สภาพแวดล้อมทาง “ธรณีแปรสัณฐาน” ที่ทำให้เกิด “แผ่นดินไหว”

ปัจจุบันเมื่อมีการตรวจวัดและจดบันทึกเวลา ขนาด และตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวมากขึ้น สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ แผ่นดินไหวไม่ได้เกิดมั่วซํ่วไปทั่วโลก แต่จะมีการกระจายตัวของจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่เฉพาะเจาะจง จึงเกิดคำถามขึ้นว่าทำไมแผ่นดินไหวถึงได้เกิดเฉพาะบางพื้นที่ ซึ่งเมื่อนักธรณีวิทยาแผ่นดินไหวลองนำข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวมาเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์กับประเด็นต่างๆ ทางธรณีวิทยา พบว่าแผ่นดินไหวแทบทั้งหมดส่วนใหญ่เกิดบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก และสามารถอธิบายเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวได้ด้วยทฤษฏีที่เรียกว่า ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ซึ่งว่าด้วยเรื่องของการเคลื่อนตัวและกระทบกระทั่งกันของแผ่นเปลือกโลก ปัจจุบัน หลักฐานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า เปลือกโลก (crust) ซึ่งเป็นชั้นของแข็งชั้นนอกสุดของโลกไม่ได้เป็นผืนแผ่นดินเดียวกันทั้งหมด แต่แตกออกเป็นแผ่นย่อยและลอยอยู่บนชั้นเนื้อโลก (mantle) ที่มีสถานะเป็นของหนืด ซึ่งจากข้อมูลการกระจายตัวของภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) แผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีต รวมทั้งข้อมูลสนับสนุนทางธรณีวิทยาอื่นๆ นักธรณีวิทยาแบ่งขอบเขตและจำแนกแผ่นเปลือกโลกออกเป็น 14 แผ่น … อ่านเพิ่มเติม สภาพแวดล้อมทาง “ธรณีแปรสัณฐาน” ที่ทำให้เกิด “แผ่นดินไหว”