รู้จัก “หิน ดำตับเป็ด” เห็นปุ๊บ-แก่ปั๊บ

หากอ่านแค่ชื่อบทความ หลายท่านคงจะตงิดอยู่ในใจว่า เรียนมาตั้งแต่เด็กยันโต คุณครูก็สอนแค่ หิน (rock) 3 ชนิด 1) หินอัคนี (igneous rock) 2) หินตะกอน (sedimentary rock) และ 3) หินแปร (metarmorphic rock) หรือถ้าจะแบ่งย่อยลงไปอีกหน่อย ก็อาจจะพอคลำๆ ได้ว่า หินแกรนิต หินทราย หินดินดาน หินอ่อน ฯลฯ ที่เหลือก็เวิ้งว้าง ตามแต่ภูมิรู้ของแต่ละคน อ้าว !!! แล้วไอ้ หินดำตับเป็ด ที่ว่านี้มันคือหินอะไร แล้วมันสำคัญตรงไหน บทความนี้ ตั้งใจที่จะแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จัก หิน อีกชนิด ที่ถึงจะไม่ได้เรียกว่า หินแปลกพิศดาร แต่ก็ถือว่าเป็นหินที่หาตัวจับได้ยาก จริงๆ แล้ว หินดำตับเป็ด คือ หินชนิดหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่ของแปลก หรือวัตถุเชิงอภินิหารอะไร แต่เป็นชื่อหินที่ในอดีตในวงการธรณีวิทยาใช้เรียกเชิงทีเล่นทีจริง เพื่อที่จะหมายถึงหินอัคนีสีเข้มจัด หรือ หินอัลตราเมฟิก (ultramafic rock) ท้าวความทบทวนกันก่อนว่า หินอัคนี (igneous) แบ่งตามกระบวนการเกิดได้ 2 ประเภท คือ 1) หินอัคนีบาดาล (plutonic rock) และ 2) หินอัคนีภูเขาไฟ (volcanic rock) หินอัคนีภูเขาไฟ คือเศษซากของแมกมาที่เย็นตัวหลังจากที่พุ่งทะลุผ่านผิวโลกออกมาแล้วเย็นตัว … อ่านเพิ่มเติม รู้จัก “หิน ดำตับเป็ด” เห็นปุ๊บ-แก่ปั๊บ