต่ยังคงมีองค์ประกอบหรือสัดส่วนโดยรวมของแร่เหมือนกับ หินเดิมดั้งเดิม (potolith) ทุกประการ นักธรณีวิทยาจำแนกกินแปรตามลักษณะโครงสร้างหรือเนื้อหินได้ 2 ชนิด คือ ...
สำรวจ

รอยเลื่อนสะกาย – ยักษ์หลับกลางเมืองพม่า

ในบรรดารอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่คนไทยรู้จักกัน รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ถือเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้นๆ ในอาเซียนบ้านเรา ซึ่งจากการแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียม สันติ ภัยหลบลี้ และ สัณฑวัฒน์ สุขรังสี (2557) ประเมินว่ารอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอกประเทศพม่า และพาดผ่านแทบทุกเมืองที่สำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา ...
สำรวจ

นิทาน . ตำนาน . ความเชื่อ . แผ่นดินไหว

ในอดีต แนวคิดแบบเหตุและผลอย่างวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก คนโบราณจึงมักจะดำเนินชีวิตตามความเชื่อและความศรัทธาเป็นหลัก ปรากฏการณ์ธรรมชาติถูกผูกติดกับปาฏิหาริย์และอำนาจลึกลับ ผี เทพเจ้าและสรรพสัตว์ที่ดูน่าเกรงขามถูกบัญญัติขึ้น เพื่อเป็นตัวแทนของผู้ควบคุมปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งแผ่นดินไหว ข้อมูลจากเอกสารหลายๆ ฉบับ ยืนยันว่าในอดีต คนแทบทุกมุมโลกเคยสัมผัสกับแผ่นดินไหว ซึ่งจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้น จินตนาการและอารมณ์จึงถูกผสม นำมาใช้ประกอบการเล่าเรื่อง หลักคิดของชาวยุโรป ในอดีต ชาวกรีก เชื่อว่า ...
สำรวจ

วิกฤติน้ำโขงแห้งขอด กับกลิ่นการล่าแม่มดแบบอ่อนๆ

เดือนกรกฎาคม ปีพุทธศักราช 2562 บันทึกกันเอาไว้ได้เลยว่า แม่น้ำโขงเหือดแห้งที่สุด เท่าที่ชายวัยกลางคนคนหนึ่งเคยเห็นมา บางข่าวบอกว่าแห้งที่สุดในรอบ 10 ปี บ้างก็ว่า 40 ปี หรือในบางพื้นที่เคลมกันขนาดว่าในรอบ 100 ปี เพิ่งจะเคยได้เห็น ซึ่งก็จากปรากฏการณ์แม่โขงแห้งในครั้งนี้ ทำให้สังคมไทยเริ่มหันไปมองค้อนประเทศจีน ข่าวชาวบ้านในช่วงนี้ก็จะมีบรรยากาศการลงไปจับปลากลางลำน้ำโขงแบบง่ายๆ ในขณะที่เพจสายอนุรักษ์นิยมก็จะฟีดเรื่องราวการสร้างเขื่อนของจีน ...
วิจัย

ความเงียบงันบนรอยเลื่อนสะกาย ประเทศพม่า ซึ่งในทางแผ่นดินไหวถือว่าเป็นสัญญาณไม่ค่อยดี

ในบรรดารอยเลื่อนแผ่นดินไหวที่คนไทยรู้จักกัน รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ถือเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้นๆ ในอาเซียนบ้านเรา ซึ่งจากการแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียม สันติ ภัยหลบลี้ และ สัณฑวัฒน์ สุขรังสี (2557) ประเมินว่ารอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอกประเทศพม่า และพาดผ่านแทบทุกเมืองที่สำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา ...
เรียนรู้

6 รูปแบบภัยพิบัติจากการย้ายมวล กับความเข้าใจเรื่องดินถล่ม

การย้ายมวล อาจจะเป็นคำที่ดูแปลกๆ สำหรับคนทั่วไป แต่จริงๆ แล้วคำว่า การย้ายมวล (mass wasting) เป็นคำเฉพาะในทางธรณีวิทยาที่หมายถึง การเคลื่อนตัวของหิน ดิน โคลนรวมทั้งหิมะ ลงมาตามความลาดชัน หรือที่คนทั่วไปมักจะเรียกกันติดปากว่า ดินถล่ม ซึ่งเป็นกระบวนการที่โลกพยายามจะปรับสภาพพื้นผิวโลกที่สูงๆ ต่ำๆ เกลี่ยให้พื้นโลกมีระดับพอๆ กัน โดยหลายครั้งที่การย้ายมวล ...
สำรวจ

จากห้องทดลองสู่มหาสมุทร จากมหาวิทยาลัยสู่ดงสงคราม – ชีวิตที่ผกผันของผู้พันเฮสส์

แฮรีย์ เฮสส์ (Harry Hess) เกิดที่รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2449 เขาจบไฮสคูลที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ และเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเยล รัฐคอนเนตทิคัต ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ต่อมาเขาหันเหความสนใจย้ายไปเรียนและจบปริญญาตรี สาขาธรณีวิทยา (Geology) ในปี พ.ศ. 2470 ถือว่าเป็นบัณฑิตธรณีวิทยาคนแรกของมหาวิทยาลัยเยล ...
สำรวจ

4 หลักฐานชวนเชื่อ “ทวีปเคลื่อนที่ได้” กับความชอกช้ำของเวเกเนอร์

ต่อให้เป็นยุคนี้ พ.ศ. นี้ ถ้าเราพอจะนึกออกว่าแต่ละทวีปของโลกมันกว้างใหญ่แค่ไหน ใครจะไปกล้าคิดละว่าทวีปต่างๆ จะเคลื่อนที่ได้ แต่เชื่อไหมว่าถ้าย้อนกลับไปซักประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว มีชายเยอรมันคนหนึ่งที่คิดเรื่องพรรณนี้ อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Alfred Wegener) เป็นที่รู้จักในฐานะนักสำรวจขั้วโลกเหนือตัวยง ชีวิตของเขาส่วนใหญ่ก็เลยหนักไปทางสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ บนเกาะกรีนแลนด์ ทั้งในหมวกของนักธรณีวิทยาสำรวจหิน ดิน แร่ รวมไปถึงนักอุตุนิยมวิทยาที่คอยตรวจวัดสภาพอากาศในพื้นที่เขตหนาว ผลงานการสำรวจของเวเกเนอร์มีมากมายและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจากแวดวงวิทยาศาสตร์ ...
แผ่นดินไหว

แบบฝึกหัด 6 ระเบียบวิธีพื้นที่-เวลา-ความยาวรอยเลื่อน

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อเข้าใจนัยสำคัญของภาวะเงียบสงบและภาวะกระตุ้นแผ่นดินไหว เพื่อทราบพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนจากการวิเคราะห์คะแนน RTL เนื้อหา ระเบียบวิธีพื้นที่-เวลา-ความยาวรอยเลื่อน (RTL Algorithm) เกาะสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Island) รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ภาคเหนือของประเทศไทย (Northern Thailand) ภาคตะวันตกของประเทศไทย (Western Thailand) ...
แผ่นดินไหว

แบบฝึกหัด 5 การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อเข้าใจธรรมชาติการเกิดแผ่นดินไหวและนัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว เพื่อทราบพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคตในภูมิภาคอาเซียน จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว เนื้อหา การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดแผ่นดินไหว (Seismicity Rate Change) เกาะสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Island) แนวหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย (Indonesian Island Chain) รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ภาคเหนือของประเทศไทย ...
แผ่นดินไหว

แบบฝึกหัด 4 ความเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อเข้าใจธรรมชาติการเกิดแผ่นดินไหวในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างความถี่และขนาดแผ่นดินไหว เพื่อเข้าใจการประยุกต์ใช้ค่า b ในการศึกษาแรงเค้นทางธรณีแปรสัณฐาน เนื้อหา การเปลี่ยนแปลงค่า b (Variation of b Value) เกาะสุมาตรา-อันดามัน (Sumatra-Andaman Island) แนวหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย (Indonesian Island Chain) หมู่เกาะฟิลิปปินส์ ...
แผ่นดินไหว

แบบฝึกหัด 3 พฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหว

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวและขนาดแผ่นดินไหว เพื่อเข้าใจวิธีการประเมินพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวจากฐานข้อมูลแผ่นดินไหว เพื่อทราบพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวสำคัญในภูมิภาคอาเซียน เนื้อหา ความถี่-ขนาดแผ่นดินไหว (Frequency-Magnitude) แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุด (Maximum Magnitude) คาบอบุติซ้ำการเกิดแผ่นดินไหว (Return Period) โอกาสเกิดแผ่นดินไหว (Probability of Occurrence) ในแต่ละพื้นที่ย่อยของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวมีพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวเฉพาะตัว ซึ่งสามารถประเมินได้จากฐานข้อมูลแผ่นดินไหวที่มีความสมบูรณ์และสื่อถึงพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐานอย่างแท้จริง โดยผลการประเมินแสดงอยู่ในรูปแบบของ ...
แผ่นดินไหว

แบบฝึกหัด 2 ฐานข้อมูลแผ่นดินไหวและความสมบูรณ์

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อรู้จักบันทึกแผ่นดินไหวรูปแบบต่างๆ ฐานข้อมูลแผ่นดินไหวและแหล่งสืบค้นข้อมูลแผ่นดินไหว เพื่อเข้าใจข้อดี-ข้อจำกัดของฐานข้อมูลแผ่นดินไหว และตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับปรุง เพื่อทราบกระบวนการปรับปรุงฐานข้อมูลแผ่นดินไหว เนื้อหา บันทึกแผ่นดินไหว (Earthquake Record) การปรับเทียบมาตราขนาดแผ่นดินไหว (Magnitude Conversion) การจัดกลุ่มแผ่นดินไหว (Earthquake Clustering) แผ่นดินไหวจากกิจกรรมมนุษย์ (Man-made Earthquake) การเปลี่ยนแปลงระบบตรวจวัด ...
แผ่นดินไหว

แบบฝึกหัด 1 แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวในอาเซียน

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อเข้าใจสภาพแวดล้อมการเกิดแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับกระบวนการทางธรณีแปรสัณฐานในภูมิภาคอาเซียน เพื่อจำแนกแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวในภูมิภาคอาเซียน เพื่อทราบพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวของแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวในภูมิภาคอาเซียน เนื้อหา เขตมุดตัวของเปลือกโลก (Subduction Zone) รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ภาคเหนือของประเทศไทย (Northern Thailand) ภาคตะวันตกของประเทศไทย (Western Thailand) ภาคใต้ของประเทศไทย (Southern Thailand) ...