ควอตซ์ . หลาก . สี

ควอตซ์ (quartz) – เรียบเรียง : นารีรัตน์ อัมพวะศิริ และ สันติ ภัยหลบลี้ ควอตซ์ (quartz) เป็นแร่ชนิดหนึ่งที่มีองค์ประกอบเป็นซิลิกอนและออกซิเจน มีสูตรเคมีคือ SiO₂ เป็นแร่ที่พบมากที่สุดถึงร้อยละ 12 ของเปลือกโลก พบได้ทั้งในหินอัคนี หินตะกอน และหินแปร โดยทั่วไปแร่ควอตซ์มักอยู่ร่วมกับเฟลด์สปาร์และมัสโคไวท์ เกิดในรูปแบบสายแร่ และอาจพบแร่ควอตซ์อยู่ตามโค้งในของแม่น้ำและฝั่งทะเลในรูปของทราย แร่ควอตซ์มีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยควอตซ์มีรูปผลึกเป็นแบบ Hexagonal ซึ่งมักจะเกิดเป็นลักษณะแท่งยาวทั้งหัวและปลายแหลม มีเนื้อผลึกเป็นแบบผลึกสมานแน่น ความวาวคล้ายแก้ว เนื้อแร่ควอตซ์มีลักษณะโปร่งใสถึงโปร่งแสง มีความถ่วงจำเพาะ 2.6-2.7 โดยมีความแข็งอยู่ที่ 7 ตาม สเกลความแข็งของโมส์ (Mohs scales) ในประเทศไทยรู้จักและเรียกแร่ควอตซ์ในชื่อของ แร่เขี้ยวหนุมาน ประเภทของแร่ เป็นแร่จำพวกซิลิเกต (silicate) สี (color) ไม่มีสี-มีหลากหลายสี (ม่วงชมพู เหลือง ฯลฯ) สีผง (streak) ไม่มีสี ขาว ความวาว (luster) วาวคล้ายแก้ว (vitreous) ไข (waxy) ความโปร่ง (diaphaneity) โปร่งใส โปร่งแสง ร … อ่านเพิ่มเติม ควอตซ์ . หลาก . สี