สำรวจ

ชั้นหิน – ธรณีวิทยาพาเที่ยว EP. 20

ผาช่อ อุทยานแห่งชาติ แม่วาง ต. สันติสุข อ. ดอยหล่อ จ. เชียงใหม่ https://goo.gl/maps/FxgL8WJvdCjNrFir9

ผาช่อ จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างชั้นตะกอนขนาน

วัดภูทอก ต. นาแสง อ. ศรีวิไล จ. บึงกาฬ https://goo.gl/maps/DTCwT3wuvcg9fwU9A

ภูทอก จ. บึงกาฬ (ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/attraction/2212)

ผาสิงห์เหลียว ต. บ้านตาล อ. ฮอด จ. เชียงใหม่ https://goo.gl/maps/zQ9qDMR76BovrVRB7

ผาสิงห์เหลียว จ. เชียงใหม่ (ที่มา : https://thailandtourismdirectory.go.th/attraction/98855)

ภูกระดึง อ. ภูกระดึง จ. เลย
https://goo.gl/maps/BW1f74HsdwbHSfaG9

ภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ. เลย
ภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ. เลย
ลำดับชั้นหินในทางธรณีวิทยา ของภูกระดึง (ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี)

เพิ่มเติม : ชุดข้อมูลภูมิประเทศ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง (ไฟล์ Google Earth .kmz) ชุดข้อมูลเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาวิจัย และกิจการด้านการอนุรักษ์ของอุทยาน https://drive.google.com/drive/folders/16O3DE9Ftn3amsw7mPenw4El_AXby_tRK

ธรณีวิทยาน่าเล่า

ชั้นตะกอน (bed) เกิดจากการตกทับถมของตะกอนเนื่องจากระดับพลังงานในการพัดพาที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถแยกชั้นได้ หากชั้นตะกอนหนาน้อยกว่า 1 เซนติเมตร เรียกว่า ชั้นหินบาง (lamination) โดยการวางชั้นตะกอนแบ่งย่อยเป็น 3 ชนิด คือ

  • ชั้นตะกอนขนาน (parallel bed) เกิดจากการตกทับถมของตะกอนในสภาพแวดล้อมแบบเงียบสงบ เช่น ทะเลสาบหรือทะเลลึก ทำให้ตะกอนตกทับถมในแนวระนาบ โดยการสลับชั้นอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล หรือน้ำขึ้น-น้ำลง เป็นต้น 
กระบวนการเกิดและลักษณะการแยกชั้นตะกอนขนาน
ผาช่อ จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างชั้นตะกอนขนาน

การแยกชั้นตะกอนสามารถแยกได้ทั้งจากความแตกต่างของสี และการทนทานการกัดกร่อน

  • ชั้นตะกอนขวาง (cross bed) หมายถึง ชั้นหินตะกอนที่วางตัวเอียงมากกว่า 35 องศา เมื่อเปรียบเทียบกับชั้นตะกอนปกติข้างเคียง เกิดจากการพัดพาและเปลี่ยนทิศทางโดยน้ำหรือลม ทำให้ตะกอนตกเอียงเทไปในแนวตามกระแสน้ำหรือกระแสลม 
ชั้นตะกอนขวาง (cross bed) ในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • graded bed) หมายถึง ชั้นตะกอนขนานที่ภายในแต่ละชั้นมีการเรียงลำดับการตกทับถมตามขนาดตะกอน เกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ คือ 1) ตะกอนจากล่างขึ้นบนเรียงขนาดจากใหญ่ไปเล็ก (fining upward sequence) เช่น ตะกอนที่ได้จากกระแสน้ำไหลปั่นป่วน (turbidity current) และ 2) ตะกอนจากล่างขึ้นบนเรียงขนาดจากเล็กไปใหญ่ (croasening upward sequence) เช่น ตะกอนบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
ชั้นตะกอนเรียงขนาด (graded bed) แบบตะกอนจากล่างขึ้นบนเรียงขนาดจากใหญ่ไปเล็ก (fining upward sequence)

เพิ่มเติม : ลวดลายที่เราอาจพบได้ในหินตะกอน

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share: