สำรวจ

เสาดิน – เสาหิน เมืองไทย – ธรณีวิทยาพาเที่ยว EP. 13

แพะเมืองผี

แพะเมืองผี ต. น้ำชำ อ. เมืองแพร่ จ. แพร่ https://goo.gl/maps/XepS7VqRKMrYAMTx5

แพะเมืองผี จ. แพร่ (ที่มา : www.museumthailand.com)

เสาดินนาน้อย

เสาดินนาน้อย จ. น่าน (ที่มา : https://nantourism.go.th)

เสาดินนาน้อย ต. นาน้อย อ. นาน้อย จ. น่าน https://goo.gl/maps/csj63jr8VzAM3nhx8

ละลุ

ละลุ ต. ทัพราช อ. ตาพระยา จ. สระแก้ว https://goo.gl/maps/EfzCx2dFVumaFg6v8

ละลุ จ. สระแก้ว (ที่มา : https://m.pantip.com)

เสาเฉลียง

เสาเฉลียง ต. ห้วยไผ่ อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี https://goo.gl/maps/wjpPWLX47mBHEY1cA

เสาเฉลียง จ. อุบลราชธานี (ที่มา : https://cbtthailand.dasta.or.th)

เป็นเสาหินธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำและลมนับล้านปี มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย ซึ่งหินดังกล่าวจะปรากฏเห็นซากเปลือกหอย กรวด ทราย อยู่ในเนื้อหิน ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อประมาณล้านกว่าปีมาแล้ว บริเวณนี้คงจะเป็นทะเลมาก่อน ชาวบ้านบริเวณนี้เรียกเสาหินที่คล้ายดอกเห็ดนี้ว่า “เสาเฉลียง” ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “สะเลียง” ที่หมายถึง “เสาหิน” บริเวณนี้ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติให้นักท่องเที่ยวเดินเที่ยวชมแต่ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง

มอหินขาว

มอหินขาว อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ต. ท่าหินโงม อ. เมืองชัยภูมิ จ. ชัยภูมิ https://goo.gl/maps/5EB76ibt6uEnizfx7

มอหินขาว จ. ชัยภูมิ (ที่มา : www.sanook.com)

ธรณีวิทยาน่าเล่า

 การขัดสี (abrasion) 

ในทะเลทรายบางพื้นที่ซึ่งมีชั้นหินที่มีความทนทางการกัดกร่อนไม่เท่ากัน โดยชั้นหินที่ทนทานสูงปิดทับชั้นหินที่ถูกกัดกร่อนได้ง่าย ลมจะพัดผ่านและขัดสีส่วนที่กัดกร่อนได้ง่ายออก เกิดเป็น เสาหินทะเลทราย (yardang) 

แบบจำลองการเกิดและลักษณะปรากฏของเสาหินทะเลทราย

นอกจากนี้ยังสามารถพบลักษณะที่เรียกว่า กรวดต้องลม(ventifact) ซึ่งหมายถึงผิวกรวดหน้าเรียบ เกิดจากสภาวะที่หินวางตัวเสถียรก่อนการกัดกร่อน เมื่อลมพัดมาในทิศทางเดิม ตะกอนขนาดเล็กขัดสีหินเพียงด้านเดียวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่วนที่ถูกขัดสีนั้นมีผิวราบเรียบและมันวาว 

แบบจำลองการเกิดกรวดต้องลม 
ณะเฉพาะในทะเลทรายที่เกิดจากการขัดสีโดยกรวดและลม

อย่างไรก็ตาม ความมันวาวของหินในทะเลทราย ไม่ได้สื่อถึงกรวดต้องลมเสมอไป ในบางกรณีหินอาจมีสีดำมันเงาได้จากการระเหยของน้ำออกจากผิวหน้าของหินและเกิดการสะสมตัวของแร่แมงกานีสและเหล็กออกไซด์ การเคลือบหินด้วยแร่แมงกานีสและเหล็กออกไซด์ ซึ่งอยู่ในรูปของสารละลาย เรียกกระบวนการนี้ว่า การขัดมันทะเลทราย (desert vanish) 

การขัดมันทะเลทราย

เพิ่มเติม : การกัดกร่อนในทะเลทราย

การกัดกร่อนโดยน้ำ

ถึงแม้ว่าในทะเลทรายนั้นจะมีฝนตกน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับสภาพแวดล้อมอื่นๆ แต่เนื่องจากทะเลทรายนั้นไม่มีพืชคลุมดิน ทำให้ฝนที่ตกลงมานั้นไหลหลากอย่างรุนแรงในระยะเวลาอันสั้น เกิดการกัดกร่อนอย่างรุนแรงกับตะกอนทุกขนาด ซึ่งหลังจากน้ำซึมลงไปใต้ดิน จะยังคงสภาพการไหลของตะกอนคล้ายกับธารน้ำแต่อยู่ในสภาพที่แห้งแล้ง (dry wash) ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียก อาโรยอส (arroyo) แอฟริกาตอนเหนือเรียก วาดิ (Wadi) อเมริกาใต้เรียก ดองก้า (Donga) ส่วนอินเดียเรียก นุลลาห์ (Nullah) 

รูปแบบการกัดกร่อนโดยน้ำในทะเลทราย 

นอกจากนี้ในกรณีของพื้นที่เดิมเป็นที่ราบสูง และชั้นหินด้านบนเป็นหินที่ทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าชั้นหินด้านล่าง เมื่อเกิดการกัดเซาะจากน้ำ ทำให้เกิดเป็นภูเขายอดราบหลากหลายขนาด เช่น เนินเมซา (mesa) เนินยอดป้าน (butte) และแท่งหินสูงเรียว (pinnacle) เป็นต้น ลักษณะภูมิประเทศแบบนี้พบได้บริเวณรัฐยูทาห์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ภูมิลักษณ์ที่เกิดจากการกัดกร่อนโดยน้ำในทะเลทรายในรัฐยูท่าห์ สหรัฐอเมริกา 

ภูมิลักษณ์ที่เกิดจากการกัดกร่อนโดยน้ำในทะเลทรายในรัฐยูท่าห์ สหรัฐอเมริกา

. . .
บทความล่าสุด : www.mitrearth.org
เยี่ยมชม facebook : มิตรเอิร์ธ – mitrearth

Share: