หยาดน้ำฟ้า ไม่ได้มีแค่ฝนกับหิมะ

หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นชื่อเรียกรวมของหยดน้ำและน้ำแข็ง ที่เกิดจาการควบแน่นของ ละอองน้ำในเมฆ (cloud droplet) จนมีน้ำหนักพอที่จะตกตามแรงโน้มถ่วงของโลก โดยไม่ฟุ้งในอากาศ และไม่ระเหยไประหว่างที่กำลังตกลงมา ซึ่งโดยนิยาม หยาดน้ำฟ้าแตกต่างจากละอองน้ำในก้อนเมฆ ตรงที่หยาดน้ำมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากพอที่จะชนะแรงต้านอากาศ ดังนั้นกระบวนการเกิดหยาดน้ำฟ้าจึงซับซ้อนมากกว่าการควบแน่นที่ทำให้เกิดเมฆ และส่วนใหญ่เราจะคุ้นชินกับ ฝน (rain) หรือ หิมะ (snow) แต่ในทางอุตุนิยมวิทยา นักอุตุนิยมวิทยาจำแนกหยาดน้ำฟ้าออกเป็น 5-6 รูปแบบ ได้แก่ 1) ฝนละออง ฝนละออง (drizzle) คือ หยดน้ำขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่เกิดจากเมฆสเตรตัส หรือเมฆที่เป็นแผ่นบาง โดยละอองฝนมักตกต่อเนื่องนานหลายชั่วโมงบนยอดเขาสูง แตกต่างจากฝนตกแบบ ฝนไล่ช้างที่จะตกอย่างหนักเป็นระยะเวลาสั้นๆ 2) ฝน ฝน (rain) คือ หยดน้ำขนาด 0.5-5 มิลลิเมตร มักมาจาก เมฆนิมโบสเตรตัสและคิวมูโลนิมบัส ฝนเกิดจากอุณหภูมิอากาศลดถึง จุดน้ำค้าง (dew point) อากาศอิ่มตัว ควบแน่นโดยมี แกนควบแน่น (condensation nuclei) ช่วยไอน้ำเกาะเป็นหยดน้ำ เช่น ฝุ่น ควัน เกสรดอกไม … อ่านเพิ่มเติม หยาดน้ำฟ้า ไม่ได้มีแค่ฝนกับหิมะ