อย่าว่าแต่รูปากใบ หินก้อนใหญ่ๆ ก็เอามาแปะสไลด์ ส่องใต้กล้องได้เหมือนกัน

ถ้ายังจำกันได้ พวกเราเริ่มเรียนวิทยาศาสตร์ก็ประมาณ ม.4 ม.5 และกิจกรรมเปิดตัวชิ้นแรกๆ ที่เราได้รับมอบหมายจากคุณครู ก็คือการศึกษารูปากใบของพืช หัวหน้าห้องต้องลงไปที่สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เด็ดใบไม้สัก 2-3 ใบขึ้นมา ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แปะใส่ไสลด์ แล้วเอาไปส่อง (อย่างเมามันส์) เพื่อดูรูปากใบ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เชื่อกันไหมว่าในทางธรณีวิทยาก็เช่นกัน การที่จะศึกษาหรือจำแนกหินว่าเป็นหินชนิดใด ประกอบด้วยแร่อะไรบ้าง หรือมีกระบวนการทางธรณีวิทยาเฉพาะอะไรบ้างที่เกิดขึ้นกับหินนั้น วิธีการเข้าถึงหรือศึกษาหินมีหลายระดับความละเอียด ในเบื้องต้นหากหินมีผลึกแร่ หรือเม็ดตะกอนที่เด่นชัดเฉพาะตัว นักธรณีวิทยาที่มีความชำนาญก็สามารถจำแนกหินได้จากก้อนตัวอย่างหิน (hand specimen) อย่างง่ายๆ เช่น หินกรวดมน (conglomerate) หินทราย (sand stone) หินแกรนิต (granite) เป็นต้น หรือถ้าผลึกแร่หรือเม็ดตะกอนของหิน มีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า ระดับต่อไปของการพิจารณาหรือศึกษาคือการใช้ แว่นขยาย หรือเรียกทัพศัพท์ก็ได้ว่า แฮนด์เลนส์ (hand lens) ซึ่งก็อันเดียวกันกับ กล้องส่องพระที่เซียนพระใช้ส่องดูพระว่าแท้หรือเก๊ … อ่านเพิ่มเติม อย่าว่าแต่รูปากใบ หินก้อนใหญ่ๆ ก็เอามาแปะสไลด์ ส่องใต้กล้องได้เหมือนกัน