การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว

บทความนี้เริ่มต้นจากความสงสัยของผมเองเมื่อหลายปีก่อน ตอนที่ได้เห็นภาพถ่ายดาวเทียมของเมืองบันดาห์ อาเจะห์ (Banda Aceh) ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีการนำภาพมาเปรียบเทียบกันของสภาพก่อนและหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งในแวบแรกผมก็คิดแค่ว่าน้ำทะเลที่รุกล้ำเข้าไปในเกาะนั้นน่าจะเป็นผลพวงมาจากภัยพิบัติสึนามิ แต่เมื่อมีโอกาสได้นั่งคิดทบทวนอีกครั้งถึงภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้เห็น หนึ่งคำถามที่เกิดขึ้นในหัวคือ ภาพขวาเป็นภาพถ่ายที่สึนามิซัดเข้าฝั่งไปแล้วกว่า 2 วัน แล้วทำไมน้ำทะเลยังคงยึดพื้นที่ท่วมขังอยู่ ผมจึงเริ่มค้นหาข้อมูลที่พอเชื่อถือได้ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งคำตอบที่ได้ก็คือ ปรากกฎการณ์น้ำท่วมขังหลังเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แบบนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่มันเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของภัยพิบัติที่เป็นผลพวง พ่วงมากับแผ่นดินไหว กลไกการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่จากเขตมุดตัวของเปลือกโลก  ในทางธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) เมื่อมีการเคลื่อนที่ชนกัน แผ่นเปลือกโลกจะไม่สามารถเคลื่อนผ่านกันไปได้แบบลื่นปรื๊ด ลื่นปรื๊ด แต่จะมีการล๊อคหรือติดขัดกันบ้างในบางจังหวะ ท … อ่านเพิ่มเติม การปรับระดับพื้นโลก-ภัยพิบัติระยะยาวจากแผ่นดินไหว