ความพิเศษของ “สึนามิ” ที่คลื่นน้ำอื่นๆ ไม่มี

ถ้าจะให้ไล่เรียงลีลาของโลกที่สามารถหอบมวลน้ำในทะเลซัดขึ้นมาบนฝั่งแบบสูงท่วมหัวหรือเป็นภัยพิบัติกับเราได้ จริงๆ แล้วมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น 1) คลื่นเซซแผ่นดินไหว (seismic seiches) 2) คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge) รวมทั้ง 3) สึนามิ (tsunami) ซึ่งคลื่นน้ำแต่ละแบบก็มีสาเหตุและพฤติกรรมเฉพาะตัวที่ส่งผลกระทบกับเราแตกต่างกัน คำว่า สึนามิ (tsunami) ถูกใช้อย่างคุ้นเคยกับคนญี่ปุ่นนานมากแล้ว เพื่อสื่อความหมายถึงคลื่นขนาดใหญ่ที่มักจะพบเห็นเป็นระยะๆ แถวท่าเรือหรือชายฝั่ง แต่สึนามิเพิ่งจะเริ่มปรากฏในภาษาอังกฤษเมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา จากรายงานในนิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิกว่า ในตอนเย็นของวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2439 พื้นที่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่นถูกคลื่นยักษ์ถล่ม ซึ่งคนญี่ปุ่นเรียกมันว่า สึนามิ (津波) และคำว่าสึนามิเป็นที่รุ้จักไปทั่วโลกก็เมื่อตอนที่เกิดเหตุกาณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.2 และสึนามิในมหาสมุทรอินเดียในปี พ.ศ. 2547 มีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศรอบมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์จากน้ำมือของสึนามิ สาเ … อ่านเพิ่มเติม ความพิเศษของ “สึนามิ” ที่คลื่นน้ำอื่นๆ ไม่มี