พายุ หมุนเขตร้อน

เรียบเรียง : ศิริลักษณ์ หล่อชื่นวงศ์ และ สันติ ภัยหลบลี้ พายุหมุนเขตร้อน (tropical cyclone) คือ พายุ ที่ก่อตัวในมหาสมุทรเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน (ละติจูด 30oN – 30oS) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงกว่า 26.5 oC ส่วนใหญ่มักเกิดช่วง ปลายฤดูร้อนของแต่ละซีกโลก เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลช่วงต้นฤดูจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มแตะระดับที่สูงกว่า 26.5 oC ในช่วงปลายฤดูร้อน น้ำในมหาสมุทรระเหยและลอยตัวขึ้น ทำให้เกิดศูนย์กลาง ความกดอากาศต่ำ (L) ส่งผลให้พื้นที่โดยรอบกลายเป็นพื้นที่ ความกดอากาศสูง (กว่า) (H) จึงมีลมแรงพัดเข้าสู่ศูนย์กลางด้วยความเร็วมากกว่า 115 กิโลเมตร ขณะเดียวกันศูนย์กลางความกดอากาศต่ำจะยกตัวสูงขึ้น และเย็นลงด้วยอัตราอะเดียเบติก (อุณหภูมิลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น) ทำให้เกิด เมฆ (clouds) และ หยาดน้ำฟ้า (pecipitation) ซึ่งในพื้นที่เปิดโล่ง ที่มีระบบการหมุนเวียนที่ดี เช่น กลางมหาสมุทร อาจทำให้ฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้างและคลื่นลมแรง พายุหมุนจะมีความรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับอัตราการลดลงของความกดอากาศ หากความกดอากาศลดลงอย่างรวดเร็วจะเกิดพายุหมุนที่รุนแรง พายุหมุนเขตร้อน มักจะมีเว … อ่านเพิ่มเติม พายุ หมุนเขตร้อน