ภัยพิบัติการทรุดตัวของพื้นดิน

การทรุดตัว (subsidence) เกิดขึ้นได้ทั้งเร็วและช้า และมีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งบางครั้งการทรุดตัวอาจครอบคลุมพื้นที่กว้างและทำให้เกิดภัยพิบัติ รูปแบบและสาเหตุการทรุดตัวจำแนกได้ 3 รูปแบบ 1) หลุมยุบ หลุมยุบ (sink hole) เป็นการทรุดตัวเนื่องจากการถล่มของโพรงใต้ดินอย่างทันทีทันใด ซึ่งโพรงเกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติ เช่น การกัดเซาะหินปูนของน้ำใต้ดินจนกลายเป็นโพรงหรือถ้ำใต้ดิน โพรงภายในท่อลาวา หรือเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การทำเหมืองใต้ดิน เหมืองเกลือ การสูบน้ำหรือน้ำมันจากใต้ดินขึ้นมา โดยปกติหลุมยุบที่เกิดจากน้ำใต้ดินกัดเซาะหินปูนจะไม่ยุบเมื่อมีระดับน้ำใต้ดินสูง แต่เมื่อน้ำใต้ดินลดต่ำลง ไม่มีน้ำพยุงโครงสร้างของโพรงใต้ดิน อาจเกิดการถล่มได้ หรือหากมีการกระตุ้น เช่นแผ่นดินไหวก็สามารถทำให้โพรงใต้ดินถล่มได้ง่ายขึ้น หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.2 ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2547 เกิดหลุมยุบมากกว่า 30 ครั้ง ในช่วง 4-5 เดือน บริเวณภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย 2) การอัดตัวของตะกอน การอัดตัวของตะกอน (soil compaction) ตะกอนขนาดโคลนเมื่อมีน้ำเป็นองค์ประกอบจะเกาะกันอย่า … อ่านเพิ่มเติม ภัยพิบัติการทรุดตัวของพื้นดิน